22 มี.ค. 2021 เวลา 11:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน กำลังมีสัดส่วนลดลงเรื่อย ๆ
1
รู้หรือไม่ว่า จากการจัดอันดับ 10 มหาเศรษฐีชาวมาเลเซียที่มีทรัพย์สินมากที่สุดโดยนิตยสาร Forbes
จะเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนถึง 9 คน
5
ปี 2020 ประเทศมาเลเซียมีจำนวนประชากรที่ถือสัญชาติมาเลย์ทั้งหมด 29.7 ล้านคน
- 69.6% คือจำนวนประชากรภูมิบุตร หรือชาวมาเลเซียเชื้อสายมาเลย์ที่นับถือศาสนาอิสลาม
- 22.6% คือจำนวนชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน
- 7.8% คือจำนวนชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดียและอื่น ๆ
3
จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ถึงแม้จะเป็นมหาเศรษฐีอันดับต้น ๆ ของประเทศ
สร้างผลประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจของมาเลเซียมากมาย
แต่ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน ก็ยังคงมีจำนวนประชากรที่เป็นส่วนน้อยของประเทศ
และสัดส่วนนี้ก็กำลังจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ ..
6
เรื่องราวนี้น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
จุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ระหว่างชาวจีนกับมาเลเซีย ต้องย้อนกลับไปในช่วงต้นศตวรรษที่ 15
ซึ่งเป็นช่วงแรกของการเดินทางมายังดินแดนแห่งนี้ของชาวจีน
จากการที่ราชวงศ์หมิงจากจีนและอาณาจักรมะละกามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
จึงทำให้มีชาวจีนมากมายเดินทางมาค้าขายที่ดินแดนแห่งนี้เรื่อยมา
2
ความอุดมสมบูรณ์ ทำให้พ่อค้าชาวจีนบางกลุ่มได้ตัดสินใจตั้งรกรากที่นี่
และได้มีการแต่งงานข้ามเชื้อชาติกับชาวมาเลย์
โดยลูกหลานของชาวจีนที่แต่งงานกับชาวมาเลย์จะถูกเรียกว่า “เปอรานากัน”
ซึ่งในภาษามาเลย์แปลว่า “เกิดที่นี่”
3
ชาวเปอรานากันคือกลุ่มลูกครึ่งมาเลย์-จีนกลุ่มแรก ที่สร้างวัฒนธรรมแบบผสมผสาน
และเป็นต้นแบบของการอยู่ร่วมกันในสังคมที่หลากหลายของมาเลเซีย
Cr. Peranakan Life
การเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือช่วงศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา
ซึ่งตรงกับช่วงประเทศจีนเกิดความวุ่นวายมากมาย ทั้งการปฏิวัติซินไฮ่ สงครามมหาเอเชียบูรพา และการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์
1
ด้วยปัญหามากมายของประเทศจีน จึงทำให้ชาวจีนจำนวนมากอพยพไปยังต่างประเทศ
ด้วยความต้องการชีวิตที่ดีกว่า โดยจุดหมายยอดนิยมในสมัยนั้นก็คือประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็น ไทย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และมาเลเซีย
2
ซึ่งในขณะนั้น ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ยังถูกปกครองโดยเจ้าอาณานิคมชาวตะวันตก โดยประเทศที่ถูกปกครองโดยจักรวรรดิอังกฤษในสมัยนั้นจะถูกวางรากฐานทางด้านการเมือง การศึกษา เศรษฐกิจ และโครงสร้างพื้นฐานเป็นอย่างดี
ประกอบกับในสมัยนั้น อังกฤษต้องการแรงงานจำนวนมากเพื่อที่จะทำงานในเหมืองแร่และการเกษตร
4
ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้บริติชมาลายา หรือมาเลเซียในปัจจุบัน
กลายเป็นหนึ่งในจุดหมายที่ชาวจีนนิยมย้ายมาตั้งถิ่นฐาน
3
Cr. Malaysia Breakerz
ชาวจีนในมาเลเซียและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค มีความเหมือนกันตรงที่พวกเขาอพยพมาแค่เสื่อผืนหมอนใบ ไม่มีอะไรติดตัวมาเลย นอกจากความหวังในการแสวงหาชีวิตที่ดีกว่าจีนแผ่นดินใหญ่ จึงทำให้ชาวจีนโพ้นทะเลมีความขยันขันแข็งและหนักเอาเบาสู้
1
ด้วยความที่ไม่เกี่ยงงาน จึงทำให้คนจีนได้เป็นลูกจ้างในงานที่คนมาเลเซียเดิมไม่อยากทำ
ไม่ว่าจะเป็นงานในหมืองแร่ สวนยางพารา สวนปาล์ม หรือตำแหน่งที่อยู่หน้างานเป็นหลัก
1
