28 มี.ค. 2021 เวลา 09:20 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
🔎 [ANALYSIS] - DeFi คืออะไร ? ทำไม Elon Musk ถึงบอกว่าพวกเราทุกคนไม่ควรมองข้ามนวัตกรรมทางการเงินรูปแบบใหม่นี้ ?
หลายคนคงคุุ้นชินกับคำว่า #DeFi หรือ Decentralized Finance กันอยู่แล้ว เพราะกำลังเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงกันบ่อยมากในตอนนี้
จุดประสงค์หลักๆของ Defi นั้นคือการพยายาม #ตัดตัวกลางในระบบการเงิน อย่าง ธนาคาร ผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินเดิม หรือ หน่วยงานกำกับดูแลจากภาครัฐ ออกไปจากระบบ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อความคล่องตัวหรือการลดต้นทุนทางการเงินก็ตาม
Platform ของ DeFi ส่วนใหญจะถูกสร้างขึ้นบน Cryptocurrency ที่เรียกว่า #Ethereum เนื่องจาก Ethereum ใช้ภาษาโปรแกรมที่เอื้อต่อการสร้าง Smart Contract (สัญญาอัจฉริยะ) ที่จะทำให้ระบบสามารถดำเนินธุรกรรมทางการเงินการได้ด้วยตัวเอง เมื่อเงื่อนไขถูกต้องครบตามโปรแกรมที่ร่างไว้ อีกทั้ง Ethereum ยังเป็นเครือข่าย Blockchain ที่ใหญ่ที่สุดรองลงมาจาก Bitcoin อีกด้วย จึงมีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก
📌 Elon Musk ได้ทวีตออกมาว่า "Don’t defy DeFi"
คำแปลของทวีต Elon Musk โดยตรงนั้นแปลว่า "อย่าต่อต้านหรือมองข้าม DeFi"
1
ถึงแม้จะแปลคำพูดได้ตรงตัวเช่นนั้น แต่เราไม่รู้เลยว่าจริงๆแล้ว Elon Musk เพียงแค่พยายามเล่นคำหรือพยายามแค่ทวีตก่อกวนเฉยๆ หรือไม่ ? 🤔
เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าทาง Elon นั้นชอบทวีตถึงเหรียญ Dogecoin อยู่ตลอดเวลาก่อนหน้านี้ และสุดท้ายเจ้าตัวก็ออกมายอมรับว่าข้อความทวีตต่างๆนั้น เป็นเพียงแค่การล้อเลียนและไม่ได้มีความหมายอะไรจริงจัง
#อย่างไรก็ตาม การที่บริษัท Tesla ของ Elon Musk นั้นได้ซื้อ Bitcoin เก็บเป็นสินทรัพย์ของบริษัทมูลค่ากว่า 1.5 พันล้านเหรียญ อีกทั้ง Tesla ยังรีบเปิดระบบรับจ่ายเงินที่ทำให้ลูกค้าทุกคนสามารถซื้อรถ Tesla ด้วย Bitcoin ได้อีกด้วยโดยทันที ก็อาจจะเป็นหลักฐานว่า Elon ก็มีความเชื่อมั่นต่ออนาคตของเทคโนโลยี Blockchain นี้อยู่ไม่น้อยเหมือนกัน
ทำให้คงไม่เสียหายถ้าพวกเราจะพยายามมาทำความรู้จักกับระบบ DeFi กันตั้งแต่เนิ่นๆ
1
วันนี้เพื่อเป็นการอธิบายให้ทุกท่านทราบว่าระบบ DeFi นั้นคืออะไร ทางเพจได้ขอหยิบบทความจาก BangkokBizNews มาแชร์ให้กับทุกท่านกันครับ
1️⃣ Defi คืออะไร?
1
Defi คือ การสร้างระบบการเงินรูปแบบใหม่ที่ให้ทุกคนสามารถติดต่อทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างกันได้โดยตรง ผ่านการทำงานของเทคโนโลยี เช่น
1) ใช้ Cryptography ในการสร้างชุดข้อมูลแบบเข้ารหัสเพื่อให้เกิดส่งข้อมูลระหว่างกันในระบบ
1
2) ใช้บล็อกเชนซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการพื้นฐานในการทำงาน
3) ใช้ Smart Contracts เพื่อสร้างเงื่อนไขและข้อตกลงในการทำธุรกรรม ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดความสัมพันธ์ทางเงินบน Defi
ดังนั้น ในทางปฏิบัติ Defi จึงเป็นระบบเปิดที่ซับซ้อนและถูกสร้างไว้บนบล็อกเชนแบบสาธารณะ มีคุณสมบัติในการอนุญาตให้บุคคลต่างๆ สามารถบันทึกธุรกรรมทางการเงินที่ทำระหว่างกันได้ โดยไม่ต้องทำ KYC ปราศจากการกำกับดูแลจากภาครัฐ และมีต้นทุนในการดำเนินการที่ถูกกว่าหากเปรียบเทียบกับการทำธุรกรรมกับผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินในแบบเดิม
1
2️⃣ การทำงานของ Defi เป็นเช่นไร ?
