10 มี.ค. 2021 เวลา 21:08 • ธุรกิจ
สรุปจาก 📝’19 ’20 ’21 “สรุป” สามปีนี้ “แฟชั่น” เป็นไงบ้าง
===========
สรุป
===========
2019 - แฟชั่นกำลังสนุกและเติบโต / Pomelo กำลังขยายสาขา / คุณตั้มมีการปรับพนักงานเป็น work from anywhere เพราะปลายปีนักท่องเที่ยวจีนหาย
2020 - หน้าร้านถูกปิดหมด, แฟชั่นและอีคอมเมิร์ซมีการเพิ่มเทศกาลการซื้อมากขึ้น มีโปรโมชั่นมากขึ้น เพิ่มให้คนช้อปออนไลน์/ Pomelo ย้ายคนหน้าร้านมาช่วยทำออนไลน์ คิดแผน โปรเจคใหม่ๆ / คุณตั้ม กลับสู่บ้านเกิด เอาคอลเล็คชั่นแรกที่ได้แรงบันดาลใจจาก ชาวนา กลับมาทำใหม่ จากที่ขายสูทเป็นออฟไลน์ก็จะเปลี่ยนเป็นออนไลน์มากขึ้น
2021- Pomelo รู้วิธีรับมือกับสถานการณ์มากขึ้น เดินแผนขยายสาขาต่อ โฟกัสตลาดในประเทศ / PILA ทำทุกอย่างให้เป็นออนไลน์และช่วยชุมชน เอาการออกแบบไปช่วยเหลือ ให้ทุกคนสามารถขายออนไลน์ได้
===========
Speaker Background
===========
[คุณเอิ๊ก]
- Head of Visual Merchandising ที่ Pomelo Fashion
- มีประสบการณ์ทำงานสาย Fast Fashion มาโดยตลอด
[คุณตั้ม]
- เคยเป็นพนักงานแบงค์มาก่อน เคยทำงานสายโฆษณาและเอเจนซี่ แต่มีโอกาสได้ไปเทคคอร์สเรียนแฟชั่นและเริ่มทำแบรนด์ตัวเอง
- PILA Studio เป็นร้านตัดเสื้อผ้าผู้ชายแบบ tailor-made ที่เน้นการตัดสูทเป็นหลัก, ALIP Studio ทำคอนเทนต์กับงานโปรดักชั่น, PILA Farm Studio ฟาร์มเกษตร
===========
2019
===========
[คุณเอิ๊ก]
- Pomelo จากที่ขายออนไลน์ก็หันมาโฟกัสออฟไลน์ด้วย มีการขยายสาขาเยอะมาก เปิดไปประมาณ 6 ร้าน (เป็นสิงคโปร์สาขาแรก 1 สาขา)
- ภาพรวมแบรนด์แฟชั่นอื่นก็มีซาๆ ลง เป็นวัฏจักรไป แบรนด์เก่าไปแบรนด์ใหม่มา
- แบรนด์อื่นๆ ที่เป็นแบรนด์ retail ออฟไลน์ ในช่วงปีหลังจะขยายสาขาค่อนข้างยาก ส่วนใหญ่จะไปโฟกัสออนไลน์มากกว่า แต่ Pomelo สวนทางกันเพราะเริ่มจากออนไลน์แล้วไปโฟกัสออฟไลน์
- เป็นปีที่แบรนด์ luxury แฟชั่นกำลัง come back หลายแบรนด์ อย่าง CELINE GUCCI ก็กำลังสนุกเลย
[คุณตั้ม]
- เป็นปีที่ 3 ที่ทำแบรนด์ เลือกที่จะทำ tailor made เพราะเราไม่มีศักยภาพที่จะสู้แบรนด์ใหญ่ๆ ได้ ตอนนั้น fast fashion แบรนด์มาแรงมีเยอะมาก โอกาสที่แบรนด์เล็กๆ จะเข้าไปสอดแทรกในตลาดก็ค่อนข้างยาก แต่พอเราเลือกมาทางนี้ เราจะมีข้อได้เปรียบตรงเซอร์วิสที่สามารถ engage กับลูกค้า 1-on-1 กลุ่มลูกค้าเกินครึ่งเป็นศิลปิน เพราะเสื้อผ้าเราค่อนข้าง unique ก็เลยเจาะไปที่ red carpet, formal suit และก็มีกลุ่มลูกค้า corporate จาก connection ที่เราเคยทำงานองค์กร ตัดสูท ยูนิฟอร์ม