เวลาผ่านไปเรื่อย ๆ ส่งผลให้คนจีนสามารถขยับตัวมาเป็นพ่อค้าแม่ค้าหรือนักธุรกิจ
ที่ทำมาค้าขายจนสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวจนกลายเป็นเชื้อชาติที่มีฐานะมากที่สุดในมาเลเซีย
3
ข้อมูลจาก MIROnline ระบุว่าชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนจะมีรายได้เฉลี่ยมากกว่าเชื้อชาติอื่น ๆ ในมาเลเซีย
3
ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนมีความแตกต่างกับชาวไทยเชื้อสายจีนตรงที่ ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนยังคงตั้งชื่อลูกหลานของตัวเองเป็นชื่อภาษาจีน และจะใช้ภาษาจีนในการสื่อสารกับชาวจีนด้วยกันเอง
1
ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนมีความได้เปรียบทางด้านภาษาที่สามารถสื่อสารทั้งภาษาจีน, ภาษามาเลย์ และภาษาอังกฤษ จึงทำให้สามารถได้รับโอกาสจากบริษัทข้ามชาติและการค้าขายระหว่างประเทศมากกว่าเชื้อชาติอื่น ๆ
5
ซึ่งไม่เหมือนกับชาวไทยเชื้อสายจีน ที่จะมีชื่อเป็นภาษาไทยและใช้ภาษาไทยในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน
3
จากเชื้อชาติที่เริ่มต้นจากศูนย์ กลับกลายมาเป็นเชื้อชาติที่สามารถวางรากฐาน
ให้กับเศรษฐกิจของมาเลเซียมากมาย..
2
ไม่ว่าจะเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดและมีมูลค่ามากที่สุดในตลาดหลักทรัพย์มาเลเซียอย่าง Maybank ก็ถูกก็ตั้งโดยชาวจีนชื่อว่าคุณ Khoo Teck Puat
Cr. The Star
แอปพลิเคชันที่คนไทยใช้สั่งอาหารออนไลน์อย่าง Grab ก็ถูกก่อตั้งโดยคุณ Anthony Tan
ซึ่งเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน เช่นกัน
2
จากข้อมูลของ Department of Statistics Malaysia ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของรัฐบาลมาเลเซีย
ในปี 2010 จากจำนวนประชากรที่ถือสัญชาติมาเลย์ทั้งหมด 26.0 ล้านคน
มีชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน 6.4 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 24.6%
ปี 2020 จากจำนวนประชากรที่ถือสัญชาติมาเลย์ทั้งหมด 29.7 ล้านคน
มีชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน 6.7 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 22.6%
1
ถึงแม้ว่าประชากรเชื้อสายจีนจะเพิ่มมากขึ้น แต่เมื่อเทียบกับสัดส่วนของประชากรมาเลเซียทั้งหมดแล้ว ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนกำลังมีสัดส่วนลดน้อยลงเรื่อย ๆ
ภายในปี 2030 สัดส่วนของคนเชื้อสายจีน ถูกคาดว่าจะเหลือเพียง 19.6%
3
สาเหตุหนึ่งมาจากอัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลง แต่สาเหตุสำคัญมาจากการอพยพออกนอกประเทศของคนเชื้อสายจีน โดยรัฐบาลมาเลเซียคาดการณ์ว่า
มีคนเชื้อสายจีนอพยพออกนอกประเทศไม่ต่ำกว่า 300,000 คน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
1
สาเหตุหลักของการอพยพออกนอกประเทศมากขนาดนี้ เกิดจากความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติในมาเลเซียที่มีมาเป็นเวลานาน
1
จุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง คือเหตุการณ์ในปี 1969 ซึ่งเกิดการปะทะกันระหว่างชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนและมาเลย์
1
เหตุการณ์ดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการที่พรรคพันธมิตรฝ่ายค้าน ซึ่งมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน และมีนโยบายเน้นความเสมอภาคของทุกเชื้อชาติในประเทศ สามารถคว้าที่นั่งในสภาได้ถึง 38 ที่นั่ง ซึ่งมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ ส่งผลให้สมาชิกพรรคพันธมิตรฝ่ายค้านและชาวจีนออกมาเดินขบวนแสดงความดีใจเป็นจำนวนมาก
2
