24 มี.ค. 2021 เวลา 22:40 • การตลาด
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียคืออะไร?
( ผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม )
จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ใช้บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัด
# ที่มาของข้อมูลทั้งหมดในเพจนี้ กดดูที่ลิ้งค์ในวงเล็บด้านล่างนี้ #
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียคืออะไร ?
หลายๆท่านคงจะสงสัยว่า " จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียคืออะไร ? " ได้ให้ความหมายของแต่ละคำมาแล้ว ทั้งคำว่า จุลินทรีย์ และ บำบัดน้ำเสีย คราวนี้ก็มาถึงความหมายของ " จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย " มันคืออะไร ? จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หรือจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์(ไม่มีโทษ)และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้ดี จึงจะได้ชื่อว่า เป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ส่วนจุลินทรีย์กลุ่มอื่นๆที่ไม่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย ก็ไม่ถือว่าเป็นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ซึ่งจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย)ก็มีหลากหลายสายพันธุ์ด้วยกัน แต่พอสรุปได้เป็น 2 กลุ่มหรือ 2 จำพวกก็คือ
1. จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ( Aerobic Bacteria ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็มีหลากหลายสายพันธุ์ เป็นกลุ่มที่ต้องใช้ออกซิเจนในการเจริญเติบโตและการดำรงชีพขยายเซลล์ รวมถึงการใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ขาดออกซิเจนไม่ได้ มีอยู่ในธรรมชาติ ดิน น้ำ และอากาศ รอบๆตัวของเรา เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถดึงมาใช้งานย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)ได้ง่าย ถ้าออกแบบระบบบำบัดและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะนิยมใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้เป็นหลัก แทบจะทุกๆระบบบำบัด ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( มากกว่า 90% ) ระบบนี้จะดึงเอากลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนในธรรมชาติมาใช้ในงานบำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสีย) โดยการเติมอากาศออกซิเจนลงไปในน้ำเสียที่จะทำการบำบัดให้เป้นน้ำดี การบำบัดน้ำเสียจะมีประสิทธิภาพมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับจุลินทรีย์ย่อยสลายเป็นหลัก ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียของจุลินทรีย์ย่อยสลายจะได้ผลลัพธ์เป็นไปตามสมการด้านล่างนี้ ของเสียที่เป็นสสารต่างๆในน้ำเสียจะแปรเปลี่ยนสถานะไปเป็น น้ำ พลังงาน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ภาพบนเป็นปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)ที่ใช้ออกซิเจน ( Aerobic Bacteria )
2. จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)กลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( Anaerobic Bacteria ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้เช่นเดียวกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน มีอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติ ดิน น้ำ และอากาศ จุลินทรีย์กลุ่มนี้อยู่ได้ทั้งในสภาวะมีอากาศออกซิเจนและในสภาวะไร้อากาศออกซิเจน มีหลากหลายสายพันธุ์ ดึงมาใช้งานค่อนข้างยาก ต้องสังเคราะห์ขึ้น ( เพาะเลี้ยงด้วยอุปกรณ์ ) จึงไม่ค่อยนิยมนำมาใช้มามากเหมือนกลุ่มที่ใช้ออกซิเจน แต่มีจุดเด่นตรงที่มีภูมิต้านทานต่อสภาวะแวดล้อมที่วิกฤตได้ดีกว่ากลุ่มแรก ไม่ว่าในน้ำเสียนั้นๆจะมีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจนเลย จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนกลุ่มนี้ก็สามารถอยู่ได้ตามปกติ ไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อการทำงานย่อยสลายของเสียและการดำรงชีพ