-เริ่มมีงานสไตลิสต์ มีการจัดแฟนชั่นโชว์ที่บ้านที่เป็นตึกแถว เปิดบ้านเป็น Airbnb และเอา influencer จากจีนมาดูโชว์ของเรา ธุรกิจกำลังไปได้ดีเลยช่วงนั้น
- กลางปี 2019 เริ่มเห็นคนจีนหายไปจากยอด booking Airbnb เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม ส่วนฝั่ง ALIP Studio ที่เป็นเอเจ้นซี่เริ่มมีลูกค้าเยอะขึ้น เลยปรับโครงสร้างองค์กรเป็น work from anywhere ตอนเดือน ก.ย. เลย
- มีบินไปซื้อของจีนที่กวางโจว ก็เริ่มได้ยินข่าวโควิด แต่ก็ไม่คิดว่ามันจะมาขนาดนี้
- ปลายปีลูกค้า Airbnb หายหมดเลย ปรับพนักงาน 20 คนจากประจำที่มีสวัสดิการ เป็น full time freelance
- เราเป็นประเภทคิดแล้วทำเลย เราทำงานคนเดียว มีทีมงานที่เข้าขา แบบ partnership ส่วนของลูกน้องทุกคนก็คือไม่มีตำแหน่ง ถือว่าเป็นเพื่อนร่วมงานหมดเลย
- ปีนั้นมีกลุ่มลูกค้นกลุ่มใหม่โดยที่เราไม่ได้คิดไว้เลยว่าจะมี คือ ศิลปินคู่จิ้น ที่เขาใส่เสื้อเราไปแฟนมีตที่จีน ไต้หวัน คนที่ตามส่วนใหญ่เป็นเยาวชนวัยรุ่นเลย เทรนด์ของหนังซีรี่ย์ Y ทำให้รู้ว่าตลาดนี้มันใหญ่มากสำหรับคนเอเชีย ก็กำลังจะปรับให้เสื้อผ้าเราไปจับที่กลุ่มนี้ กระแส Genderless Fashion ก็เริ่มๆ มาจากน้องอ๊อฟ นัองกัน แล้วก็มีคู่อื่นๆเกิดขึ้นมา
- เป็นปีที่สนุกมากกับการทำเสื้อผ้า เราจะคอยดูว่าแบรนด์ใหญ่ๆ เขาทำอะไรกัน เราจะไม่พยายามทำอย่างนั้น อยากแตกต่าง
===========
2020
===========
[คุณเอิ๊ก]
- เป็นเรื่องช็อกเพราะไม่คิดว่ามันกระจายไวขนาดนั้น เจอช่วงปลายกุมภา มีนา ล็อกดาวน์ ก็คือเสียหายบาดเจ็บหนัก พนักงานที่สาขา มีอยู่ประมาณ 17 สาขา ยังโชคดีที่เราเข้มแข็งในออนไลน์ แต่พนักงานที่ร้าน ก็ต้องหาโปรเจคให้ทำ เตรียมไว้ที่จะทำเพื่อเป็น back up plan เมื่อเราเปิดกลับมา ตอนนั้นกระทบสาขาที่สิงคโปร์ด้วย แต่มาช้ากว่าเพราะเขาล็อกช้ากว่าเรา 1 เดือน
- พนักงานหน้าร้าน ให้เขามาช่วยทำออนไลน์ มีสร้าง LINE Chat & Shop ช่วงนั้นออเดอร์ที่เป็นออนไลน์เยอะกว่าปกติ ก็ให้น้องบางส่วนไปช่วย support ที่ warehouse แพ็คออเดอร์ลูกค้า หาช่องทางไหนก็ได้ให้น้องมี job ทำ หลายๆ แบรนด์ที่ไม่มีอะไรตรงนี้ ก็จะเริ่มหยุดไป หรือไม่ paid มันก็จะมีขั้นตอนในการทำถ้าจะปิดร้าน ขั้นตอนในการลดค่าใช้จ่าย หลายๆ แบรนด์น่าจะเจอ
- ยอดขายออนไลน์ก็ดีดขึ้น เพราะเป็นเรื่องใหม่คนอยู่บ้านก็ช้อปปิ้ง แต่ทีม buyer หรือ merchandising ที่ Pomelo ก็ต้องเปลี่ยนแผนในการออกสินค้าในช่วงโควิด เรา take action ไว เปลี่ยนให้เป็นแบบคอลเลคชั่นที่สามารถใส่ work from home ได้ ข้อดีคือเรามีทีม in house production ทั้งหมด แพลนกันเอง ก็เลยทำให้ action ได้ไว
