29 มี.ค. 2021 เวลา 12:03 • ข่าว
ทำไมกองทัพรัฐประหารเมียนมาถึงโหดเหี้ยม?
มองผ่านประวัติศาสตร์การปกครองในอดีต สู่ยุคปัจจุบัน
ช่วงนี้อาจมีบทความที่ให้น้ำหนักความสนใจไปที่เรื่องสถานการณ์ในประเทศเมียนมา เนื่องจากกว่าเป็นสถานการณ์ที่สำคัญที่ทั่วโลกจับตา และจะมีผลกระทบต่อประเทศเพื่อนบ้านของเมียนมาโดยตรง ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย เพราะนับตั้งแต่วันที่กองทัพเมียนมาซึ่งนำโดย "นายพลอาวุโส มิน อ่อง หล่าย" ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้นำรัฐประหาร เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของ "นางอองซาน ซูจี" ที่ปรึกษาแห่งรัฐของเมียนมา เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาและเกิดเหตุการณ์ปะทะ เกิดเหตุนองเลือดกลางเมืองหลายแห่งทั่วประเทศ จนมีประชาชนเสียชีวิตจากที่นับจำนวนได้คือมากกว่า 400 คนแล้ว และไม่มีทีท่าว่าสถานการณ์จะทุเลาเบาบาง แต่กลับรุนแรงขึ้นทุกวัน
ล่าสุดมีรายงานว่าทหารเมียนมาได้บุกเข้าไปในโรงพยาบาล โดบสำนักข่าว Myanmar Now ได้รายงานว่ากลุ่มทหารได้บุกเข้าไปที่โรงพยาบาล "Asia Royal" ใจกลางนครย่างกุ้งเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมามีผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่งได้วิ่งหนีเข้าไปในโรงพยาบาลเพื่อขอความช่วยเหลือ นอกจากนี้สื่อออนไลน์ในเมียนมาหลายสำนักรายงานว่า นางสาว "Thinzar Hein" พยาบาลวัย 20 ปี ที่ทำหน้าที่พยาบาลอาสาช่วยเหลือผู้ชุมนุมถูกยิงเข้าที่ศีรษะเสียชีวิต ขณะที่เธอกำลังช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บในที่ชุมนุม
7
สิ่งที่สังคมโลกเห็นก็คือความรุนแรงของสถานการณ์ในเมียนมาที่ตั้งคำถามว่า ทำไมกองทัพรัฐประหารเมียนมาถึงได้โหดร้าย ป่าเถื่อน เข่นฆ่าประชาชนถึงในโรงพยาบาล ในบ้านของประชาชน ฆ่าแม้กระทั่งเด็กเล็ก ถึงขณะมีรายงานข่าวว่า ทหารหรือตำรวจที่แปรพักไม่ยอมเข้าร่วมกับกองทัพให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศในระหว่างที่ต้องลี้ภัยออกนอกบ้านเกิดว่า ผู้บัญชาการสั่งให้ฆ่าคนในครอบครัวของทหารชั้นผู้น้อยเองด้วย หากครอบครัวมีแนวคิดต่อต้านกองทัพ
5
ความโหดเหี้ยมนี้เล่นเอาคนที่ติดตามข่าวสารในยุคปัจจุบันที่อาจจะยังไม่เคยศึกษาถึงความโหดของกองทัพประเทศเพื่อนบ้าน ต่างตกใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นว่าในยุคปี 2021 ยังมีการวิ่งไล่เข่นฆ่าผู้คนเป็นนกเป็นปลากันแบบนี้อยู่อีกหรือ? มันเกิดอะไรขึ้นกับกระบวนการยึดอำนาจของกองทัพเมียนมา และทำไมถึงได้โหดเหี้ยมขนาดนี้?