จะเห็นได้ว่าจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย)ทั้งสองกลุ่มที่กล่าวมา ( กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนกับกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน )มีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกัน แต่จุดที่เหมือนกันก็คือ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียหรือบำบัดน้ำเสียทั้งคู่ จึงได้ชื่อว่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
บำบัดน้ำเสียแบบมืออาชีพ ต้องจุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอมเจ้าแรกของประเทศไทย ใช้บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัด ได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสีย)และการบำบัดกลิ่น(ดับกลิ่น)ในบ่อบำบัดน้ำเสียในเวลาเดียวกันทันที จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่เป็นกำลังเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียมากยิ่งขึ้น
จุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสีย)ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย
จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม Kasama ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียต่างๆและการบำบัดกลิ่น(กำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่น) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายในน้ำเสีย ( Anaerobic Bacteria ) ไม่ว่าในน้ำเสียนั้นๆจะมีหรือไม่มีออกซิเจนก็ตาม จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียได้ตามปกติ ซึ่งจะแตกต่างไปจากกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ( Aerobic Bacteria ) ซึ่งจะขาดออกซิเจนไม่ได้โดยเด็ดขาด เหตุผลที่ต้องเติมอากาศลงในบ่อบำบัดน้ำเสียก็เพื่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายเซลล์ของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนนี่เอง จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถทำงานย่อยสลายของเสียได้ทั้งในสภาวะไร้ออกซิเจนและมีออกซิเจน และยังสามารถทำงานแบบร่วมกัน ( ย่อยสลายของเสีย ) กับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้ดี และมีคุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่ง นั่นก็คือ การบำบัดกลิ่น(กำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่น)ไม่พึงประสงค์ต่างๆ โดยเฉพาะกลิ่นที่เกิดจากสารอินทรีย์ทั้งหลาย ( ทั้งพืชและสัตว์ ) ซึ่งคุณสมบัติข้อนี้จะไม่มีในกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์หอมคาซาม่าช่วยทั้งเพิ่มและเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้มากขึ้นและเร็วขึ้น ส่งผลให้การย่อยสลายของเสียในน้ำเสียมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย สามารถใช้กับระบบบำบัดได้ทุกๆระบบในประเทศไทย เสริมจุดด้อยและเพิ่มจุดแข็งของระบบบำบัดแบบเติมอากาศที่มีปัญหาปริมาณจุลินรีย์ย่อยสลายมีน้อย หรือการเติมอากาศได้ไม่ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด เครื่องเติมอากาศเสียหรือไม่มีเครื่องเติมอากาศเลย ด้วยการใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าย่อยสลายของเสียทดแทนกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน
การบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย
การบำบัดน้ำเสียมีหลายวิธีการด้วยกัน ทั้งวิธีทางกายภาพ เช่น การตกตะกอน การกรอง การนำไปกำจัดทิ้ง ส่วนการบำบัดน้ำเสียทางเคมีด้วยการใช้สารเคมีบางชนิดมาบำบัด ซึ่งส่วนใหญ่น้ำเสียที่ใช้วิธีการบำบัดทางเคมีนั้นจะปนเปื้อนสารเคมี หรือการตกตะกอนด้วยสารเคมีบางชนิดก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบำบัดน้ำเสีย ส่วนการบำบัดอีกวิธีหนึ่งก็คือ การบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ คือการใช้จุลินทรีย์(ที่มีประโยชน์ในธรรมชาติ)ย่อยสลายของเสียให้มีโมเลกุลเล็กลงเรื่อยๆจนกระทั่งแปรเปลี่ยนสถานะของสสาร(ของเสียในน้ำเสีย)กลายไปเป็น น้ำ + พลังงาน + ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้ายในการแปรเปลี่ยนสถานะของสสารที่เป้นของเสีย ไม่ว่าการบำบัดน้ำเสียจะด้วยกรรมวิธีใดๆก็ตาม แต่ขั้นตอนสุดท้ายของการบำบัดน้ำเสีย ต้องพึ่งพาและอาศัยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเท่านั้น ของเสียและน้ำเสียไม่ล้นโลกก็มาจากผลงานของจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์รักษ์โลก(รักษาโลก) มีทั้งชนิดที่ใช้ออกซิเจนและชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาและการดำรงชีพขยายเซลล์ ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศที่เหมาะสม
สำหรับการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะนิยมใช้งานกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก เพราะสามารถดึงมาจากธรรมชาติใช้งานได้ง่าย ถ้าออกแบบระบบสิ่งแวดล้อมให้มันได้อยู่อาศัยดีพอ แต่ค่อนข้างควบคุมได้ยาก มีความอ่อนไหวง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะสิ่งแวดล้อมในระบบบำบัด ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่( มากกว่า 90% )ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันจะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( Activated Sludge : AS ) ระบบนี้จะเติมอากาศออกซิเจนลงไปในน้ำเสีย( ในบ่อเติมอากาศ ) เพื่อให้น้ำเสียมีปริมาณออกซิเจนมากเพียงพอที่จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนนำไปใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียและการดำรงชีพขยายเซลล์ต่อไป ถ้าในน้ำเสียไม่มีออกซิเจนเลย จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็อยู่ไม่ได้( ตายยกบ่อบำบัด ) ดังนั้น จึงต้องมีการบำรุงและรักษามันไว้เป็นอย่างดีเพื่อให้อยู่ในระบบบำบัด( บ่อบำบัด ) ให้มากที่สุด เพื่อจะได้ทำการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ) ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป การมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัด( บ่อบำบัด ) ถ้ามีปริมาณน้อยก็มีปัญหา ถ้าไม่มีเลย ( จุลินทรีย์ย่อยสลายตายยกบ่อบำบัด ) ยิ่งมีปัญหามากเข้าขั้นวิกฤตน้ำเสียต้องรีบแก้ไขโดยด่วน
ความหมายของการบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพ
การบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ หมายถึงการบำบัดน้ำเสียที่ได้มาตรฐานน้ำทิ้ง ( น้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกๆค่า ) หรือการบำบัดน้ำเสียที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทางราชการกำหนด กรณีที่ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งบางค่าไม่ผ่านเกณฑ์ แต่มีบางค่าผ่านเกณฑ์ก็ไม่ถือว่า การบำบัดน้ำเสียนั้นๆมีประสิทธิภาพ ถือว่ายังไม่มีประสิทธิภาพของการบำบัดน้ำเสีย ต้องนำไปแก้ไขและปรับปรุงใหม่จนกว่าจะมีประสิทธิภาพ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งทุกๆค่าผ่านเกณฑ์กำหนด จึงจะถือว่า การบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพดี
บทบาทของจุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการบำบัดน้ำเสีย
จุลินทรีย์หอมคาซาม่า : จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลากหลายสายพันธุ์จากธรรมชาติ นำมาสังเคราะห์รวมไว้ในที่เดียวกัน มีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียได้ดี รวมถึงการบำบัดน้ำเสีย ( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ทั้งการย่อยสลายของเสียและการดำรงชีพ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติที่เด่นๆอีกคุณสมบัติหนึ่งคือ การบำบัดกลิ่น(ดับกลิ่น)ได้ดี แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงการนำจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปใช้ในงานบำบัดน้ำเสีย การทำหน้าที่บำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย ) จะเหมือนกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ปฏิกิริยาเกิดขึ้นเหมือนกันและได้ผลลัพธ์เช่นเดียวกัน( ตามสมการจำลองด้านล่าง ) จะแตกต่างกันตรงที่กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะไม่ใช้ออกซิเจนในน้ำเสียในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและการดำรงชีพ ถึงแม้ในน้ำเสียจะมีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจนเลยก็ตาม จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำงานย่อยสลายได้ตามปกติ อีกทั้งยังสามารถทนแรงต้านทานสิ่งแวดล้อมที่วิกฤตได้ดี เช่น ในน้ำเสียไม่มีออกซิเจนละลายอยู่เลย และกรณีที่ค่า pH ในน้ำเสียมีค่าต่ำมากหรือสูงมากในบางครั้ง จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทนกับสภาวะแวดล้อมเช่นนี้ได้ ในขณะที่กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนไม่สามารถทนแรงต้านทานที่วิกฤตเหล่านี้ได้ ( ตายยกบ่อบำบัด ) นี่คือความแตกต่างของจุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน
สมการจำลองปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสีย ด้านบนเป็นปฏิกิริยาของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ส่วนด้านล่างเป็นปฏิกิริยาของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ซึ่งผลลัพธ์จะเป็นไปตามสมการ
จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถนำไปใช้บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัดและน้ำเสียที่มาจากทุกๆแหล่ง มีวงจรชีวิตเหมือนกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทั่วๆไป จุดเด่นคือ สามารถสังเคราะห์ขึ้นมากหรือน้อยตามความต้องการได้ และเราสามารถเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายมากหรือน้อยเข้าไปในระบบบำบัดได้ทันที ไม่ต้องรอเวลาเหมือนกรณีการเพิ่มปริมาณของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ซึ่งระบบต้องใช้เวลารันระบบเป็นสัปดาห์จึงจะเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ได้ตามที่ต้องการ ไม่ว่าระบบบำบัดจะมีปัญหาหรือไม่มีปัญหา ทั้งปัญหาทางด้านเทคนิคและสิ่งแวดล้อม จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียได้ตามปกติ ไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัด ซึ่งเป็นจุดที่แตกต่างจากกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนที่มีจุดอ่อนค่อนข้างมาก ระบบมีปัญหาจุดใดจุดหนึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนทันที จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจึงเป็นตัวเติมเต็มและแก้ปัญหาให้กับการบำบัดน้ำเสีย ทดแทนจุลินทรีย์ย่ยสลายในระบบมีน้อยหรือกรณีที่จุลินทรีย์ย่อยสลายตายเกลี้ยงบ่อบำบัด สามารถนำไปทดแทนการบำบัดน้ำเสียได้ทันที
ระบบบำบัดน้ำเสียโดยทั่วๆไปมีทั้งหมด 6 ระบบ แต่ระบบบำบัดที่นิยมนำมาใช้มากที่สุดก็คือ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( Activated Sludge : AS ) ดังนั้น ต่อไปนี้จะกล่าวถึงระบบบำบัดน้ำเสียชนิดนี้เป็นหลัก ระบบบำบัดแบบเติมอากาศนี้จะมีจุดที่สำคัญอยู่ 3 จุดด้วยกัน คือ มีบ่อรับน้ำเสีย( บ่อแรก ) บ่อเติมอากาศ และ บ่อตกตะกอน ( บ่อน้ำทิ้ง ) ส่วนจะมีการเสริมหรือเพิ่มจำนวนบ่อขึ้นมาอีกในจุดใดจุดหนึ่งก็สามารถทำได้ จุดเด่นๆของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศนี้จะอยู่ที่บ่อเติมอากาศ เหตุเพราะบ่อเติมอากาศจะเกิดปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ) มากที่สุดในกระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ บ่อเติมอากาศหรือบ่อปฏิกิริยาเป็นบ่อที่มีกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักอาศัยอยู่มากที่สุด( เพราะมีการเติมออกซิเจนตลอดเวลา ) จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลัก คือ มีอาหารเพียงพอ และมีออกซิเจนมากเพียงพอต่อการดำรงชีพและดึงไปใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสองสิ่งนี้ก็ไม่ได้อย่างเด็ดขาด ดังนั้น ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศนี้จึงต้องออกแบบระบบและสิ่งแวดล้อมต่างๆให้เหมาะสม สร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนอยู่ได้ ออกซิเจนและอาหารต้องเพียงพอ เมื่อใดที่ระบบมีปัญหาขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนนี้ทันที ปริมาณอาจลดลงหรือตายยกบ่อบำบัดได้ทุกเมื่อ ซึ่งจะส่งผลต่อค่ามาตรฐานน้ำทิ้งแต่ละค่าโดยตรง ( ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ )
บทบาทของจุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับระบบบำบัดน้ำเสีย
สำหรับบทบาทของจุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับระบบบำบัดน้ำเสียนั้นจะช่วยทั้งการเพิ่มและการเสริมประสิทธิภาพให้กับระบบบำบัดได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาดังต่อไปนี้ .-
1. ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดหรือในบ่อบำบัดมีน้อย( จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัดมีน้อย ) อันเนื่องมาจากปัญหาเหล่านี้
1.1 เครื่องเติมอากาศเสียรอซ่อม จะทำให้ในบ่อบำบัดปริมาณออกซิเจนจะลดลงเรื่อยๆ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน จะทำให้น้ำเน่าเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้น ซึ่งกว่าจะรันระบบเริ่มใหม่หรือบูทระบบใหม่ต้องใช้เวลานาน ในขณะที่ของเสียและน้ำเสียเพิ่มขึ้นตลอดเวลา จนกลายไปเป็นวิกฤตน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นทั่วบ่อบำบัด
1.2 เครื่องเติมอากาศมีกำลังแรงม้าต่ำหรือกำลังวัตต์ต่ำ ซึ่งจะกระจายออกซิเจนได้น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน เครื่องเติมอากาศต้องมีกำลังสมดุลกับปริมาณของน้ำเสีย ( ต้องเผื่อ Overload ประมาณ 10% ) ไม่ควรหยุดเดินเครื่องเติมอากาศเป็นเวลานานๆ เพราะจะส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนลดลงได้
1.3 อาหาร( ของเสีย )ไม่เพียงพอ ทำให้ปริมาณจุลินทรีย์ย่อสลายลดลงได้
1.4 ออกแบบระบบและสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม ไม่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตและขยายเซลล์( ขยายตัว )ของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน
2. สิ่งแวดล้อมในน้ำเสีย ( ในบ่อบำบัด ) มีปัญหา เช่น ค่าออกซิเจนละลายในน้ำเสียต่ำ ( ค่า DO ต่ำ ) โดยทั่วไปค่า DO ไม่ควรต่ำกว่า 2 mg/l หรือกรณีน้ำเสียมีค่า pH ต่ำมาก หรือสูงมาก จะส่งผลกระทบต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนโดยตรง อาจตายเกลี้ยงบ่อบำบัดได้ตลอดเวลา ดังนั้น จึงต้องมีการเช็คค่าเหล่านี้อยู่เป็นประจำ ( ค่า DO , pH ) ถ้าเกิดปัญหาขึ้นต้องรีบแก้ไขทันทีให้ทันเวลาก่อนจุลินทรีย์ย่อยสลายจะตายยกบ่อบำบัด
3. ระบบเกิดการโอเวอร์โหลด ( Overload ) คือ น้ำเสียเข้าระบบมากเกินไปในบางครั้ง ในขณะที่ปริมาณจุลินทรีย์ไม่ได้เพิ่มปริมาณตามน้ำเสียและของเสียที่เกิดขึ้นจริง ทำให้ส่งผลต่อค่ามาตรฐานน้ำทิ้งได้ ( ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่าน )
4. จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนตายยกบ่อบำบัด ซึ่งสังเกตได้จากกลิ่นเน่าเหม็นที่รุนแรง สิ่งที่จะทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนนี้ตายยกบ่อได้มีหลายปัจจัย เช่น มีสารเคมีที่เป็นอันตรายหลุดเข้าไปในบ่อบำบัด หรือในน้ำเสียไม่มีออกซิเจนละลายอยู่เลยเป็นต้น
จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะมาตอบโจทย์และแก้ปัญหาให้ในจุดนี้ ( ปัญหา 1 - 4 ) ไม่ว่าค่า DO ในน้ำเสียจะมีมากหรือมีน้อยหรือไม่มีเลย ค่า pH จะต่ำมากหรือสูงมากก็ไม่มีผลกระทบใดๆต่อการดำรงชีพและการทำงานย่อยสลายของเสีย( บำบัดน้ำเสีย ) ของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ดังนั้น จึงเป็นกำลังเสริมและกำลังสนับสนุนการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบได้เป็นอย่างดีในยามวิกฤตเกิดปัญหาขึ้นตามข้อ 1 - 4 สามารถทดแทนและแก้ไขปัญหาได้ทันที ไม่ต้องรอเวลา RUN และ REBOOT ระบบบำบัดใหม่เป็นสัปดาห์ให้เสียเวลา เพราะน้ำเสียเกิดขึ้นตลอดเวลาต้องแก้ไขปัญหาทันที ถึงแม้ว่าระบบบำบัดเดิมไม่มีปัญหาใดๆ แต่ต้องการเริ่งปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสีย ) ให้เร็วขึ้น ให้การย่อยสลายเกิดได้มากขึ้นกว่าปกติก็สามารถใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปเริงปฏิกิริยาได้ทันที ซึ่งส่งผลดีต่อประสิทธิภาพของระบบบำบัดและการบำบัดน้ำเสียโดยตรง
จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเพิ่มประสิทธิภาพและเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียในจุดใด ?