- ยอดที่ขึ้นมาก็ยังทดแทนออฟไลน์ไม่ได้หมด เพราะหน้าร้านก็จะมีกลุ่มลูกค้าที่สูงอายุ ที่ไม่ได้สนใจในการเลือกซื้อของออนไลน์ แต่หลายๆ คนก็เริ่มสั่งเป็นแล้ว ทุกคนต้องปรับตัวในช่วงนั้น
- service ที่เราเริ่มมาตั้งแต่ 2019 tap-try-buy (เมื่อก่อนเรียกว่า pickup) กดสินค้าที่ชอบในแอป แล้วก็ส่งไปสาขาที่ใกล้ แล้วก็จ่ายเฉพาะตัวที่ชอบ เพราะหน้าร้านเราแต่ละร้านก็อาจจะไม่ได้มีสินค้าเยอะเท่าออนไลน์ เพราะมีพื้นที่จำกัด ก็มี service นี้ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์การเป็น omnichannel มากขึ้น ช่วง 2020 เราปิด tap-try-buy ก่อนที่จะปิดร้านด้วยซ้ำ เพราะเป็นการลดจำนวนคนไปร้าน
[คุณตั้ม]
- เวลาออกแบบสินค้าเราจะไม่ได้อิงกับฤดูกาลแฟชั่นของฝั่งยุโรป (Autumn, Winter, Spring, Summer) เราใช้ inspiration ไม่ใช่ฤดูกาล เพราะบ้านเรามองฤดูกาลไม่ออก เราเลยเอาเรื่องของคอนเทนต์ บุคคล culture หนังที่เราชอบดู การท่องเที่ยว เอามาเล่นเป็นงานออกแบบเสื้อผ้า และที่สำคัญเราเป็น tailor made ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องสต็อกมากมาย บางทีเราก็ทำขึ้นมาเพื่อสนอง passion ตัวเอง
- แต่มันก็จะมีสต็อกบางอย่างที่เหลืออยู่ พวก test shoot พวกทำแฟชั่น shooting เพื่อให้มีภาพออกมาว่าแบรนด์เรามีคอลเล็กชั่นนี้นะ ตอนนั้นก็ทำโปร 11.11 ลด 80% ทำขำขำ ให้คนที่อยากได้สูทในราคาที่ถูกมากๆ ตอนนั้นคนก็แห่มาซื้อค่อนข้างเยอะ ทำให้เสื้อผ้าหมดไป
- กลุ่มคนลูกค้าที่ทำให้แบรนด์เราอยู่ได้ในปีนี้ คือลูกค้ายูนิฟอร์ม ธุรกิจประกัน ปีนั้นเรา pitching ได้ทำยูนิฟอร์มตัวใหม่ของบริษัทประกันอันนึง ซึ่งมันก็ครอบคลุมตัวแทนทั่วประเทศเลย ท่ามกลางภาวะวิกฤติที่หลายๆ ธุรกิจหยุดไปและลดการใช้จ่าย ธุรกิจประกันกับลงทุนกับเสื้อผ้าของตัวแทนขายประกัน ก็มองว่าก็มีธุรกิจที่เป็น rising ธุรกิจประกันโตมากๆ และเราก็ได้สัมผัสกับตัวแทนประกัน จากที่เขากำลังจะขึ้นตำแหน่ง จะสังเกตได้ว่าเขาไม่ได้มีความกังวลในเรื่องของโควิดเลย แต่มันกลับเป็น upside ของธุรกิจเขา มันก็ส่งผลกับเสื้อผ้าสูทเรา ทำให้เรามีงานทำต่อเนื่องอยู่
- กลุ่มลูกค้าที่ซื้อซ้ำเป็นผู้ชายซึ่งมี loyalty ค่อนข้างสูง และไม่ค่อยจะใช้เวลาในการช้อปปิ้งเยอะ ถ้าเขาเลือกที่จะตัดกางเกงที่ไหนสักแห่ง เขาก็จะตัด มีลูกค้าบางครั้งตัดชุดปีละครั้ง ครั้งละ 20-50 ตัว แล้วแบบเดียวกันแต่ว่าขอสองสี ก็จะเห็น customer behavior ในกลุ่มที่เป็น tailor made พอสมควร