1
ดังนั้น เมื่อใช้เทคโนโลยีสร้างโปรแกรมทางการเงินตามที่ได้กล่าวในข้างต้น ก็ต้องมีการสร้างระบบนิเวศทางการเงินให้สามารถทำธุรกรรมระหว่างกันได้ ในทางปฏิบัติ Defi จึงมักใช้กลไกการสร้าง Stable Coin ซึ่งเปรียบเสมือนตัวกลางที่รักษามูลค่าของสินทรัพย์บนแพลตฟอร์ม
1
การออก Stable Coin สามารถทำได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะนำไปผูกไว้กับมูลค่าของสกุลเงินจริง (เช่น ดอลลาร์) หรือผูกมูลค่ากับคริปโตสกุลต่างๆ หรืออาจกล่าวได้ว่า Stable coin คือเหรียญที่เก็บมูลค่าและมีกลไกเชื่อมโยงกับสินทรัพย์ที่ใช้หนุนหลังหรือค้ำประกัน ดังนั้น เมื่อมี “มูลค่า” ก็สามารถนำมาใช้เป็น “สื่อกลางในการทำธุรกรรมทางการเงินได้หลากหลาย” ไม่ต่างไปจากสินทรัพย์ทางการเงินที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น MakerDAO โปรเจคที่มีการออกเหรียญ Stable Coin ชื่อ DAI โดยนำมูลค่าของคริปโตสกุลต่างๆ มาค้ำประกันไว้ DAI จึงมีมูลค่าและถูกคงมูลค่าตามสินทรัพย์ที่ค้ำประกัน
3
ด้วยเหตุผลนี้ Defi แพลตฟอร์มจึงเป็น “ระบบการเงินรูปแบบใหม่” ที่ “ไม่พึ่งตัวกลาง” และสามารถทำธุรกรรมทางได้หลายรูปแบบ เช่น โอนชำระราคา ซื้อขายเงินตรา แลกเปลี่ยน ชำระราคา ให้สินเชื่อ ซื้อขายอนุพันธ์/ตราสารทางการเงิน การเทรดมาร์จิน รวมไปถึงขายประกัน
3️⃣ Defi เมื่อเทียบกับธนาคาร เป็นอย่างไร ?
สำหรับผู้เขียน Defi กับธนาคารมีขอบเขตในการดำเนินงานที่ต่างกัน กล่าวคือขณะที่ Defi สามารถทำธุรกรรมได้ครอบคลุมทั้งธุรกิจธนาคาร ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจประกันภัย แต่ขอบเขตการประกอบธุรกิจของธนาคารไม่เป็นเช่นนั้น
เช่น ภายใต้กฎหมายไทย แม้ธนาคารพาณิชย์จะสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้หลากหลายแต่ก็ไม่สามารถประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ได้ในทุกประเภท หรือหากประสงค์จะทำธุรกิจประกันภัยก็จะไม่สามารถออกกรมธรรม์ประกันวินาศภัยและประกันชีวิต (ทำได้เพียงเป็นโบรกเกอร์) ดังนั้น โครงสร้างธุรกิจการเงินในไทยจึงมีการสร้างบริษัทในเครือ เพื่อทำธุรกิจที่ธนาคารพาณิชย์ถูกจำกัดไว้
หากเทียบกับ Defi ที่ทุกอย่างถูกสร้างไว้ด้วยโปรแกรมทางการเงินแบบไร้ตัวกลาง และระบบสามารถทำงานได้เองโดยเชื่อมต่อบุคคลต่างๆ เข้าด้วยกัน ก็ถือว่าได้เปรียบอยู่มากในเชิงโครงสร้าง ประกอบกับเมื่อระบบจัดการตัวเองได้แบบไร้ตัวกลาง บทบาทหน้าที่ของธนาคารกลาง เช่น การดำเนินการเกี่ยวกับการหักบัญชีระหว่างสถาบันการเงิน การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน (ตามกฎหมายว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงิน) หรือการกำกับตรวจสอบความเสี่ยงของสถาบันการเงิน ก็ไม่มีความจำเป็นเช่นกัน