การเดินขบวนของชาวจีนในครั้งนั้น สร้างความไม่พอใจให้กับชาวมาเลย์จำนวนมาก จึงทำให้พรรค UMNO ซึ่งเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซียได้มีการตอบโต้โดยการรวบรวมชาวมาเลย์มาเดินขบวนเช่นกัน
1
กระแสความเกลียดชังต่อชาวจีนที่ได้ถูกจุดมาสักระยะหนึ่งแล้วจากความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และที่สำคัญที่สุดก็คือความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างชาวจีนและมาเลย์
สุดท้ายปัญหานี้ก็ได้ระเบิดขึ้น ส่งผลให้ชาวมาเลย์มากมายออกมาเดินขบวน จนกลายเป็นการปะทะกันระหว่างชาวมาเลย์และชาวจีน
3
เหตุการณ์ดังกล่าวกินเวลานานถึง 2 เดือน ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 คน
และมีผู้บาดเจ็บนับไม่ถ้วน ยังไม่รวมความเสียหายในด้านทรัพย์สินอีกมากมาย
หลังจากการปะทะที่นองเลือดได้สิ้นสุดลง รัฐบาลมาเลเซียที่นำโดยพรรค UMNO ได้ประกาศนโยบายเศรษฐกิจใหม่หรือ “นโยบายภูมิบุตร” เพื่อลดช่องว่างทางเศรษฐกิจในประเทศ
ลดฐานะความยากจนของคนเชื้อสายมาเลย์ และเพิ่มความสามัคคีของคนในชาติ
3
นโยบายดังกล่าวจะสนับสนุนเฉพาะชาวมาเลเซียที่สืบเชื้อสายมาเลย์ และนับถือศาสนาอิสลามเท่านั้น โดยจะได้สิทธิพิเศษทั้งด้านการศึกษา การสงวนที่ดินบางส่วน ตำแหน่งข้าราชการบางตำแหน่ง และสิทธิพิเศษอื่น ๆ อีกมากมาย
1
นโยบายดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนและอินเดียจำนวนมาก
โดยถูกมองว่าเป็นนโยบายที่เอาเปรียบคนเชื้อชาติอื่น ๆ มีความเป็นสองมาตรฐาน
ทำให้ชาวจีนและอินเดีย กลายเป็นประชากรชนชั้นสองของประเทศไปในที่สุด
3
แม้ปัจจุบันนี้ฐานะของคนมาเลย์จะดีขึ้นกว่าเดิมมาก ซึ่งเป็นผลสำเร็จของนโยบายภูมิบุตร
แต่นโยบายดังกล่าวยังคงมีอยู่ต่อไป โดยไม่มีทีท่าว่าจะเปลี่ยนแปลง..
2
ด้วยความเหลื่อมล้ำนี้เอง ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนจึงเริ่มอพยพไปยังประเทศอื่น ๆ
เพื่อมองหาความเสมอภาคทางเชื้อชาติ และโอกาสทางธุรกิจที่ดีกว่า
5
ชาวจีนที่มีความสามารถ ส่วนหนึ่งเลือกที่จะไปทำงานที่สิงคโปร์เนื่องจากความคล้ายคลึงกันของวัฒนธรรมของชาวจีนทั้งในมาเลเซียและสิงคโปร์ รองลงมาก็จะเป็นออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และแคนาดา
2
ตัวอย่างที่เราพอจะเห็นได้ในปัจจุบัน เช่น บริษัท Grab Holdings Inc. หรือ Grab ที่ได้ย้ายสำนักงานจากมาเลเซียไปตั้งที่สิงคโปร์ หรือ คุณ James Wan ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง The Conjuring ที่ได้อพยพไปยังออสเตรเลีย และถือสัญชาติออสเตรเลียเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
Cr. Grab
การอพยพไปยังประเทศอื่นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดภาวะสมองไหล ที่จะทำให้สูญเสียแรงงานที่มีทักษะสูง และมีประสิทธิภาพที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
1
รัฐบาลมาเลเซียพยายามแก้ปัญหานี้โดยจัดตั้งโครงการ TalentCorp เพื่อที่จะดึงดูดชาวมาเลเซียที่เป็นแรงงานทักษะสูงในต่างประเทศให้กลับมาทำงานที่บ้านเกิด
เว็บไซต์ Malay Mail ระบุว่าโครงการดังกล่าวสามารถดึงดูดชาวมาเลเซียได้เพียง 3,000 คน เท่านั้น
จากจำนวนแรงงานมาเลเซียที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก
1
ตราบใดที่นโยบายภูมิบุตรยังคงมีอยู่ต่อไป ก็เป็นไปได้ว่า
มาเลเซียกำลังสูญเสียทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของประเทศไปเรื่อย ๆ
2
ไม่มีใครรู้ว่าอนาคตทางเศรษฐกิจของมาเลเซียจะเป็นอย่างไร เมื่อกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจกำลังลดน้อยลงทุกที..
นโยบายภูมิบุตรของมาเลเซียจึงนับเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
1
เพราะนโยบายนี้เกิดขึ้นมา เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
แต่สุดท้ายกลับกลายเป็น สร้างความเหลื่อมล้ำครั้งใหม่ ขึ้นมาเสียเอง..
3
โฆษณา