24 มี.ค. 2021 เวลา 13:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รู้หรือไม่? ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ สคฝ. ตอนที่ 1
ผลิตภัณฑ์เงินฝากใดบ้างที่ได้รับการคุ้มครอง
หน้าที่หลักของ สคฝ. คือ การช่วยเหลือผู้ฝากรายย่อยที่ฝากเงินไว้กับสถาบันการเงิน หากสถาบันการเงินที่ฝากเงินไว้นั้นถูกปิดกิจการลง โดย สคฝ. จะนำเงินฝากในบัญชีคืนแก่ผู้ฝากผ่าน PromptPay ภายใน 30 วัน หลังจากสถาบันการเงินถูกปิดกิจการ
การคุ้มครอง ของ สคฝ. คำนึงถึงผู้ฝากรายย่อยเป็นสำคัญ โดยผู้ฝากรายย่อยส่วนใหญ่อาจไม่ทราบถึงประเภทผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของสถาบันการเงิน จึงเป็นผลให้ผู้ฝากส่วนใหญ่ฝากเงินในบัญชีเงินฝากทั่วไป เช่น กระแสรายวัน ออมทรัพย์ ประจำ ซึ่งอยู่ในข่ายการคุ้มครองของ สคฝ.
ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ สคฝ. ไม่ได้รับความคุ้มครองบางประเภท เนื่องจากจุดประสงค์ของผลิตภัณฑ์นั้น เพื่อการลงทุน หรือ มีหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลอยู่แล้ว เช่น กองทุน ซึ่งมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ให้การดูแลอยู่ เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์เงินฝากมีหลายประเภท ประเภทที่ได้รับการคุ้มครองมีประเภทใดบ้าง สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่เนื้อหาด้านล่างได้เลยครับ
ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความคุ้มครอง คือ เงินฝากที่เปิดไว้ที่สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก เป็นเงินสกุลบาทและบัญชีเงินฝากภายในประเทศ ในปัจจุบันได้แก่
✔ เงินฝากกระแสรายวัน
✔ เงินฝากออมทรัพย์
✔ เงินฝากประจำ
✔ บัตรเงินฝาก
✔ ใบรับฝากเงิน
ผลิตภัณฑ์ทางการเงินหรือเงินฝากบางประเภทไม่ได้รับการคุ้มครอง
✘ เงินฝากประเภทที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
✘ เงินลงทุนในตราสารต่างๆ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ หน่วยลงทุน (SSF , RMF)
✘ เงินฝากในสหกรณ์
✘ แคชเชียร์เช็ค ตั๋วแลกเงิน
✘ เงินอิเล็กทรอนิกส์
✘ ผลิตภัณฑ์ประกันประเภทออมทรัพย์ ที่ออกโดยบริษัทประกัน
สามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองจำแนกตามรายธนาคารได้ที่
สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
สายด่วนคุ้มครองเงินฝาก โทร. 1158
เว็บไซต์ : https://www.dpa.or.th/
Line : @dpathailand
#DPA #สคฝ #สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
#ผลิตภัณฑ์เงินฝากที่คุ้มครอง
#DPAxBLOCKDIT
โฆษณา