-ในพาร์ท digital agency ลูกค้าย้ายมาออนไลน์หมด อสังหามาขายบ้านผ่าน Facebook เฟอร์นิเจอร์นำเข้าปิดช๊อปหน้าร้าน 10 สาขา มาขายออนไลน์และเราก็ต้องช่วยเทรนด์เซลหน้าร้านให้มาเป็นแอดมิน ก็ต้องให้เครดิตทีมที่เต็มที่ เพราะทำงานไม่ได้หยุดเลย
- กลุ่มที่เป็น entertainment หรือวงการบันเทิงงานเขาหดไปอย่างเห็นได้ชัด ทำให้การใช้เสื้อแบบ red carpet หายไปเช่นกัน แต่ด้วยความที่สต็อกเราแทบจะไม่มี เราก็ไม่ต้องแบกรับในส่วนของค่าใช้จ่ายมากหนัก
[คุณเอิ๊ก]
- ปี 2020 มี sale season เพิ่มขึ้นมาทุกเดือนมี double date sale 9.9, 10.10, 11.11, 12.12 กลายเป็น culture ใหม่ของวงการแฟชั่นและ e-commerce เป็นเทศกาลให้คนซื้อ เพราะยอดมันยาก แต่พอมี date พวกนี้ ข้อดีก็คือคนก็ซื้อ เพราะของถูก ของ sale เราก็ได้เคลียร์สต็อก แต่ข้อเสียคือคนก็เริ่มรอในการเลือกซื้อของ กลายเป็นทุกคนก็เริ่มรอ double date ไปเลยในการซื้อของ
[คุณตั้ม]
- มันก็จะคล้ายแฟชั่นอย่างเมื่อก่อน จะมีแค่ 2 ฤดู Autumn Winter 1 คอลเล็กชั่น, Spring Summer 1 คอลเล็กชั่น ออกแค่ปีละสองครั้ง designer ก็ทำงานแค่ปีละสองครั้ง แล้วก็ปล่อยให้เซลล์ทำงานไป ตอนหลังก็แบบหกเดือนมันยาวไป หาเงินไม่ทัน ก็จะแทรกออกมาอีก มี resource เข้ามา มีฤดูกาลแปลกๆ เข้ามา ทำให้คิดคอลเล็กชั่นถี่ขึ้น
- มี seasonal มากขึ้นเช่น Chineses New Year ก็ทำให้นักการตลาดต้องทำงานมากขึ้นตาม product mangaer พอต้องออกสินค้ามาในซีซั่นที่มันถี่ขึ้น แคมเปญด้านการตลาดก็ต้องถี่ตามหรือเผลอๆ ถี่กว่า เพื่อให้ consumer ยังคงตื่นเต้นกับสินค้าในแบรนด์นั้นๆ อยู่ ออนไลน์มันก็ค่อนข้างเร็ว การมาของ Shopee Lazada JD มันก็ไดรฟ์ consumer เลย เพราะเขามีแคมปญออกมาเยอะมาก ถี่มาก เดือนนึงบางทีมีเกินสิบ กดรับคูปอง รดน้ำต้นไม้ต่างๆ
[คุณเอิ๊ก]
- นักท่องเที่ยวก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยอดเราตก คนจีนที่เป็นกำลังซื้อหลักของเราทั้งปีเดินทางไม่ได้ ก็ทำให้ห้างร้าง ลูกค้าเหลือแค่คนไทยและ expat นิดหน่อย ตลาดเปลี่ยนแปลงชัดเจนมาก
- ลูกค้าจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ อย่างปี 2012 จะเป็นตะวันออกกลาง spending power สูงมาก ไม่ได้แคร์ราคาเลย พอโลกเปลี่ยนไปกลายเป็นประเทศอื่นเข้ามาเที่ยวแทน คนจีนมามากขึ้น คนจีนก็มีกำลังซื้อ แต่ก็แบบยังไม่ซื้อไวเหมือนตะวันออกกลาง นี่ก็คือความเปลี่ยนแปลงที่ลิงค์กันการท่องเที่ยวกระทบ แฟชั่นก็กระทบด้วย