4️⃣ Defi กับข้อสังเกตทางกฎหมาย
อย่างไรก็ดี แม้ Defi อาจได้เปรียบในเชิงโครงสร้าง แต่ในทางกฎหมายก็มีข้อสังเกตอันพึ่งพิจารณาก่อนเข้าใช้บริการอยู่ในหลายประเด็น
ประการแรก เมื่อตัดตัวกลางก็แปลว่าตัดหน่วยงานกำกับดูแลออก ดังนั้น การดำเนินการของ Defi จะไร้การกำกับ ตรวจสอบ วิเคราะห์ฐานะ และประเมินความเสี่ยงในการดำเนินงานจากภาครัฐ อย่างไรก็ดี หากมีความเสียหายเกิดขึ้นจากการให้บริการที่ไม่เป็นธรรม ก็เป็นไปได้ว่ากระบวนการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคอาจจะน้อยกว่าหรือไม่มีเมื่อเทียบกับระบบการเงินที่มีการกำกับในปัจจุบัน
1
เช่น หากแพลตฟอร์มเกิด Bugs และมีการเปลี่ยนแปลง Protocols หรือมีเหตุในการปิดให้บริการแบบกะทันหันและ Admin Key มีการโอนทรัพย์สินของลูกค้าออกไป ผู้ใช้บริการอาจไม่ได้รับความคุ้มครองจากความเสียหายนั้น หากเปรียบเทียบกับผู้ฝากเงินในระบบ ยังมีสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (DPA) ในการคุ้มครองเงินฝาก ซึ่งจะมีการจ่ายคืนเงินให้แก่ผู้ฝากเมื่อสถาบันการเงินปิดกิจการ นอกจากนี้สิทธิของผู้บริโภคยังได้รับคุ้มครองผ่านหน่วยงานกำกับและกระบวนการยุติธรรมอีกชั้นหนึ่งด้วย
1
ประเด็นที่สอง สืบเนื่องจากกรณีสมมติในข้างต้น ข้อสังเกตของผู้เขียนคือ ฟ้องใคร? ต่อศาลใด? และใช้กฎหมายของประเทศใด? กล่าวคือเมื่อระบบไม่ได้ทำ KYC ไว้ ก็เป็นไปได้ว่าเราอาจไม่ทราบด้วยซ้ำว่ากำลังทำธุรกรรมอยู่กับบุคคลใด และหาก Defi เป็นแพลตฟอร์มที่อยู่ในต่างประเทศ เท่ากับว่ากรณีนี้อาจเป็นสัญญาทางการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งในทางปฏิบัติการจัดทำสัญญาในลักษณะนี้จะมีการระบุกฎหมายที่การเลือกใช้ และศาลที่จะใช้พิจารณาคดีไว้
1
ประเด็นที่สาม หากเป็นกรณีที่ศาลในประเทศใดประเทศหนึ่งรับฟ้อง ปัญหาที่จะตามมาสำหรับการใช้ Blockchain และ Smart Contract คือ ความชัดเจนของการตีความในเรื่องการเกิดของสัญญา ซึ่งรวมไปถึงสถานที่เกิดของสัญญาด้วย ในประเด็นเหล่านี้ผู้เขียนเชื่อว่าในหลายประเทศรวมถึงไทย ยังคงเป็นประเด็นที่ค่อนข้างท้าทายสำหรับการตีความของศาล
2
ท้ายที่สุด ผู้เขียนมองว่านี่คือการให้บริการทางการเงินที่ตั้งใจให้ปราศจากการกำกับและอยู่นอกกรอบกฎหมายเดิม ดังนั้น ความรู้ทางการเงิน ความเข้าใจสิทธิของตนบนแฟลตฟอร์ม และความสามารถในการวางแผนทางการเงินเพื่อสร้างวินัยทางการเงินที่ดีคือคีย์ในการลงทุนแบบ Defi…Know your risk appetite!
(บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนจากกรุงเทพธุรกิจ - ลิ้งค์ของบทความแนบในคอมเม้นท์)
👍 ฝากกด #Like และ #Share ให้แอดด้วยถ้าข้อมูลนี้มีประโยชน์กับทุกท่านนะครับ 🙏😊
#ทันโลกกับTraderKP
ที่มา - bangkokbiznews.com
โฆษณา