4
🔵 ประวัติศาสตร์การปกครองที่โหดเหี้ยม
ต้องเข้าใจกันตั้งแต่ระดับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมียนมา ที่ในอดีตเมียนมาหรือพม่าปกครองกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เอาไว้หลากหลายทั้ง มอญ กะเหรี่ยง ว้า ยะไข่ ไทยใหญ่ และอื่นๆ อีกมากมาย โดยอดีตระบอบกษัตริย์ในเมียนมาซึ่งในช่วงสมัยเมื่อ 200 – 300 ปีก่อน กลุ่มชาติพันธุ์พม่าแท้ หรือพวกอังวะ ที่มีจุดศูนย์กลางการปกครองหลักคือเมืองอังวะ หรือปัจจุบันคืแ นครมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศรองจากนครย่างกุ้ง เมืองหลวงเก่า
5
การที่จะสามารถปกครองนครรัฐเล็กๆ น้อยๆ ที่อยู่รายรอบซึ่งมีความเป็นรัฐอิสระ ปกครองตนเอง ด้วยชาติพันธุ์ของตนเอง และมีภูมิประเทศที่สลับซับซ้อน ย่อมเป็นเรื่องยากที่จะใช้ความประณีประนอม หรือการยอมสวามิภักดิ์ให้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังวะ ดังนั้นการใช้กำลังบังคับขู่เข็นจึงเป็นสิ่งที่พวกอังวะเลือกในการปกครองชาติพันธุ์อื่นๆ
8
พม่าขึ้นชื่อเรื่องปกครองประเทศราชหรือเมืองขึ้นด้วยความโหดร้ายทารุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชาวมอญ กะเหรี่ยง ยะไข่และไทยใหญ่ ไม่ต้องพูดถึงชนชาติอื่นที่ไม่ได้นับถือพุทธแบบเถรวาท ทำให้ชนชาติอื่น เช่น มอญและไทยใหญ่ต้องอพยพมาในประเทศไทยหลายระลอก จนเกิดเป็นชุมชนต่างๆ เช่นชุมชนชาวมอญ เป็นต้น ดังนั้นในการปกครองยุคหนึ่งแม้จะไม่ได้ครองเป็นรัฐเดียว แต่ก็อยู่กันแบบรัฐใครรัฐมันหลวมๆ
5
รูปแบบการปกครองนี้ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาจนกระทั่งพม่าถูกอังกฤษเข้ายึดครอง และสิ้นสุดความเป็นราชวงศ์ลงในสมัยของ "พระเจ้าสีป่อ" ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2429 ก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เล็กน้อย
3
หลังสิ้นยุคที่อังกฤษปกครองในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 อังกฤษได้คืนเอกราชกับพม่าอย่างสมบูรณ์ และมีความพยายามดำเนินการจัดตั้งรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตยหลายครั้งจากความช่วยเหลือของเจ้าอาณานิคม แต่สุดท้ายก็ล้มเหลว รัฐบาลพลเรือนพม่าไม่ได้มีเสถียรภาพมากเพียงพอที่จะปกครองตัวเอง เนื่องจากการตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบเข้มงวดมาตั้งแต่ก่อนจะตกเป็นเมืองขึ้น พอในยุคที่เป็นประเทศเมืองขึ้นของอังกฤษก็มีเจ้าอาณานิคมคอยบริหารจัดการภายในทั้งหมด เมื่อถึงวันที่ต้องเป็นอิสระรัฐบาลพลเรือนที่ไม่เคยผ่านการบริหารราชการแผ่นดินจึงไปไม่เป็นกันเลยทีเดียว ประกอบกับชนกลุ่มน้อยต่างๆ ที่อยู่บริเวณชายแดนต่างก็พร้อมใจกันแข็งเมือง อยากจะแยกตัวเองออกเป็นรัฐอิสระอยู่แล้ว ทำให้เป็นการยากที่จะจัดการได้เหมือนสมัยที่ปกครองโดยระบอบกษัตริย์ที่ใช้กำลังไพร่พลทหารเข้าปราบปรามยามที่หัวเมืองไม่ยอมอยู่ภายใต้อาณัติ
7
🔵 เพราะปกครองด้วยตัวเองไม่ได้ ทหารจึงเข้ามาแทรกแซง
2
พม่ามีรัฐบาลพลเรือนได้เพียงแค่ 10 ปี ภายในของพม่าเริ่มเกิดปัญหาความล้มเหลวในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ นอกจากนั้น กลุ่มสันนิบาตเสรีภาพประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ ยังแตกแยกออกเป็นสองส่วน กลุ่มหนึ่งนำโดย "อู นุ" และ "ติน" อีกกลุ่มนำโดย "บะส่วย" และ "จอ เย่ง" แม้อูนุจะประสบความสำเร็จในการนำประชาธิปไตยเข้าสู่ยะไข่ แต่เกิดปัญหากับชาวปะโอ ชาวมอญ และชาวไทใหญ่ ปัญหาเหล่านี้ทำให้รัฐสภาไม่มีเสถียรภาพ แม้อูนุจะผ่านการลงมติไม่ไว้วางใจโดยได้รับการสนับสนุนจากแนวร่วมสหชาติก็ตาม
3