- โควิดมา มีไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ เกิดขึ้น ทำให้แฟชั่นบางอย่างก็กลับมา เช่น คนเล่นเสิร์ฟ เสก็ตบอร์ดเยอะมาก มาจากการที่ล็อกดาวน์ คนออกนอกประเทศไม่ได้ ไม่มีกิจกรรมทำ คนก็ไปหากิจกรรมทำ เป็น community มากขึ้น เลยบูมขึ้นมา สินค้าแฟชั่นพวกเซิฟร์ก็กลับมา ripcurl, roxy ก็กลับมาเหมือนบูมอีกครั้ง ก็จะเป็น cycle กันไป มีคนที่เงียบ แล้วก็มีคนที่โต
- แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ luxury ไม่ตก เพราะว่าไปต่างประเทศไม่ได้ คนที่เขามีเงินก็จะซื้อในประเทศ เห็นชัดๆ เลย channel นี่ราคาขึ้น
[คุณตั้ม]
-ในเมื่องานสามารถทำ online ได้ เลยกลับไปอยู่เพชรบูรณ์ และที่เพชรบูรณ์เราไม่ได้พึ่งพาการซื้อขายจากต่างชาติเยอะ และธุรกิจหลักคือเกษตรกรรม ผักสด อาหารการกิน เราได้กลับไปอยู่กับธรรมชาติ และวิถีชีวิตเดิมๆ คนยังปลูกผักเหมือนเดิม แค่บางช่วงราคาก็จะสูงขึ้น ในช่วงที่การขนส่งหยุดในช่วงโควิด เราก็เริ่มเห็นเสน่ห์ของธรรมชาติ
- มันมีคอลเล็กชั่นแรกในปี 2015 ที่เอาไปจัดโชว์ที่สิงคโปร์ เราเอาพวกกางเกงเล พวก patch work พวกงาน hand craft ที่เป็นสีคราม เศษผ้าเก่าๆ เราเอามา collage เอามาทำ patch work ใหม่ เราเลยดึงเสื้อผ้าที่เป็นคอลเล็กชั่นแรกของเรากลับมา revisit ตัวเองอีกครั้ง เหมือนเราเป็นแบรนด์เสื้อผ้าที่เป็น red carpet วันนึงต้องกลับสู่ท้องไร่ท้องนา เสื้อผ้าเราจะอยู่ยังไง
- ช่วงกลางปีเมื่อก่อนเราทำ Airbnb เป็น fashion house ให้กลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยวที่อยากมี experience มานอนพักอยู่ในบ้านเดียวกับ designer ตอนนี้เริ่มมองเห็นว่าเราจะอยู่ยังไงในพื้นที่ของเรา โดยที่งานของเราก็ยังคงอยู่ เลยจับสองเรื่องนี้มารวมกัน เป็น Farming (พื้นที่ที่เราอยู่) x Fashion (ธุรกิจที่เราทำ) ก็จะเริ่มปรับแบรนด์จาก PILA Studio เป็น PILA Farm Studio อยู่ในขั้นตอน กระบวนการปรับแบรนด์ ทั้งเสื้อผ้า งานข้าวสาร มะขาม ต่างๆ ไปอยู่ในแบรนด์เดียวกัน เอาความดีไซน์ งานที่เราทำอยู่ มาใส่ในสินค้า มันก็จะทำให้ธุรกิจของเรากว้างขึ้น เราก็จะไม่ได้อิงธุรกิจของเรากับเสื้อผ้าอย่างเดียวแล้ว
-แบรนด์ของเรายังคงต้องมีต่อไป สินค้าก็ต้องมีหลากหลายมากขึ้น เริ่มมองเรื่องของการจะเอาแบรนด์เราไปอยู่ในออนไลน์ยังไงให้ได้ ต้องปรับ Digital or Die ได้ยินคำนี้มา 6-7 ปีแล้ว แต่เราไม่เคยเอาเสื้อผ้าเราไปอยู่ออนไลน์ เพราะเราเน้นมาสาย tailor made แต่ทุกวันนี้เราต้องปรับตัวมาออนไลน์ จะปรับเสื้อผ้าให้มันซื้อขายง่ายมากขึ้น แมสมากขึ้น อาจจะได้เห็นคอลเล็กชั่นที่เป็นรองเท้าแตะ กางเกงเล เสื้อม่อฮ่อม แต่ก็จะถูกลดทอน detail มาเจอกันมากขึ้น จากท้องนากับความเป็นเมือง