เนื่องจากจุลินทรีย์หอมคาซาม่ามีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียเหมือนกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ระบบบำบัดทุกๆระบบออกแบบมาเพื่อต้องการดึงกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายเข้าระบบให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียในบ่อบำบัดที่สร้างขึ้นมา ระบบบำบัดในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นระบบบำบัดแบบเติมอากาศ AS ( มากกว่า 90% ) ระบบบำบัดแบบเติมอากาศจะดึงเอาจุลินทรีย์ย่อยสลายในธรรมชาติมาใช้งานย่อยสลายของเสียต่างๆ แต่ไม่สามารถกำหนดหรือควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายให้มีมากเพียงพอกับปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจริง จึงส่งผลให้ของเสียต่างๆบางส่วนในน้ำเสียนั้นๆถูกย่อยสลายได้ไม่หมด ยังคงมีของเสียส่วนหนึ่งตกค้างในระบบบำบัดและผ่านไปยังบ่อพักน้ำทิ้งเพื่อเตรียมปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์อยู่บ่อยๆและเป็นประจำ จะด้วยข้อจำกัดของระบบบำบัดหรือปัญหาอื่นๆที่ทำให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะมาเพิ่มประสิทธิภาพกำลังการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ( ช่วยเพิ่มการย่อยสลายของเสีย ) ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียให้เพิ่มขึ้นหรือมากขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง เป็นการบำบัดด้วยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนกับจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) ถือว่าเป็นการบำบัดซ้ำหรือการย่อยสลายซ้ำ ( Double Treatment ) ส่งผลให้ของเสียต่างๆในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้มากขึ้น เป็นปฏิกิริยาการบำบัด 2 ชั้น หรือ 2 ขั้นตอนตามภาพจำลองด้านล่าง ซึ่งจะส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์มากหรือน้อยได้ตามความต้องการของผู้ใช้ กรณีที่ของเสียหรือน้ำเสียมีปริมาณมากก็สามารถเติมมากได้ตามความต้องการ เพื่อให้สมดุลกับปริมาณน้ำเสียและของเสียที่เกิดขึ้นจริง การบำบัดก็จะสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ภาพบนเป็นภาพจำลองกระบวนการย่อยสลายของเสียด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลาย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ( บ่อที่ 2 ) และ กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจนบ่อที่ 1 ) จะเห็นได้ว่าปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียจะเกิดขึ้น 2 ครั้งหรือ 2 จุด ซึ่งระบบบำบัดแบบเติมอากาศทั่วๆไป ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในบ่อเติมอากาศเพียงบ่อเดียวเท่านั้น ( นอกจากมีการเสริมบ่อเติมอากาศเพิ่มขึ้น ) ภาพบนการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียในน้ำเสียจะเกิดขึ้นตั้งแต่บ่อแรก ( เติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าลงในบ่อแรก ) ก่อนที่จะส่งไปย่อยสลายต่ออีกครั้งในบ่อที่ 2 ( บ่อเติมอากาศ ) ซึ่งมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักรอย่อยสลายของเสียที่เหลือในน้ำเสียที่ส่งมาจากบ่อแรก ส่งผลให้เกิดการย่อยสลายของเสียซ้ำ ( Double Treatment ) ทำให้ประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียทำได้ดีมากขึ้น ของเสียที่เป็นกากตะกอนส่วนเกินในบ่อสุดท้ายเหลือน้อย ( Excess Sludge ) นำไปกำจัดทิ้งหรืออาจนำกลับไปบำบัดซ้ำอีกครั้งหรือหลายๆครั้งได้ ซึ่งที่สุดของการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายจะได้ผลลัพธ์เป็นไปตามสมการจำลองด้านล่าง
การบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ 2 กลุ่ม
จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม , จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียที่มีกลิ่นหอม จุลินทรีย์บำบัดกลิ่นดับกลิ่นที่มีกลิ่นหอม ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) ตอบโจทย์การบำบัดน้ำเสีย & การบำบัดกลิ่นดับกลิ่นกำจัดกลิ่นน้ำเน่าเหม็นในน้ำเสียในเวลาเดียวกันทันที เพิ่มและเสริมประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย) เสริมประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาได้ทันที โปรดระวังของลอกเลียนแบบของเรา เราไม่ได้อนุญาตให้ใครลอกเลียนแบบทั้งเนื้อหาสาระของเว็บไซต์ ซึ่งผิดกฎหมายลิขสิทธิ์มีโทษทั้งทางอาญาและแพ่ง
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา
ราคาจำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย แกลลอนละ 1,200 บาท
ขนาดบรรจุ แกลลอน 20 ลิตร
จัดส่งทั่วประเทศฟรีๆ
ที่นี่เราให้คำแนะนำทั้งในเรื่องการบำบัดและปัญหาทางเทคนิคของระบบบำบัด เช่น ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่าน ระบบบำบัดล่มบ่อยๆ ซึ่งเราเชี่ยวชาญในการบำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย การแก้ปัญหาระบบบำบัด ฯลฯ
โฆษณา