1 เม.ย. 2021 เวลา 04:17 • ธุรกิจ
"อยากรู้อยากเห็น" อย่างไร ให้ได้ประโยชน์
ความอยากรู้อยากเห็นมีหลายประเภท แม้แต่ความอยากรู้อยากเห็นเรื่องชาวบ้าน ก็เป็นประโยชน์ได้ หากเราอย่างรู้อยากเห็นอย่างถูกวิธี
วันนี้ The Columnist มีสรุปจากหนังสือขายดีอย่าง Curiosity: The Desire to Know and Why Your Future Depends On It มาฝากกันครับ
🔴 #อยากรู้อยากเห็นให้ถูกประเภท
ความอยากรู้อยากเห็นแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
❶ อยากรู้อยากเห็นไปเสียหมด หรือเรียกว่า Diversive Curiosity ข้อดีคือทำให้เรารู้เรื่องใหม่ ๆ อยู่เสมอ มีความสนใจอยู่ตลอดเวลา รู้รอบตอบได้ แต่ข้อเสียคืออาจจะทำให้เรารู้แบบผิวเผิน รู้แบบไม่จริงจัง ไม่เกิดเป็นความรู้ที่จับต้องได้
❷ อยากรู้ลึกรู้จริง ชอบการขุดคุ้ยข้อมูล หรือ Epistemic Curiosity ข้อดีคือมีความรู้ที่ลึกซึ้งขึ้น เข้าใจอย่างละเอียด เกิดเป็นความรู้ ข้อเสียคืออาจจะทำให้พลาดโอกาสในการรับรู้ข้อมูลใหม่ ๆ
จะเห็นได้ว่าทั้งสองต่างก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน ฉะนั้น ถ้าอยากรู้อยากเห็นให้ได้ดี เราควรต้องมีทั้งสองแบบผสมกันครับ นั่นคือเป็นคนอยากรู้อยากเห็นอยู่ตลอดเวลา อยากรู้ไปหมดทุกเรื่อง แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อรู้แล้วก็ควรสืบค้นข้อมูลต่อด้วย
🔴 #ตั้งคำถามอย่าหยุด
คำถามจะช่วยให้อยากรู้อยากเห็นจนได้ดีครับ เมื่อเกิดความอยากรู้อยากเห็นแล้ว ให้ตั้งคำถามต่อไปเรื่อย ๆ
แม้ความอยากรู้อยากเห็นบางเรื่อง จะถูกมองเป็นเรื่องไร้สาระและเสียเวลาสำหรับบางคน เช่น ข่าวดราม่าดารา แต่ถ้าเราตั้งคำถามแล้วขุดต่อไปอีกนิด ก็อาจจะเกิดเป็นความรู้ใหม่ ๆ ได้
เช่น ได้ความรู้เรื่องข้อกฎหมายการฟ้องร้องหมิ่นประมาท ได้ความรู้เรื่องประเด็นสังคมเกี่ยวกับ Body Shaming หรือ Beauty Standard เป็นต้น
🔴 #ใช้อินเทอร์เน็ตช่วย
อินเทอร์เน็ตอาจจะเป็นดาบสองคมสำหรับความอยากรู้อยากเห็นได้ เช่น ไถเฟซบุ๊คไปเรื่อย เพราะอยากรู้อยากเห็นข้อมูลใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา จนไม่ได้หยุดคิด และหาข้อมูลในเชิงลึก
ฉะนั้น ถ้าอยากอยากรู้อยากเห็นให้ได้ประโยชน์ เมื่อเจอเรื่องที่น่าสนใจ อย่าเพิ่งรีบปล่อยผ่าน ให้ลองศึกษา แล้วหาข้อมูลเพิ่มเติมอีกสักนิด ก็จะมีประโยชน์ขึ้นมากเลยครับ
========================
ℹ #TheColumnist - ขอบคุณสำหรับการกดไลค์ กดติดตาม และเป็นกำลังใจให้พวกเราในการแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร และแนวคิดใหม่ ๆ นะครับ
Image: Ketut Subiyanto/ Pexels
โฆษณา