9 มี.ค. 2021 เวลา 12:02 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ตับอ่อนทำหน้าที่อะไรบ้าง อธิบายแบบรวบรัด
1. เริ่มจากตำแหน่งก่อนว่าตับอ่อนอยู่ที่ไหน ประมาณคร่าวๆก็คือ หลัง six pack 2 ก้อนบนเข้าไปในช่องท้องจะเป็นกระเพาะอาหาร ด้านหลังของกระเพาะอาหารจะเป็นตับอ่อน 

อวัยวะนี้มีหน้าที่ซึ่งซับซ้อน แต่ก็พอจะแบ่งกว้างๆได้เป็นอย่างที่ต่างกันคือ หน้าที่แบบต่อมมีท่อ และ หน้าที่แบบต่อมไร้ท่อ
2. อะไรคือ ต่อมมีท่อ และ ต่อมไร้ท่อ ?

ชื่อเหมือนจะฟังดูยากแต่จริงๆตรงไปตรงมามากๆ คือ ตับอ่อนสร้างสารเคมีหลายๆอย่างขึ้นมา แต่เวลาส่งสารเหล่านี้ออกไปจะส่งออกไปสองแบบ หนึ่ง คือ ส่งผ่านท่อ เช่น ฮอร์โมนต่างๆ สอง คือ ส่งเข้าเส้นเลือดไปโดยตรงโดยไม่ต้องมีท่อ

สำหรับคำอธิบายว่าทำไมต้องมีท่อ คือ ด้วยความที่ตับอ่อนเป็นอวัยวะที่เหมือนกับโรงงานที่ผลิตสารอันตรายมากมาย โดยเฉพาะ น้ำย่อยสำหรับย่อยโปรตีน ถ้าน้ำย่อยเหล่านี้เกิดรั่วออกมาได้ ก็อาจจะไปย่อยอวัยวะต่างๆภายในร่างกายเราได้หมด (ซึ่งเกิดขึ้นได้ เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังในตอนท้ายๆครับ) ดังนั้น ร่างกายจึงต้องมีวิธีป้องกัน

หนึ่งคือ ส่งน้ำย่อยเหล่านี้ผ่านท่อตรงไปที่ลำไส้เล็กโดยตรง เพื่อให้แน่ใจว่าสารนี้จะไม่ไปสัมผัสร่างกายส่วนอื่นๆ

สองคือ ส่งน้ำย่อยออกไปในรูปที่ยังไม่สามารถจะทำงานได้ แต่เมื่อเข้าไปสัมผัสกับผนังลำไส้เล็กซึ่งมีเอนไซม์ที่จะเปลี่ยนให้น้ำย่อยมาอยู่ในรูปที่พร้อมจะทำงาน เพื่อให้แน่ใจว่า ถ้าเกิดมีการรั่วออกไปจริงๆ น้ำย่อยเหล่านี้จะไม่ไปทำอันตรายกับร่างกายของเรา
1
เมื่อรู้แล้วว่าทำไมถึงเป็นต่อมมีท่อ และต่อมไร้ท่อ เราก็มาดูกันไปทีละส่วน เริ่มจากต่อมมีท่อกันก่อน
2
3. สิ่งที่ส่งมาจากต่อมมีท่อ ก็จะเป็นพวกน้ำย่อยต่างๆ สำหรับน้ำย่อยสำคัญๆ ที่ตับอ่อนสร้างขึ้นนั้นจะมีน้ำย่อยสำหรับย่อยแป้ง นำ้ย่อยสำหรับย่อยโปรตีน น้ำย่อยสำหรับย่อยไขมัน และสารไบคาร์บอเนต

- ไบคาร์บอเนต (Bicarbonate) ซึ่งก็คือ เบคกิ้งโซดา หรือโซดาไฟ ที่ใช้ทำขนมกัน สารตัวนี้มีฤทธิ์เป็นด่าง มีหน้าที่คือ ทำให้อาหารที่มาจากกระเพาะ (ซึ่งเป็นกรดเข้มข้น) มีความเป็นกรดลดลง เพื่อให้ไม่กรดมาทำอันตรายกับผิวของลำไส้เล็ก

- น้ำย่อยสำหรับย่อย คาร์โบไฮเดรต หรือแป้ง มีชื่อว่า ‘อะไมเลส’ (Amylase) ชื่อของน้ำย่อยตัวนี้น่าจำหรือฟังไว้ผ่านๆ หู เพราะมันคือ น้ำย่อยหรือเอนไซม์ ที่หมอจะตรวจเมื่อสงสัยว่าผู้ป่วยจะเป็นโรคตับอ่อนอักเสบ 

ช่วงที่ตับอ่อนอักเสบ เซลล์ของตับอ่อนจะบาดเจ็บหรือแตก ทำให้เอนไซม์ อะไมเลส รั่วเข้าไปในเลือดได้ ถ้าตรวจแล้วพบว่า สารตัวนี้เพิ่มขึ้น ก็จะใช้เป็นคำใบ้ได้ว่า คนป่วย (ที่ปวดท้องมารพ.) อาจจะป่วยเป็นโรคตับอ่อนอักเสบ (ส่วนสาเหตุอ่านต่ออีกนิดครับ เดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง)
6
- น้ำย่อยสำหรับไขมันมีชื่อว่า ‘ไลเปส’ (Lipase) เช่นเดียวกับ อะไมเลส เอนไซม์ตัวนี้ถ้าตรวจพบว่ามีค่าสูงขึ้นในเลือด ก็อาจจะใช้เป็นคำใบ้ว่า ผู้ป่วยอาจจะมีภาวะตับอ่อนอักเสบ
2
- น้ำย่อยโปรตีน ซึ่งมีหลายตัว แต่เรียกรวมๆกันว่า ‘โปรตีเอส’ (Protease) แล้วก็อย่างที่เล่าไปก่อนหน้าคือ จะถูกปล่อยออกมาในรูปที่ยังไม่พร้อมจะทำงาน ต้องไปถึงลำไส้เล็กก่อนจึงจะเริ่มทำงานได้
ทั้งหมดนี้ก็คือหน้าที่คร่าวๆของตับอ่อน ในบทบาทของต่อมมีท่อ คราวนี้เราไปดูงานของมันในระบบต่อมไร้ท่อกันบ้าง
4. สารเคมีที่ตับอ่อนสร้างออกมาแล้วส่งเข้าไปในเลือดโดยตรง หลักๆจะมี 2 ตัวที่น่าจำคือ หนึ่ง อินซูลิน สอง กลูคากอน

