18 มี.ค. 2021 เวลา 05:23 • ข่าว
Podcast..รายการหนึ่งถ้วยกาแฟ..มือที่3ในพม่า
😍😍ในวันที่ 16 มีนาคม64 หนังสือพิมพ์ Global New Light of Myanmar ซึ่งเป็นกระบอกเสียงของกองทัพเมียนมารายงานว่า ทางการเมียนมาจับกุม พยู ปา ปา ตอ (Phyu Pa Pa Thaw) เจ้าหน้าที่การเงินของมูลนิธิ Open Society Myanmar (OSM) ซึ่งก่อตั้งโดย จอร์จ โซรอส พ่อมดการเงินชื่อก้องโลก ไปสอบสวนเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงินที่โอนไปยังกลุ่มผู้ประท้วงในเมียนมา ทางการกำลังตามตัวเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิอีก 11 คน
😍😍เนื่องจากต้องสงสัยว่ามูลนิธิ OSM สนับสนุนทางการเงินให้กับกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหารโดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินกับการทำอารยะขัดขืน (CDM) ของผู้ประท้วงที่พากันไม่ติดต่อคบหากับทหารตำรวจและไม่ทำงานราชการหรือทำธุรกรรมกับพวกยึดอำนาจ
😍😍มีองค์กรในเมียน,ามากว่า 100 แห่งที่ได้รับการสนับสนุนจากโซรอส
😍😍ในเวลาเดียวกัน Global New Light of Myanmar ยังเผยแพร่ภาพที่อองซานซูจีพบกับจอร์จ โซรอสที่นิวยอร์กเมื่อปี 2016 และที่อองซานซูจีพบกับ อเล็กซานเดอร์ โซรอส บุตรชายจอร์จในเมียนมา
😍😍การเผยแพร่ภาพนี้วนอยู่ในโซเชียลเน็ตเวิร์กมาระยะหนึ่งแล้ว เพื่อยืนยันทฤษฎีเรื่องการแทรกแซงของชาติตะวันตกในเหตุวุ่นวายของเมียนมาเวลานี้
😍😍แต่ก็เช่นเดียวกับทฤษฎีข้างต้นก็คือ ยังไม่มีหลักฐานยืนยันเป็นมั่นเหมาะ มีแต่การโชว์รูปและการคาดเดาไปต่างๆ นานา
😍😍อย่างไรก็ตาม จะเป็นการดีหากเราจะนำเสนอข้อมูลแนบประเด็นนี้ด้วยว่า อเล็กซานเดอร์ โซรอส ได้เดินทางไปเยือนเนปยีดอเมืองหลวงของเมียนมาและพบกับเจ้าหน้าที่ระดับรัฐมนตรีที่นั่น หนึ่งสัปดาห์ก่อนที่ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีนจะเดินทางเยือนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 และ 18 มกราคม 2020
😍😍Eleven Media รายงานว่าในตอนนั้น โซ เตน (Soe Thane) อดีตผู้บัญชาการกองทัพเรือ อดีตรัฐมนตรีและสมาชิกสภานิติบัญญัติสังกัดพรรคทหาร (USDP) บอกว่า ยังบอกด้วยว่าจอร์จ โซรอสได้ทุ่มเงินทุนจำนวนมากเกี่ยวกับกิจการของชาวโรฮิงยา ตามที่ระบุไว้ในเว็บไซต์ของ OSF ได้ระดมทุนฉุกเฉิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2015 ให้กับชาวโรฮิงยา
😍😍จากความเห็นของ โซ เตน เราอาจจะอนุมานได้ว่าทหารเมียนมาก็คงคิดแบบเดียวกัน คือมองว่าโซรอสคือตัวบ่อนทำลายชาติเพราะเรื่องโรฮิงยา หากเป็นประเด็นโรฮิงยา กองทัพเมียนมาและอองซานซูจีดูเหมือนจะเห็นพ้องต้องกัน
😍😍แต่มันไม่ใช่แบบนั้น จากการบอกเล่าของโซ เตน ทำให้ทราบว่าโซรอสพยายามเข้าหาผู้นำเมียนมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลทหารยุคก่อน คือประธานธิบดีเต้นเซน (Thein Sein) โดยพยายามดูดข้อมูลเรื่องโรฮิงยาและเมื่อใกล้ชิดกับเต้นเซนก็พยายามหนุนให้คนของตนคือ ตอง ทุน (Thaung Tun) ให้เต้นเซนแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี แต่เต้นเซนปฏิเสธ
😍😍จนกระทั่งเมื่อเต้นเซนหมดวาระไป และเกิดรัฐบาลพลเรือนของอองซานซูจี ในวันที่ 13 มกราคม 2017 จอร์จ โซรอสเดินทางมาที่เนปยีดออีกครั้งเพื่อพบกับอองซานซูจี และในวันรุ่งขึ้นตอง ทุนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ หลังจากนั้นข้อมูลของตอง ทุนที่เกี่ยวข้องกับโซรอสก็ถูกลบทิ้งไปหมด
😍😍ที่น่าแปลกใจก็คือทำไมอองซานซูจีจึงเชื่อคำของโซรอสได้ง่ายดาย และทำไมโซรอสถึงยอมเข้าหาอองซานซูจี? ทั้งๆ ที่เธอถูกประณามจากประชาคมโลกตะวันตกจากกรณีโรฮิงยา โซรอสเองก็สนับสนุนชาวโรฮิงยาเป็นเงินหลายล้านและประกาศต่อโลกว่า "ผมคนหนึ่ง ก็เป็นชาวโรฮิงยา"
😍😍แต่ทำไมโซรอสถึงกล้าไปคบกับซูจีนและยังส่งลูกไปหาคนในรัฐบาลพลเรือนเมียนมาอยู่ได้?