===========
2021
===========
[คุณเอิ๊ก]
- เรื่องการบริหารสต็อกสินค้า เทรนด์การแต่งตัวเริ่มเปลี่ยนเป็นเบสิคมากขึ้น ต้องมีการ revisit เกี่ยวกับ customer profile ของแต่ละห้าง เพราะคนเดินห้างเปลี่ยนไป อย่างเมื่อก่อนห้างใกล้บ้าน คนอาจจะไม่ได้เดินมากนัก แต่กลายเป็นว่าปี 2020 ไปไหนไกลไม่ได้ ห้างใกล้บ้านคนก็จะเริ่มเดินมากขึ้น เช่น Mega bangna คนก็เยอะขึ้น ช่วงตอนล็อกดาวน์ IKEA จะเป็นฐานที่มั่นของคนชอบแต่งบ้านไปเลย คือ traffic เยอะมาก
-ในเรื่องของการขยายสาขา ก็ยังมีโอกาสที่จะขยายสำหรับ Pomelo เรารู้แล้วว่าจะรับมือกับโควิดยังไง ก็น่าจะ smooth ขึ้นแต่ก็เหนื่อยเพราะไม่รู้ว่านักท่องเที่ยวจะกลับมาเมื่อไร ตอนนี้เราหวังกับนักท่องเที่ยวไม่ได้แล้ว ต้องโฟกัสกับลูกค้าในประเทศ
[คุณตั้ม]
- mission ส่วนตัวคือเราไปคนเดียวยากแล้ว เมื่อก่อนทำงานคนเดียวก็คิดว่าไปได้ ถ้าในช่วงเศรษฐกิจดี มีลูกค้าที่เป็นกลุ่ม nich ที่เขาพร้อมตอบรับ
-ปี 2021 คือรวมพลังชุมชน พึ่งจดเป็นวิสากิจชุมชน จะเอาความรู้เรื่องการออกแบบ มาใส่ให้กับหมู่บ้าน ให้เขาผลิตสินค้าเกษตร และอยากจะเปลี่ยนสินค้าเกษตรจากเคมีไปสู่ organic เตรียมพร้อมหมู่บ้าน ให้เปิดรับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศในปีหน้าและถัดๆ ไป
-เหมือนเป็นช่วงที่เรามีเวลาวางแผนมากขึ้น มีอะไรก็รีบทำ เพื่อเตรียมพร้อมรับกับวันที่ประเทศเปิดกลับมา
-จะประกอบด้วยงานท่องเที่ยวชุมชน งานสินค้า organic งานแฟชั่นจากท้องถิ่น ย้ายทุกอย่างเข้าออนไลน์ ให้ที่เพชรบูรณ์เป็น outlet ที่เหลือออนไลน์ทั้งหมด ใส่สินค้าที่ง่ายก่อน เช่น ข้าวสาร ถุงผ้า เข้าออนไลน์เพื่อทดสอบระบบหลังบ้านก่อน เรียนรู้ และเมื่อเราต้องไปสอนชาวบ้าน เราก็จะสามารถแชร์ได้เร็ว ทุกอย่างทำเพื่อเตรียมสำหรับปี 2022
===========
ช่วง Q&A
===========
1. Return Policy 365 วัน ในฐานะ SME สามารถนำไปปรับใช้ได้ไหม
[คุณเอิ๊ก]
แนะนำว่าอย่าทำยาวขนาดนั้น เพราะ SME สต็อกสินค้าค่อนข้างน้อย พื้นที่หรือวิธีการจัดสรร production มันจะคุมยาก ถ้ามีคนเอามาคืนมันจะมากลายเป็น dead stock อาจจะทำเป็น จำกัดช่วงเวลาสั้นๆ แทน
2. วิธีเลือกสินค้ามาลงหน้าร้าน เลือกจากอะไร
[คุณเอิ๊ก]
ปัจจุบันมีเกิน 100 สไตล์แล้วในร้าน เวลาเลือกตอนนี้ยึดจากสินค้าใหม่ เพื่อให้ลูกค้าได้อัพเดทสินค้าใหม่ที่ร้าน ซึ่งช่วงนี้เราลงของบ่อยทุกอาทิตย์ แต่ไม่ได้เปลี่ยนทั้งหมด แค่ประมาณ 10-20%
3. มีหลักการจัด store display ยังไง
[คุณเอิ๊ก]
จัดให้ตรงกลุ่มเป้าหมายของแต่ละที่ แล้วแต่แบรนด์ว่าต้องการลุคเป็นแบบไหน ถ้า mass fast ก็ค่อนข้างต่างจาก luxury ลูกค้าเป็นใคร เราเป็นใคร
