10 มี.ค. 2021 เวลา 06:16 • ความคิดเห็น
ทำอย่างไร? เมื่อรู้สึก “หมดใจ” กับงานที่ทำ
ถ้าคุณกำลังตกอยู่ในอาการขาดแรงบันดาลใจในงานที่ทำ จากที่เคยสนุกกลายเป็นเหนื่อยหน่ายหรือเบื่อเหลือเกิน จากที่เคยสู้ตายกลายเป็นหมดใจ จนเกิดคำถามกับตัวเองว่า “ฉันมาทำอะไรที่นี่ นี่คือสิ่งที่ฉันอยากทำเหรอ”
ลองอ่านคำแนะนำเหล่านี้ดูค่ะ
เมื่อรู้สึก “หมดใจ” กับงานที่ทำ ควรไปต่อหรือพอแค่นี้
1. ถามตัวเองว่าสิ่งที่เราต้องการจากงานที่ทำคืออะไร?
งานวิจัยของ Yale โดยศาสตราจารย์ Amy Wrzesniewski แบ่งคนได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
- บางคนเห็นงานเป็นอาชีพ
- บางคนเห็นงานเป็นแค่งาน
- บางคนเห็นว่าเขาเกิดมาเพื่อสิ่งนี้
ไม่ต้องสงสัยเลยค่ะว่าใครจะสร้างผลงานและมีความสุขกับงานมากที่สุด แต่การที่คุณไม่ได้รู้สึกสนุกกับงานไม่ใช่สิ่งผิดนะคะเพียงแต่ คุณอาจอยู่ในงานที่ไม่ใช่ เจ้านายที่ไม่ดีหรือสภาพแวดล้อมที่แย่ สิ่งเหล่านี้เปลี่ยนงานที่ใช่ให้เป็นพิษได้ค่ะ
กุญแจสำคัญสำหรับคุณก็คือ ต้องมุ่งมั่นตั้งใจค้นหาสิ่งที่คุณอยากทำมากที่สุดในตอนนี้ค่ะ อะไรที่เป็น passion ของคุณ อะไรที่คือแรงจูงใจของคุณจริงๆ และเริ่มสร้างมันจากตรงนั้น ซึ่งมันอาจเป็นไปได้ว่าสิ่งที่คุณหลงใหลในวัย 20 ปี อาจจะเปลี่ยนไปได้เมื่อเวลาผ่าน อย่าพยายามคาดหวังว่าในวัย 40, 50 หรือ 60 ปี คุณจะต้องมีความทะเยอทะยานเหมือนวัย 20 นะคะ แต่ถึงแม้ว่าคุณจะยังไม่เจอสิ่งที่คุณชอบทำจริงๆ อย่างน้อยคุณก็ได้เพิ่มโอกาสในการหาความหมายในการทำงานที่แท้จริงค่ะ และสิ่งที่ใช่อาจรออยู่ข้างหน้าก็ได้ค่ะ
สิ่งที่ผลักดันหรือสิ่งที่คุณหลงใหลคือ สิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจอย่างแท้จริง อย่าบังคับตัวเองในวัย 40, 50 หรือ 60 ปี ให้ต้องมีพลังเยอะได้เท่ากับตอนคุณอายุ 20 ปีนะคะ พลังกายพลังใจในแต่ละช่วงวัยไม่เท่ากันค่ะ แม้ว่าคุณอาจจะไม่ได้พบความต้องการที่แท้จริง แต่อย่างน้อยก็ถือว่าได้เพิ่มเติมประสบการณ์ที่ดีให้กับชีวิตอยู่ค่ะ
2. สานต่อจากสิ่งที่ตัวเองถนัด
จากการวิจัยโดยนักวิจัยพฤติกรรมองค์กร Justin Berg, Jane Dutton และ Amy Wrzesniewski ได้แสดงให้เห็นว่าคนเราสามารถจินตนาการและออกแบบงานในรูปแบบของตนเองได้ ตัวอย่างเช่น ผู้เข้าร่วมงานวิจัยคนหนึ่งได้ออกแบบงานด้านการตลาดของเธอเพื่อออกแบบงานอีเวนท์ ถึงแม้ว่าส่วนนั้นจะไม่ได้เป็นงานของเธอ แต่เธอทำด้วยเหตุผลง่ายๆ คือ แค่เธอชอบและทำได้ดี และด้วยการทำเช่นนี้เธอจึงสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัทและประสบการณ์การทำงานของเธอเองในเวลาเดียวกันอีกด้วย  บางครั้งการปรับเปลี่ยนจุดที่เล็กที่สุด อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่มีคุณภาพในการทำงานของคุณก็ได้นะคะ
3. จุดประกาย passion ของคุณนอกเหนือจากงานที่ทำ
อาจจะเป็นงานอดิเรกที่ตัวคุณบอกว่าคุณไม่มีเวลาทำ หรืออาจจะเป็นโปรเจคท์ส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานหรืออาชีพของคุณเลย แต่ความพยายามที่สร้างแรงบันดาลใจเหล่านี้สามารถทำให้คุณมีพลังและแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานของคุณหรือเติมพลังให้กับงานที่คุณชอบได้อย่างดีเลยค่ะ
4. ถ้าทั้งหมดมันไม่ใช่ ก็ได้เวลาเปลี่ยนแปลงแล้วล่ะ
การเปลี่ยนอาชีพก็เหมือนกับการเปลี่ยนบ้าน เมื่อคุณซื้อบ้านครั้งแรกคุณก็อาจจะต้องการอะไรบางอย่าง ซึ่งพอเวลาผ่านไปความต้องการนั้นอาจจะเปลี่ยนแปลงไป บางทีคุณโตขึ้นคุณก็อาจจะย้ายบ้านหรือตกแต่งอะไรใหม่
ซึ่งก็เหมือนกับงาน เช่น ในตอนนี้งานที่คุณทำอยู่คุณสามารถตกแต่งอะไรเพิ่มเติมได้หรือไม่ หรือคุณต้องการย้ายออกไปจากบ้านเก่าแล้วใช้ชีวิตที่บ้านหลังใหม่ แน่นอนว่าถ้าคุณผิดหวังกับงานที่ทำอยู่แล้วเลือกที่จะเปลี่ยนบ้านนั้น คุณก็จะต้องเตรียมตัวรับความเปลี่ยนแปลงต่างๆด้วยเช่นกัน แต่ก็ดีกว่าการทำงานโดยปราศจากความหวังและความสุข เพราะการอยู่กับสิ่งที่ไม่ใช่เป็นอะไรที่แย่ค่ะ
เราควรหาวิธีที่จะจุดประกาย passion ของเราอีกครั้ง หรืออย่างน้อยการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยก็อาจจะสร้างผลลัพธ์ที่น่าประหลาดใจให้กับเราก็ได้นะ
แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่น่ากลัว แต่อย่างน้อยเรายังมีโอกาสอีก 50% ที่อาจจะเจอสิ่งดีๆที่รออยู่ข้างหน้านะคะ เพราะฉะนั้นอย่ากลัวสิ่งที่รออยู่ข้างหน้าค่ะ
แม่หมอเป็นกำลังใจให้คนทำงานทุกคนนะคะ
การทำงานในองค์กรปัจจุบันนี้มันยากค่ะ การแข่งขันก็สูง แต่เราเกิดมาเพื่อเจอสิ่งที่ยากและมนุษย์ก็ถูกออกแบบมาให้ชนะสิ่งยากๆได้อยู่แล้ว
โฆษณา