อย่างที่คุยไปในบทความก่อนหน้าเรื่อง หน้าที่ของตับ เราคุยกันไว้ว่า ตับกับตับอ่อนจะมีการพูดคุยกันเกือบตลอดเวลา โดยตับอ่อนจะมีเซนเซอร์ คอยวัดระดับน้ำตาลในเลือด 

ถ้าน้ำตาลในเลือดมากไป มันจะบอกตับให้เก็บน้ำตาลจากเลือดเข้าไป (นำน้ำตาลไปต่อกันเป็นสายยาวๆแล้วจัดเก็บในรูปแป้งไกลโคเจน) และบอกให้กล้ามเนื้อเอาน้ำตาลเข้าไปใช้ โดยการหลั่ง ฮอร์โมน อินซูลิน

ถ้าน้ำตาลในเลือดต่ำไป มันจะไปบอกตับให้สลายไกลโคเจนออกมา แล้วส่งเป็นน้ำตาลกลูโคสกลับเข้ามาในเลือด โดยการหลั่งฮอร์โมน กลูคากอน
1
ค่อนข้างตรงไปตรงมาใช่ไหมครับ น้ำตาลในเลือดสูงหลั่ง อินซูนลิน น้ำตาลในเลือดต่ำหลั่งกลูคากอน แล้วตับก็จะทำงานคอยรักษาสมดุลของน้ำตาลในเลือดให้คงที่
1
5. สุดท้าย เรามาคุยเรื่องโรคของตับอ่อนสักเล็กน้อย โรคแรกเป็นโรคจากระบบมีท่อ คือ ภาวะตับอ่อนอักเสบ ซึ่งก็เหมือนการอักเสบที่เกิดขึ้นกับอวัยวะอื่น คือ ถ้ามีอันตรายเข้าไปทำอันตรายอวัยวะ เช่น โดนกระแทก ติดเชื้อ หรือโดนสารเคมี ก็จะทำให้อวัยวะนั้นอักเสบได้ (ลองนึกถึงการอักเสบที่ผิวหนังจาก แผลถลอก แผลติดเชื้อ หรือโดนสารเคมีกัดผิว)
สำหรับตับอ่อนซึ่งอยู่ในช่องท้องและถูกปกป้องไม่ให้ต้องสัมผัสโลกภายนอก จึงถูกกระแทกหรือติดเชื้อไม่บ่อย ยกเว้นจะรับอุบัติเหตุที่ช่องท้องแรงๆ เช่น รถชน สาเหตุของตับอ่อนอักเสบจึงมักจะเป็นจากสารเคมี
1
และสารเคมีที่ทำอันตรายตับอ่อนได้บ่อยๆ ก็แน่นอนครับ หนึ่ง คือ แอลกอฮอลในเลือดปริมาณสูงๆ จากการดื่มเหล้า สอง คือ ไขมันไตรกลีเซอรไรด์ในเลือดที่สูงมากๆ ก็อาจจะไปทำอันตรายกับตับอ่อนได้เช่นกัน (กลไกไม่ชัดเจน) ซึ่งภาวะตับอ่อนอักเสบ

โรคที่สองเป็นโรคของต่อมไร้ท่อ นั่นก็คือ ถ้ามีเหตุให้ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่พอ (เบาหวานชนิดที่ 1) หรือ ฮอร์โมนอินซูลินทำงานไม่ได้ (จากภาวะดื้ออินซูลินในเบาหวานชนิดที่ 2) เราก็จะมีน้ำตาลในเลือดสูงที่เรียกว่าโรคเบาหวาน
2
แล้วทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องของตับอ่อนแบบย่อๆนครับ หวังว่าจะทำให้รู้จักกับอวัยวะสำคัญที่ชื่อตับอ่อนมากขึ้นนะครับ

ถ้าท่านใดสนใจอยากให้เล่าเกี่ยวกับร่างกายระบบไหนหรืออวัยวะไหนอีกก็สามารถคอมเมนต์บอกกันไว้ได้นะครับ
ถ้าหากใครสนใจ สามารถไปฟัง podcast ฉบับเต็ม
ได้ที่ลิงก์ที่แนบไว้ด้านล่างนี้ได้เลยครับ
1
🎧 Apple Podcast : http://apple.co/39UKroJ
🎧 Soundcloud : http://bit.ly/382wkvS
🎧 Blockdit : https://bit.ly/3qfu2Qq
1
ถ้าสนใจอ่านหนังสือวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับร่างกายที่ผมเขียน สามารถเข้าไปเลือกดูที่ Chatchapol Book ใน shopee และ Line Myshop
👉 Line Myshop : https://bit.ly/2UX8w5F
1
โฆษณา