23 มี.ค. 2021 เวลา 13:03 • สุขภาพ
ไตและหน้าที่ไต
ไต เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายเป็นอย่างมาก มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว มีจำนวน 2 อัน อยู่ด้านหลังบริเวณบั้นเอวทั้งสองข้าง
4
(ขอบคุณ Cradit : by Pixabay)
หน้าที่ของไต
1. ช่วยขับของเสียต่างๆ ผ่านปัสสาวะ
2. ควบคุมปริมาณน้ำ เกลือแร่ และกรดด่างในร่างกาย
3. ผลิตฮอร์โมนอิริโทรพอยอิติน ที่ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง
4. ผลิตฮอร์โมนและวิตามินที่เสริมสร้างกระดูก
5. ควบคุมความดันโลหิต
2
สาเหตุของไตวาย
1. โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเอสแอลอี โรคเก๊าต์ นิ่วในไต ไตอักเสบ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
2. ผลข้างเคียงจากการใช้ยาและสารเคมีต่างๆ ได้แก่ ยาแก้ปวด โดยเฉพาะยาแก้ปวดกลุ่ม NASIDS ยาลดความอ้วน ยาสมุนไพร เป็นต้น
3. กรรมพันธุ์ หรือความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เช่น การมีไตเล็กตั้งแต่กำเนิด โรคถุงน้ำในไต การอุดตันของระบบทางเดินปัสสาวะ
(ขอบคุณ Cradit : by Pixabay)
การบำบัดทดแทนไต
เมื่อไตทำงานลดลงจนเข้าสู่ไตวายเรื้อรังระยะที่5 หรือที่เรียกว่าไตวายระยะสุดท้าย ร่างกายจะเกิดการคั่งของเสีย น้ำ เกลือแร่ และกรดด่าง เสียสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ซีด คัน บวมตามร่างกาย อึดอัด หอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้
ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่เรียกว่า การบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
1. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
2. การล้างไตทางช่องท้อง
3. การผ่าตัดปลูกถ่ายไต
1
1. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
คือ การนำเลือดออกจากร่างกายผ่านทางสายส่วนที่ใส่ไว้ หรือทางหลอดเลือดที่ได้นับการผ่าตัดที่เตรียมไว้ โดยผ่านตัวกรองเลือดแล้วนำกลับสู่ร่างกาย ใช้เวลา 4 ชั่วโมง เพื่อ
- ขจัดของเสีย
- ปรับสมดุลเกลือแร่และกรดด่าง
- ขจัดน้ำส่วนเกิน
2. การล้างไตทางช่องท้อง
คือ การใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้อง ทิ้งไว้ 4-6 ชั่วโมง เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนของเสียและขจัดน้ำส่วนเกินโดยซึมผ่านเยื่อบุช่องท้อง ทำวันละ 4-5 ครั้ง
3. การผ่าตัดปลูกถ่ายไต
คือ การผ่าตัดปลูกถ่ายไตใหม่ 1 ข้าง ได้จากผู้บริจาคเข้าไปในผู้ป่วยไตวาย
สำหรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
นอกจากผู้ป่วยต้องมาฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้งแล้ว ผู้ป่วยต้องมีการคุมอาหารและจำกัดน้ำดื่ม รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
2
- การจำกัดน้ำดื่ม จำกัดเกลือในอาหารโดยต้องปรุงอาหาร เค็มน้อย เพื่อป้องกันภาวะน้ำเกิน ความดันสูง ซึ่งจะทำให้เกิดน้ำท่วมปอด หัวใจวาย หลอดเลือดในสมองตีบ แตกได้
- จำกัดอาหารที่มี โปรแตสเซียมสูง โดยเฉพาะในน้ำผลไม้ ผักสด เพราะจะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ จนทำให้หัวใจหยุดเต้นได้
- จำกัดอาหารที่มี ฟอสฟอรัสสูง เนื่องจากจะเกิดปัญหากระดูกบางและหลอดเลือดแข็ง เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
1
(ขอบคุณ Cradit : by Pixabay)
อยากให้ทุกคนหันมาดูแลตัวเอง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้ง ลดหวาน ลดเค็ม ลดอาหารที่มีรสจัดมากจนเกินไป เราก็มีสุขภาพที่ดีได้น่ะค่ะ ฝากกดไลค์ กดติดตาม กันด้วยน่ะค่ะ ครั้งหน้าจะนำสาระประโยชน์ดีๆมาฝากอีกค่ะ ขอบคุณที่ติดตามน่ะค่ะ
โฆษณา