4. มีทริคในการจัดสินค้าขายช้า ขายยากไหม
[คุณเอิ๊ก]
ต้องดูว่าสินค้าอยู่ตรงไหนของร้าน ลูกค้าไม่ชอบเพราะอะไร เป็นเรื่องของ fitting แบบ สี หรือราคา หรือลูกค้าไม่เห็นลองย้ายไปที่คู่กับสินค้าขายดี จัด outfit ใหม่แมตช์ลุค หรือเป็นเรื่องราคา เราสามารถปรับได้ไหม หรือว่าขนาด ก็มีหลาย factor ที่ต้องรีวิว
[คุณตั้ม]
ในฐานะ SME
*1. อะไรที่มันถูกจริตกับลูกค้าเรา เราก็ present ให้มัน capture เขา
*2. ถ้าเราหมดมุกจะมี source อันนึงที่ CDC WGSC Tradebook จะเป็นการวมเทรนด์ที่แบ่งเป็น segment อันไหนที่เหมาะกับแบรนด์เรา ก็ให้ไปดึงมาใช้ มีทั้งกลุ่ม minmal, maximal, sub culture รวมเทรนด์โลกระยะปี 2020-2021 หยิบยืมที่เขา research มาแล้ว เอาเทรนด์โลกมาเล่น แล้วบอกลูกค้าว่าเทรนด์ไหนจะมา แล้วเราก็วางหน้าร้านให้แมตช์กับ future trend ที่จะเกิดขึ้น บางทีลูกค้าก็ไม่รู้หรอกว่าตัวเองต้องการอะไร คนที่จะบอกได้คือเจ้าของแบรนด์ เช่น ว่าสีนี้กำลังมา ก็ใช้พวกนี้ในการเป็นเทคนิคการออกคอลเล็กชั่นใหม่และจัดหน้าร้านของเรา
5. ถ้าจะเริ่มทำแบรนด์ จะต้องเริ่มยังไงดี
[คุณตั้ม]
- ต้องถามตัวเองจะเริ่มทำอะไร ถ้าจะทำเสื้อผ้าแล้วอันไหน เพศไหน เพศชายแล้ววัยรุ่น street ทำงาน หรือ luxury หรือ genderless LGBT ถ้าเริ่มไปเรื่อยๆ แล้วกลับมาถามตัวเอง สินค้าแบบไหนที่ทำแล้ว มันขายเราได้ก่อน ตอนเราเป็นผู้บริโภค ก็จะมีเสื้อผ้าบางอันที่เห็นแล้วแต่เราไม่ซื้อ กลับมาถามตัวเองว่าทำไมเราไม่ซื้อ หรือก็จะมีสินค้าที่เราซื้อซ้ำๆ แพทเทินเดิมแค่เปลี่ยนสี เพราะอะไร ขายตัวเองให้ได้ก่อน ถ้าเราออกสินค้าลองถอดหมวกจากนัดคิดมาเป็นลูกค้า
- ต้องเริ่มจากตัวเองก่อน แต่ละคนจะมีสินค้าที่ชอบไม่เหมือนกัน แต่เราคงไม่ใช่คนเดียวในโลกที่ชอบแบบนี้ มันต้องมีคนที่ชอบเหมือนเราสิ อย่างน้อยเลยก็คือเพื่อนเรา หรือคนที่สไตล์เหมือนเรา ชอบท่องเที่ยวเหมือนกัน เริ่มต้นจากแบรนด์ที่เราชอบ สินค้าที่เราชอบ เป็นสื่งที่ดึงดูดให้เราซื้อได้ ยอมจ่ายเท่าไหร่ ดูจากจริตของเรา
- เราต้องขายสินค้าจาก inner ของเราให้ได้ และถ่ายทอดพลังไปสู่พนักงาน ให้เขาขายสินค้าเหมือนที่เจ้าของอยากจะขาย มันจะเป็นแบรนด์ที่น่าสนใจสำหรับลูกค้า มันจะใส่ทุกขั้นตอน เหมือนที่เราเจอสินค้าที่เราชอบ เราจะอยู่กับมันโดยไม่เบื่อ ถ้าเราทำสินค้าที่เราไม่ชอบ เช่นตั้งเป้าว่าอยากจะรวย เราไปทำอย่างอื่นก็ได้
===========
สุดท้ายขอฝากถึงคนที่กำลังคิดจะทำธุรกิจ
===========
[คุณเอิ๊ก]
