4 มี.ค. 2021 เวลา 00:54 • ปรัชญา
อารมณ์ปล่อยวาง ที่แท้จริงไม่มี
เมื่อเราเกิดปัญหา จนเกิดความทุกข์ในใจ เราก็มักจะได้ยินคำว่า “ปล่อยวาง” ซะบ้าง
“อย่าไปยึด ปล่อยๆมันไป จะได้ไม่ทุกข์” แต่ที่แท้จริงแล้วในขบวนการของจิต ไม่มีคำว่าปล่อยวาง
เพราะโดยปกติ จิตที่ทุกข์นั้นย่อมเกิดจากการที่จิตเป็นอิสระ หรือ ถูกปล่อยให้เป็นอิสระนั่นเอง
ถ้าในองค์ของฌานจิตแบบนี้จะอยู่ในรูปของ วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข
ถ้าในองค์ของวิปัสสนาจิตแบบนี้เรียก จิตที่ไม่รู้ความจริง หรือ มิจฉาทิฏฐิ
เพราะฉะนั้นการปล่อยวางที่พูดกัน จึงเกิดขึ้นเฉพาะในภาษาที่ใช้พูด หรือ เกิดขึ้นที่ความคิดเท่านั้น
ถ้าจะเรียกให้ถูกควรจะเรียกว่า “อุเบกขา” เสียมากกว่า อารมณ์ที่ไม่ได้ยินดี หรือ ยินร้าย
1
คำว่า “อุเบกขา” ก็ยังมีหลายคนที่ยังเข้าใจผิด คิดว่าอุเบกขาคือการทำอารมณ์เป็นกลาง ทำให้จิตเฉยๆ ไว้ นั้นคืออุเบกขา
2
น้อยคนนักที่จะเข้าใจว่าแท้ที่จริง อารมณ์อุเบกขานั้นจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีการฝึก “จิตที่เป็นเอกัคตา”
หรือก็คือ การฝึกจิตให้มีอารมณ์เดียวเสียก่อน ถ้าในวิปัสสนาอารมณ์นี้ก็มักจะเรียกว่า “มหาสติ มาหาปัญญา”
1
กลับมาที่ เอกัคตา ต่อ เอกัคตา ก็คือการที่จิตมีอารมณ์ตั้งมั่น ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
1
ถ้าในทางฌาน ก็คือการกำหนดที่ลมหายใจก็ได้ ที่ความรู้สึกทางกายส่วนอื่นก็ได้ จนเป็นอารมณ์ที่ตั้งมั่น และ กลายเป็นอารมณ์ อุเบกขา
ถ้าเป็นคนที่ฝึกฌานมาดีแล้ว ก็น่าจะพอเข้าใจบทความนี้นะครับ
เพราะฉะนั้นคำว่า”ปล่อยวาง” ที่แท้ไม่มีอยู่จริง มีแต่คนที่เข้าถึงจิตที่ตั้งมั่นจนจิตรวมเป็น “อุเบกขา” คำๆนี้น่าจะเหมาะกว่า
1
ปล ต้องกราบขอโทษ ถ้าบทความนี้ไม่ตรงกับความรู้ของผู้ใด และ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์สำหรับผู้นำไปพิจารณานะครับ🙏
โฆษณา