13 มี.ค. 2021 เวลา 12:34
8 Social Soft-Skills
ทักษะการเป็นคนน่ารักเมื่ออยู่กับคนอื่น
.
.
หลายครั้งที่เราต้อง ‘เข้าสังคม’ พบเจอกับคนมากมายที่เราอาจสนิทสนม หรือรู้จักเพียงผิวเผิน และบางครั้งก็ไม่เคยรู้จักเลย การต้องอยู่ร่วมกับคนมากมายเหล่านั้นแม้จะเพียงเวลาสั้นๆ แต่กับคนที่เข้าสังคมไม่เก่ง ก็จะรู้สึกไม่สบายใจเมื่ออยู่กับคนเยอะๆ และวางตัวไม่ถูกเมื่อต้องอยู่ในวงสนทนา
.
แน่นอนว่าการเป็นตัวของตัวเองคงเป็นเรื่องที่ดีที่สุด ถ้าอยู่ในพื้นที่ที่ไม่คอมฟอร์ต เราก็แค่เดินออกมาแล้วหาพื้นที่ของตัวเอง แต่บางครั้งมันก็ไม่ง่ายอย่างนั้น การไม่รักษามารยาท หรือการวางตัวไม่เหมาะสม อาจทำให้เรากลายเป็นคน ‘ไม่น่ารัก’ ในสายตาคนอื่น แล้วจะทำอย่างไรเมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้
.
ลองไปดู 8 ทักษะในการเป็นคนน่ารักน่าคุยด้วย เมื่อต้องอยู่กับคนอื่นๆ กันดีกว่า
.
1. ไม่ตอบแค่ “ก็ดี”
1
ถ้าได้ยินคำถามว่า ช่วงนี้เป็นยังไงบ้าง? ลองเปลี่ยนคำตอบว่า “ก็ดี” เป็นอย่างอื่นแทน อย่างการอธิบายสั้นๆ ถึงสุขภาพ การงาน ความรู้สึก เพื่อการต่อบทสนทนาที่ลื่นไหลขึ้น ระวังโหมด Auto-Pilot ถามคำตอบคำของตัวเอง
.
2. พยายามทักทายรายบุคคล
1
อีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ได้ยากเกินไปนัก ก็คือการทักทายคนที่พบเจอแบบรายบุคคล จริงๆ เราจะพูดแค่ ‘สวัสดี’ แบบรวมๆ ก็ได้ แต่ถ้าสามารถไปทักทายเรียกชื่อ (ถ้ารู้จัก) พูดคุยเล็กๆ น้อยๆ รายคนก็จะสร้างความประทับใจให้คนอื่นๆ ได้ไม่ยาก ปล. ถ้าทักไปแล้วเค้าไม่ตอบก็ไม่ต้องเสียเซลฟ์ล่ะ
.
3. สบตากับผู้พูดเสมอ
2
การมองตาคนอื่นฟังดูเหมือนง่าย แต่จริงๆ แล้วไม่ง่ายเลยสำหรับคนที่ไม่ค่อยมั่นใจเมื่ออยู่กับคนเยอะๆ แต่มันเป็นมารยาทที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพื่อแสดงว่าเราสนใจฟังคนคนนั้นอยู่ ลองเริ่มจากการสบตากับคนที่กำลังพูด พยายามอย่าหลบตา แล้วเราจะรู้สึกกลัวการสบตากับคนอื่นน้อยลงเอง
.
4. ฝึกใช้ระดับเสียงที่เหมาะสม
ไม่ได้บอกให้คุณไปเรียนร้องเพลง แต่หมายถึงการลองพูดด้วยระดับเสียงดัง-เบาให้เหมาะสมกับจำนวนคนและ/หรือสถานที่ดู บางครั้งเราอาจเป็นคนพูดเบา ก็ทำให้ดูเป็นคนไม่ค่อยหนักแน่น คนไม่รับฟัง หรือบางทีก็พูดดังเกินไป เหมือนคนชอบใช้อำนาจ แต่เรื่องแบบนี้ฝึกฝนและพัฒนาได้
.
5. ฟังเพื่อเข้าใจไม่ใช่เพื่อตอบโต้
2
บางทีการพูดของคนคนหนึ่งอาจไม่ได้ต้องการการวิเคราะห์ตอบโต้ หรือการแสดงความคิดเห็นอย่างดุเดือดจากคนอื่น ดังนั้น การเป็นผู้ฟังที่ดี เพียงแค่มองตาเขา เปิดใจรับฟัง และไม่ต้องคิดคำตอบโต้ ก็อาจจะเป็นวิธีที่ดีกว่า
.
6. ปล่อยให้ความเงียบทำงานบ้าง
1
‘เดดแอร์’ ในวงสนทนาอาจเป็นสิ่งที่ดูน่ากลัว แต่จริงๆ แล้ว การปล่อยให้ความเงียบได้ทำงานในบางจังหวะก็ไม่ใช่เรื่องที่แย่นัก เพราะคุณและคู่สนทนาสามารถใช้ความคิดในช่วงเวลาที่เงียบนี้ เพื่อตอบคำถามได้ลึกซึ่งยิ่งขึ้น
.
7. สังเกตอาการตัวเองขณะพูด
เวลาเครียดๆ ร่างกายของเรามักมีปฏิกิริยาอัตโนมัติบางอย่าง บางคนกัดริมฝีปาก บางคนแกว่งแขน บางคนสั่นขา อาการเหล่านี้อาจทำให้คุณดูเสียบุคลิก วิธีแก้คือพยายามจับอาการของตัวเอง ค่อยๆ ควบคุมร่างกาย หรือเปลี่ยนจุดโฟกัสไปมองคนที่เราคุ้นเคย ไว้ใจ แล้วค่อยดึงสายตากลับมา กวาดมองไปทั่วๆ ก็ได้ วิธีการคลายความตึงเครียดไม่มีตายตัว ค่อยๆ หาวิธีของคุณเอง
.
8. เอาชนะความประหม่าให้ได้
1
ถ้าคุณกลัวการต้องพูดคุยกับคนอื่นมากๆ วิธีเดียวที่จะทำให้คุณหายกลัวก็คือการเผชิญหน้ากับมัน ถ้าคุณไม่มั่นใจในการพูด ก็ยิ่งต้องพูดคุยให้เยอะ ถ้าไม่กล้าสบตาคน ก็ยิ่งต้องมองตาคนให้มาก และถ้ากลัวการเข้าสังคม ก็ยิ่งก็ต้องพาตัวเองไปพบเจอผู้คนบ่อยๆ แล้วคุณจะเอาชนะความประหม่าหรือความกลัวได้อย่างแน่นอน
.
.
แปลและเรียบเรียงจาก: https://bit.ly/3bK7EdO
1
#MissionToTheMoonPodcast
โฆษณา