4 มี.ค. 2021 เวลา 01:51 • สุขภาพ
ความลับที่ซ่อนอยู่ในน้ำอ้อยสด
อากาสร้อนๆอย่างนี้หลายคนบอกถ้าได้เครื่องดื่ม
ที่ให้รสชาติหวานๆ เย็นๆ คงจะดีไม่น้อย
ใครที่ไม่กลัวความหวานผมขอแนะนำนี่เลยครับ
น้ำอ้อยสด รสอร่อย หวานเย็น ชื่นใจ ดับกระหาย
คลายร้อน
😊
ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบดื่มน้ำอ้อยสดหรืออ้อยคั้นน้ำ
แต่ก็ไม่ถึงกับดื่มประจำนะครับเพราะแถวบ้าน
หาซื้อกินยาก
😊
เคยสงสัยว่าในน้ำอ้อยสดมีอะไรที่เป็นประโยชน์หรือมีโทษต่อร่างกายเราบ้างหรือไม่?
ผมจึงลองเข้าไปค้นหาข้อมูลในกูเกิ้ลจึงได้รู้ว่า
นอกจากน้ำอ้อยสดจะช่วยดับกระหายคลายร้อนแล้ว
การดื่มน้ำอ้อยสดในปริมาณที่เหมาะสมและ
ดื่มอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ได้รับคุณประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย
เช่น
1.ช่วยชะลอความแก่
อันนี้น่าจะถูกใจสุภาพสตรีและท่านชายที่ใส่ใจ
ในสุขภาพเพราะ
ในน้ำอ้อยสดมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ
ที่อุดมไปด้วยสาร ฟราโวนอยด์และสารประกอบ
ฟีนอลิกซึ่งช่วยให้ผู้ที่ดื่มเป็นประจำจะทำให้มีผิวพรรณดี
2.ให้พลังงาน
เวลาเสียเหงื่อมากจากการออกกำลังกายหรือทำงานหนักดื่มสปอนซ์
ขออภัยผิดคิว
ลองดื่มน้ำอ้อยสดเย็นๆ สักแก้วจะช่วยให้ดับกระหาย คลายเหนื่อย รู้สึกสดชื่นขึ้นมาทันที
ข้อมูลทางโภชนาการระบุว่าน้ำอ้อยสด 1 แก้ว
(100 มิลลิลิตร) จะให้พลังงานราว 40 - 50 กิโลแคลอรี่
เปรียบเทียบกับนมสดรสหวานให้พลังงานมากถึง 250 กิโลแคลอรี่
3.มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
น้ำอ้อยสดมีแคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัสและธาตุเหล็กสูง
อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ บี 1 บี 2 บี 3 บี 5
บี 6 และโปรตีน
นอกจากนี้
น้ำอ้อยสดยังช่วยควบคุมระดับของ บิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการแตกตัว
ของเซลล์เม็ดเลือดแดง
ซึ่งหากร่างกายมีสารนี้มากเกินไปก็จะอาจจะทำให้ปัสสาวะ อุจจาระเหลือง และเสี่ยงต่อโรคดีซ่าน
ฯลฯ
นอกจากคุณประโยชน์มากมายที่ร่างกายจะได้รับจากการดื่มน้ำอ้อยสดแล้วเรายังได้ช่วยเกษตรกรชาวไร่อ้อย และพ่อค้าแม่ขายน้ำอ้อยสดให้มีรายได้ด้วยนะครับ
😊
คำเตือน
น้ำอ้อยสดแม้จะให้พลังงานน้อยแต่ถ้าดื่ม
มากเกินไปก็อาจมีโทษต่อร่างกายได้เช่นกัน
ดังนั้น
เพื่อสุขภาพที่ดี
แนะนำให้ดื่มน้ำอ้อยสดไม่เกินวันละ 2 แก้ว
และควรดื่มน้ำสะอาดตามด้วย
และที่สำคัญต้องหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
เพราะหากดื่มมากไป
ถ้าร่างกายใช้ไม่หมด
ก็อาจทำให้อ้วนได้นะครับ