- อยากจะแนะนำ VM เพราะน่าจะเข้ามาในไทยได้ไม่เกิน 15 ปี ช่วงโควิดก็เห็นหลายๆแบรนด์อาจจะมี VM น้อยลง แต่มันก็เป็นอีกอาชีพนึงที่ช่วยในการขายได้ อยากให้หาความรู้เสริม สำหรับคนที่อยากเปิดหน้าร้าน นอกจากนี้ยังมี VM สำหรับหน้าเว็บเพจออนไลน์ด้วย ตอนนี้เป็นอะไรที่น่าสนใจ ที่จะทำให้การขายเสื้อผ้าแฟชั่นของเรา success ขึ้น
[คุณตั้ม]
- แฟชั่นมันคือเป็นภาคธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วย passion หรือ inspiration เป็นหลัก ยังไงก็ตาม ให้พยายามมองหาว่าอะไรเป็น inspiration ของการมีชิวิตต่อในวันพรุ่งนี้ของเรา เช่น ไม่ว่าจะออกคอลเล็กชั่นใหม่หรือสินค้าใหม่ ให้ยังคงกระตุ้นแรงผลักดันกับการทำงานจากแรงบันดาลใจที่อยู่รอบตัวเรา ว่ารอบข้างเรามีอะไรบ้างที่เป็นพลังบวกให้เรา เช่นของพี่ตั้มคือครอบครัวและชุมชน ก็พยายามดึงตรงนั้นมีสร้างธุรกิจให้กับตัวเอง เริ่มต้นธุรกิจจากสิ่งที่เราถนัด สื่งที่เราชอบ ค่อยๆ ศึกษา
- ช่วงโควิดมีแพลตฟอร์มใหม่ๆ เกิดขึ้นเยอะมาก มันจะช่วยให้หลายๆคน ที่กำลังจะผันตัวจากพนักงานประจำไปเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือจะทำทั้งคู่ ตอนนี้มันเป็นไปได้ทั้งหมดแล้ว เพราะฉะนั้นอยากให้ศึกษาทั้งสองฝั่ง ฝั่งนึงในฐานะผู้ที่กำลังจะสร้างแบรนด์ในอนาคต อีกฝั่งนึงเราก็คงบทบาทความเป็นผู้บริโภคอยู่ในตัวด้วย เชื่อมั่นว่าต่อจากนี้ก็จะเป็นสนามที่ท้าทาย มันจะเป็นการเปลี่ยนโลกใหม่ reset บางอย่างที่มันฟุ่มเฟือยออกไปอย่างธุรกิจ แฟชั่น เป็นเรื่องของ waster ค่อนข้างเยอะ ธุรกิจ garment เอาเคมีมาใช้เยอะหรือผลิตเสื้อผ้าที่เกินกำลังความต้องการของประชากรโลก ถ้าเรายังอยากคงความเป็น fashion industry อยู่ เราจะเอาเรื่องอะไรมาเล่นหลังจากวันพรุ่งนี้ คนเราจะ back to basic มากขึ้น simplify มากขึ้น โลกในอนาคตมันอาจจะแบ่งกันเลยสิ้นเชิงระหว่าง minimalist และ maximalist เลยก็ได้ เพราะจะมีคนที่สูญเสียจากธุรกิจท่ามกลางวิกฤติ และกลุ่มคนที่กอบโกย เชื่อว่าธุรกิจแฟชั่นจะสนุกขึ้นกว่าเดิมแน่นอน
Date: 6 MAR 2021 (22:00 - 23:15)
Club: วันนี้..สรุปมา
Moderator:
@panit คุณพี Panit Siripanichgon (วันนี้สรุป..มา)
Speaker:
@erkchinumar คุณเอิ๊ก Pomelo Fashion
@pilafarmstudio คุณตั้ม Nipon Pila (PILA Studio, PILA Farm Studio, ALIP Studio)
#Clubhouse #ClubhouseTH #ClubhouseThailand
#สามปีนี้เป็นไงบ้าง #7วัน7วงการ #แฟชั่น #Fashion
#ErkChinumar #Pomelo #PomeloFashion #NiponPila #PILAStudio #PILAFarmStudio #ALIPStudio #todayinotetoevent #todayinoteto #วันนี้สรุปมา
โฆษณา