23 มี.ค. 2021 เวลา 01:30 • ไลฟ์สไตล์
เคยไหม จ้องคอมนานจนปวดตา แต่จะไม่ทำงานก็ไม่ได้?
.
สมาคมจักษุวิทยาในประเทศอเมริกา (American Optometric Association) เผยว่า การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือที่ปล่อยแสงสีฟ้าออกมานานกว่า 2 ชั่วโมงติดต่อกันทุกๆ วันจะทำให้มีอาการ ‘Computer Vision Syndrome’ ซึ่งจะทำให้เรามีอาการตาพร่ามัว ปวดหัว ตาแห้ง ตาล้า หรือน้ำตาไหลแบบเรื้อรัง โดยใน 1 ปีคนไทยใช้ดวงตาจ้องหน้าจอไปแล้วประมาณ 6,205 ชั่วโมง
.
แต่เพราะในปัจจุบัน โลกของเราพึ่งพาอุปกรณ์เหล่านี้ในแทบทุกแง่มุมของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเวลาทำงานหรือเวลาพักผ่อน การหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้อย่างเด็ดขาดจึงทำได้ยาก
.
วันนี้ Career Fact จึงรวบรวมวิธีการ ‘อยู่ร่วม’ กับแกดเจ็ตทั้งหลายพร้อมกับมีสุขภาพดวงตาที่ดีไปพร้อมๆ กันที่ใครๆ ก็ทำได้!
.
#พักสายตาด้วยกฎ 20-20-20
.
เราออกกำลังส่วนขาส่วนแขนกันแล้ว ก็อย่าลืมที่จะออกกำลังในส่วนของดวงตาด้วยกฎ 20-20-20 ซึ่งหมายถึงการพักเบรกทุก 20 นาที ครั้งละ 20 วินาที โดยการใช้สายตามองไปไกล 20 ฟุตหรือราว 6 เมตร การทำแบบนี้จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อตา ลดการเกร็งกล้ามเนื้อและความอ่อนล้าจากการจ้องหน้าจอนานๆ
.
.
#กระพริบตา
.
โดยปกติแล้วคนเราจะกระพริบตา 15-20 ครั้งต่อนาที แต่ระหว่างที่เราเพ่งไปที่หน้าจอ จำนวนครั้งที่เรากระพริบตาต่อนาทีจะลดลงไปเกือบครึ่งจากปกติทำให้ตาแห้งได้ง่าย การบังคับตัวเองให้กระพริบตาบ่อยๆ จะเป็นการมอบความชุ่มชื้นให้ดวงตาและลดการระคายเคือง
.
.
#เพิ่มช่องว่างระหว่างเรา
.
ระยะห่างระหว่างหน้าจอและดวงตาที่เหมาะสมคือราว 16-18 นิ้วหรือหนึ่งช่วงแขน ถ้าไม่สะดวกทำแบบนี้เวลาอยู่ข้างนอกหรือในที่สาธารณะ อย่างน้อยก็ฝึกให้เป็นนิสัยเวลาอยู่ที่บ้าน หากรู้สึกว่าหน้าจอไกลไปจนมองตัวหนังสือไม่เห็นก็อาจจะแก้ไขด้วยการเพิ่มขนาดตัวหนังสือแทน
.
.
#เปิดโหมดกลางคืน
.
ปัจจุบันสมาร์ตโฟนรุ่นใหม่รวมถึงเบราว์เซอร์ต่างๆ จะมีฟีเจอร์หรือส่วนขยายที่ปรับหน้าจอให้เข้าสู่โหมดกลางคืนเพื่อลดแสงจ้าจากหน้าจอ เป็นการช่วยเราถนอมสายตาอีกวิธีหนึ่ง
.
.
#ใช้ฟิล์มถนอมสายตา
.
คนส่วนใหญ่อาจจะชินกับการติดฟิล์มมือถือหรือแท็บเล็ตอยู่แล้วแต่คอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คของเราก็ติดฟิล์มได้เหมือนกัน โดยฟิล์มที่แนะนำให้ติดคือฟิล์มด้านที่ไม่สะท้อนแสง เนื่องจากจะช่วยลดแสงบาดตา (Glare) จากไฟดวงอื่นๆ ในห้องหรือแสงอาทิตย์ที่สะท้อนเข้าหน้าจอ
.
.
#ให้อาหารตา
.
เมื่อป้องกันจากภายนอกแล้วก็อย่าลืมดูแลจากภายในด้วยการเพิ่มสารอาหารให้กับดวงตา เช่น ปลาทะเลที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ผลไม้รสเปรี้ยว ที่อุดมไปด้วยวิตามิน C ผักบุ้งและแครอทที่อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนและผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ
.
ผลไม้ตะกูลเบอร์รี่อย่างบลูเบอร์รี่และโกจิเบอร์รี่ค่อนข้างเป็นที่รู้จักในเมืองไทยแล้ว แต่ยังมีเบอร์รี่อีก
ชนิดหนึ่งที่ชื่ออาจไม่ค่อยคุ้นหูนักแต่ในส่วนของคุณสมบัตินั้นต้องบอกได้เลยว่าไม่ธรรมดา ซึ่งเบอร์รี่ชนิดนั้นก็คือ ‘บิลเบอร์รี่’ (Bilberry) โดยบิลเบอร์รี่จะอุดมไปด้วยแอนโธไซยานิน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
.
สารต้านอนุมูลอิสระนั้นสำคัญ เพราะแสงสีฟ้าจากหน้าจอจะกระตุ้นการสะสมอนุมูลอิสระ จนทำให้เกิด Lipofuscin ซึ่งทำลายเซลล์รับภาพในจอประสาทตาได้ แอนโธไซยานินที่สกัดมาจากบิลเบอร์รี่นี้จะมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ สามารถยับยั้งการออกซิเดชั่นของเซลล์ของจอประสาทตาที่เกิดจากการกระตุ้นด้วยแสงได้
.
นอกจากแอนโธไซยานิน ลูทีนและซีแซนทีนก็เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดการดูดซึมแสงสีฟ้า ชะลอความเสื่อมและฟื้นฟูดวงตาได้ดีไม่แพ้กัน ซึ่งมักจะมีมากในผักใบเขียวและพืชสีออกเหลืองอย่างดอกดาวเรือง
.
หากเลี่ยงการจ้องจอไม่ได้ ก็ต้องใส่ใจดูแลให้มากกว่าเดิม รู้จักพักสายตา ทานอาหารที่มีประโยชน์ และอย่าลืมตรวจสุขภาพดวงตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อตรวจสอบความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว
.
เพราะดวงตาของเรามีคู่เดียวและการป้องกันนั้นมีราคาที่ต้องจ่ายน้อยกว่าการรักษา
1
บทความสนับสนุนโดย อ้วยอันโอสถ: http://bit.ly/3cLSTql
………………
Career Fact เพราะทุกอาชีพ... มีเรื่องราว
ติดตาม Career Fact ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/careerfact
อ้างอิง
โฆษณา