สมัยก่อนแพทย์แผนโบราณนิยมใช้อ้อยแดง
หรือบางที่เรียกอ้อยดำมาเป็นส่วนประกอบของ
ยาสมุนไพรเพื่อ ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว เป็นต้น
แต่รสชาติของอ้อยแดงจะหวานน้อยหน่อยทำให้
ไม่เป็นที่นิยมนำมาทำอ้อยคั้นน้ำขาย
ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้เล็งเห็นความสำคัญ
ของอ้อยคั้นน้ำ
ที่อุดมด้วยคุณค่าและสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้
จึงได้พัฒนาสายพันธุ์อ้อยคั้นน้ำที่ให้ผลผลิตสูง
เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคแล้วจึงส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปปลูกเพื่อสร้างรายได้
สุพรรณบุรี 50
เป็นอ้อยคั้นน้ำที่เกษตรกรไทยส่วนใหญ่นิยมปลูก
เครดิตภาพ:facebook:อ้อยคั้นน้ำ หนองเสือ
โดยที่อ้อย 1 กิโลกรัมสดสามารถคั้นน้ำได้มากถึง 600 มิลลิลิตร
สามารถกรอกใส่ขวดได้ถึง 3 ขวด ราคาขาย
ขวดละ 10 - 20 บาท แล้วแต่พื้นที่
ส่วนที่มาของเลข 50 หลังชื่อพันธุ์ นั้น
เมื่อปี พ.ศ.2539 เป็นปีที่กรมวิชาการเกษตรได้ออกใบรับรองพันธุ์อ้อยคั้นย้ำให้ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี
ซึ่งตรงกับปีที่ในหลวงรัชการที่ 9 ทรงครองราช
ครบ 50 ปี นั่นเองครับ
ศรีสำโรง 1
เป็นพันธุ์อ้อยคั้นน้ำน้องใหม่มาแรง
ซึ่งได้รับความนิยมปลูกจากเกษตรกรภาคเหนือ
ตอนล่าง
1
ศรีสำโรง 1
ชื่อนี้ได้มาจากการปรับปรุงพันธุ์ที่สถานีวิจัย อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย นั่นเองครับ
😊
หากต้องการข้อมูลเชิงลึกเกียวกับ
อ้อยคั้นน้ำ
ลองคลิกเข้าไปอ่านได้ตามลิงค์ที่ผมแปะไว้ให้ด้านล่างได้เลยครับ
เครดิตภาพ freepik
อ้างอิง
ก่อนจบบทความ
มีบทกลอนเพราะๆ ที่ไม่เกี่ยวกับน้ำอ้อยสด
แต่เกี่ยวกับความหวานมาฝากครับ
'อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก
แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย
เจ็บจนตายเพราะเหน็บให้เจ็บใจฯ'
,สุนทรภู่ บางตอนจาก 'เพลงยาวถวายโอวาท'
ความหมายคือ
ไม่มีความหวานใด ๆ จะสร้างความพึงพอใจให้กับคนเรา ได้เท่ากับคำพูดหวานระรื่นหูเพียงไม่กี่คำ
จากปลายลิ้นของคน
และ ไม่มีอาวุธใด ที่จะฆ่าคนให้ตายทั้งเป็น ได้เท่ากับคำพูดเพียงไม่กี่คำ จากปลายลิ้นของคนอีกเช่นกัน
😊
เกษตรเอส'Society
"อยากเห็นคนในสังคมนี้ 
มีรอยยิ้มและความสุข"
หากชอบช่วยกดไลค์ กดแชร์ กดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจให้ผมและทีมงานด้วยนะครับ หรือจะเข้ามาเขียนคอมเม้นต์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็ยินดีครับ
ติดตามอ่านบทความได้ที่
โฆษณา