2 เม.ย. 2021 เวลา 04:17 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
บางคนเกิดมาเพื่อนอน เพราะมียีนส์งีบอยู่ในตัว
🔴 ทำไมบางคนชอบงีบ
เราอาจจะคิดว่าความรู้สึกอยากงีบตอนกลางวัน เป็นผลมาจากการนอนดึกตื่นเช้า การทานข้าวกลางวันเยอะไป หรือการที่สมองล้าสะสมตั้งแต่เช้า
แม้เหตุผลเหล่านี้จะมีส่วนถูกอยู่บ้าง แต่สำหรับบางคน ต่อให้นอนพอ ทานอาหารกำลังดี ไม่เหนื่อยล้าสะสม ก็ยังอยากงีบอยู่ดี
🔴 ยีนส์งีบ
ทีมนักวิจัยจาก UK Biobank ซึ่งมีฐานข้อมูลพันธุกรรมของมนุษย์จำนวน 452,633 ชุด ได้ทำการศึกษาเรื่องนี้ โดยขอให้เจ้าของข้อมูลพันธุกรรมประเมินแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการชอบงีบ
จากนั้น ได้ติดตามกลุ่มตัวอย่างที่ชอบงีบ ด้วยการให้ใส่อุปกรณ์ตรวจวัดการทำกิจกรรมต่าง ๆ (อารมณ์ Apple Watch) เพื่อดูว่างีบระหว่างวันตามที่ประเมินจริง ๆ ไหม
เมื่อพบว่าจริง ทีมนักวิจัยได้นำจีโนมหรือข้อมูลรหัสพันธุกรรมของคนเหล่านั้นมากางศึกษาดูต่อ และพบว่ามียีนส์ที่เชื่อมโยงกับความรู้สึกอยากงีบอยู่ในชุดรหัสทางพันธุกรรมจริงกว่า 123 ส่วน
นั่นคือ สำหรับบางคนอาจจะอยากงีบเพราะพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น คืนก่อนหน้านอนไม่พอหรือนอนหลับไม่สนิท หรือเช้าวันนั้นตื่นเร็วเกินไป
แต่สำหรับบางคน ความอยากงีบเกิดจากกลไกตามธรรมชาติที่ถูกควบคุมโดยรหัสพันธุกรรมล้วน ๆ
🔴 เราศึกษายีนส์งีบไปทำไม?
การศึกษานี้จะทำให้เราเข้าใจในกลไกตามธรรมชาติมากขึ้น โดยเฉพาะในคนที่มียีนส์งีบ เพื่อปรับปรุงการนอนและการดูแลสุขภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของร่างกาย
เบื้องต้นผลการศึกษาพบว่า ยีนส์งีบอาจจะมีส่วนเชื่อมโยงกับโรคลมหลับ ที่ทำให้รู้สึกง่วงตลอดเวลา อยากนอนก็นอน หลับง่าย หลับในเวลาหรือสถานที่ที่ผิดปกติได้
นอนจากนี้ยังมีส่วนเชื่อมโยงกับสารสื่อประสาท Orexin ที่กระตุ้นความตื่นตัวและความหิว และในบางคน อาจจะเชื่อมโยงกับโรคความดันเลือดสูงและโรคหัวใจได้ด้วย
========================
ℹ #TheColumnist - ขอบคุณสำหรับการกดไลค์ กดติดตาม และเป็นกำลังใจให้พวกเราในการแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร และแนวคิดใหม่ ๆ นะครับ
Image: Marcus Aurelius/Pexels
โฆษณา