คำตอบน่าจะเป็นแค่คำว่า "ผลประโยชน์"
😍😍กองทัพจะหมายหัวองค์กรของโซรอสในเมียนมาและจะต้องถูกกวาดล้างอย่างแน่นอน เพราะโซรอสเป็นภัยต่อ "บ้านเมือง" และเป็นภัยต่อการกุมอำนาจของกองทัพที่ทำตัวประหนึ่งเป็นบ้านเมืองหรือองค์อธิปัตย์เสียเอง
😍😍และกองทัพเมียนมาจะต้องเร่งกวาดล้างองค์กรภาคประชาชนต่างๆ เพราะการเคลื่อนไหวไม่มี "หัว" เป็นแกนนำก็จริง แต่มี "เส้นประสาท" ที่คอยชี้นำการเคลื่อนไหว และ "เส้นเลือด" ที่คอยหนุนด้านการเงิน
😍😍ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยไหม?
โซรอสสนใจเมียนมามานานแล้ว ในปี 2007 Forbes รายงานว่า "ความสนใจของโซรอสในพม่าย้อนกลับไปในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 1987 ชาวพม่าหลายล้านคนออกเดินทางไปตามท้องถนนเพื่อประท้วงการตัดสินใจของรัฐบาลพม่าในการเปลี่ยนสกุลเงินของประเทศและทำลายเงินออมของประชาชนไปมาก"
😍😍ในตอนนั้นคือการประท้วงต่อต้านนโยบายเศรษฐกิจการเงินที่ไร้เหตุผลสิ้นดีของนายพลเน วิน และนำไปสู่การชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ซึ่งลุกลามกลายเป็นการต่อต้านเผด็จการทหารของมหาชนทั้งประเทศ และเกิดการสับเปลี่ยนอำนาจในรัฐบาล/กองทัพ และตามด้วยการสังหารหมู่ประชาชนในเหตุการณ์วันที่ 8 เดือน 8 ปี 1988 หรือ เหตุการณ์ 8888
😍😍โซรอสก่อตั้ง "โครงการพม่า" (Burma Project) ในปี 1994 เงินประมาณ 30% มอบให้กับโครงการการศึกษาและทุนการศึกษาของมหาวิทยาลัยสำหรับคนเมียนมา ส่วนที่เหลือเป็นทุนสำหรับกลุ่มที่ทำงานเกี่ยวกับพม่า
😍😍Burma Project จึงไม่ใช่การช่วยเหลือแแบบให้น้ำให้ข้าวแล้วจบกันไป แต่เป็นการสร้างคน ปั้นทรัพยากรบุคคลที่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยและในอนาคตจะสร้างเมียนมาให้เป็นประชาธิปไตย - แต่มันไม่ใช่เรื่องง่าย
😍😍Forbes ยังรายงานว่า "จอร์จโซรอสทุ่มเงิน 2 ล้านเหรียญต่อปีเพื่อปูทางสู่ประชาธิปไตยในพม่า มันเป็นการดำเนินการที่ยุ่งยาก โดยปกติแล้วหัวหน้าโครงการพม่าของเขาถูกห้ามในพม่าซึ่งมีการปกครองแบบเผด็จการทหารที่ไร้ความปรานีมานานหลายทศวรรษ และโซรอสไม่เป็นที่พอใจในประเทศเพื่อนบ้านของเมียนคือไทยซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ลี้ภัย 2 ล้านคนที่หลบหนีจากพม่า ยิ่งไปกว่านั้นประเทศไทยจะไม่ยอมรับว่าคนเหล่านี้เป็นผู้ลี้ภัยทำให้การช่วยเหลือยากขึ้นมาก"
😍😍นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นยุคเผด็จการทหารเมียนมาครั้งที่แล้ว และมีนัยมาถึงไทยด้วย ไทยจึงควรต้องทบทวนเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นและกำลังเกิดขึ้นให้ดี เพราะมีโอกาสสูงที่จะมีการกวาดล้างแบบเลือดนองแผ่นดินและจะมีผู้อพยพลี้ภัยนับล้านมายังไทย และนั่นหมายถึงการเข้ามาเคลื่อนไหว (หรือแทรกแซง) โดยองค์กรต่างชาติมากมายในแผ่นดินไทย
😍😍มหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียผู้เป็นไม้เบื่อไม้เมากับโซรอสและเชื่อว่าเขานี่แหละคือเบื้องหลังหายะนทางการเงินของประเทศไทยและมาเลเซีย มหาเธร์เคยกล่าวว่า "อันที่จริงเขา [โซรอส] สารภาพอยู่ไม่มากก็น้อยในภายหลังว่าเขามีส่วนเกี่ยวข้อง [กับวิกฤตการการเงินในไทย] เขามีความคิดว่าการกดดันไทยและมาเลเซียจะทำให้เมียนมาไม่สามารถเข้าร่วมอาเซียนได้ นอกจากนี้เรายังทราบว่าเจ้าหน้าที่ของเขามีบุคคลจากเมียนมาที่อาจมีอิทธิพลต่อเขา เรามีหลักฐานทุกอย่างว่าเขามีส่วนเกี่ยวข้อง"
Reference
โพสต์ ทูเดย์
โฆษณา