กองทัพได้เจรจาปัญหาเกี่ยวกับพรรคคอมมิวนิสต์พม่ากับรัฐบาลของอูนุ ทำให้อูนุเชิญ "เน วิน" ผู้บัญชาการทหารเข้ามาจัดตั้งรัฐบาล กลุ่มแนวร่วมสหชาติถูกจับกุม 400 คน และมี 153 คนถูกส่งไปยังหมู่เกาะโกโกในทะเลอันดามัน ในกลุ่มที่ถูกจับกุมมี "อองทาน" พี่ชายของ "อองซาน" ด้วย
4
รัฐบาลของเน วินประสบความสำเร็จในการทำให้สถานการณ์มั่นคงและเกิดการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2503 ซึ่งพรรคสหภาพของอูนุได้เสียงข้างมาก แต่เสถียรภาพไม่ได้เกิดขึ้นนาน เมื่อขบวนการสหพันธ์ฉานนำโดย "เจ้าส่วยใต้" เจ้าฟ้าเมืองยองห้วยที่เป็นประธานาธิบดีคนแรกของพม่า ต้องการสิทธิตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2490 ที่ขอแยกตัวออกไปได้เมื่อรวมตัวเป็นสหภาพครบสิบปี
5
เน วินพยายามลดตำแหน่งเจ้าฟ้าของไทใหญ่โดยแลกกับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ใน พ.ศ. 2502 ในที่สุด เน วินได้ก่อรัฐประหารในวัที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2505 อูนุและอีกหลายคนถูกจับกุม เจ้าส่วยใต้ถูกยิงเสียชีวิต "เจ้าจาแสง" เจ้าฟ้าเมืองธีบอหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอยที่จุดตรวจใกล้ตองจี
3
ภายหลังจากการรัฐประหาร พม่าถูกปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร นำโดยคณะปฏิวัติของเน วิน สังคมทั้งหมดถูกควบคุมและอยู่ภายใต้อำนาจรัฐ ผ่านรูปแบบสังคมนิยม ซึ่งดัดแปลงมาจากแนวคิดของสหภาพโซเวียต และการวางแผนจากส่วนกลาง
2
รัฐธรรมนูญใหม่แห่ง สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า ได้ถูกประกาศใช้ปี พ.ศ. 2517 ในช่วงเวลานั้นพม่าถูกปกครองโดยระบบพรรคการเมืองเดียว คือ พรรคโครงการสังคมนิยมพม่า นำโดยเน วิน และ อดีตนายทหารหลายนาย
1
กระทั่งถึงปี พ.ศ. 2531 มีการเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศพม่า โดยเริ่มในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) ด้วยตัวเลข (8-8-88) ทำให้เหตุการณ์นี้มักเป็นที่รู้จักในชื่อ "การก่อการปฏิวัติ 8888" เกิดการลุกฮือเริ่มต้นจากนักศึกษาในเมืองย่างกุ้ง ข่าวการประท้วงของนักศึกษาได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศ
1
ต่อมามีประชาชนเรือนแสนที่เป็นพระภิกษุ เยาวชน นักศึกษา แม่บ้านและหมอ ออกมาประท้วงต่อต้านระบอบการปกครอง รัฐบาลได้มีคำสั่งให้สลายฝูงชนด้วยอาวุธ ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก
3
ในวันที่ 18 กันยายน เกิดการรัฐประหารและทหารได้กลับมาปกครองประเทศอีกครั้ง มีการจัดตั้งสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ ซึ่งเป็นองค์กรที่เปลี่ยนรูปมาจากพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า หลังจากที่ได้ประกาศกฎอัยการศึก ได้เกิดการประท้วงที่รุนแรงขึ้น นักศึกษา พระสงฆ์และนักเรียนราวพันคนถูกสังหาร และมีประชาชนอีก 500 คนถูกฆ่าในการประท้วงนอกสถานทูตสหรัฐอเมริกา นักศึกษาบางส่วนได้หลบหนีเข้ามาในประเทศไทย
2
ในวันที่ 21 กันยายน รัฐบาลได้เข้ามาปกครองประเทศและขบวนการต่อต้านได้สลายตัวไปในเดือนตุลาคม เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2531 เชื่อว่าผู้เสียชีวิตร่วมหมื่นคนและสูญหายอีกจำนวนมากจากปฏิบัติการทางทหารระหว่างการก่อการปฏิวัติ
4
และพม่าก็ถูกปกครองอยู่ภายใต้ระบอบทหารมายาวนานจนกระทั้งปี 2554 มีความพยายามฟื้นฟูประชาธิปไตยในเมียนมาอีกครั้ง ซึ่งทำให้เกิดการเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 50 ปี เมื่อปี 2555 และทำให้พรรค NLD ของนางอองซาน ซูจี ได้ชัยชนะ และปกครองประเทศมา 5 ปี กระทั่งครบวาระ และเลือกตั้งใหม่เมื่อปลายปีที่แล้ว ก่อนที่จะชนะอีกครั้งอย่างถล่มทลาย และนำมาซึ่งการก่อรัฐประหารอีกครั้งเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธุ์ที่ผ่านมา
2
🔵 นักวิชาการมอง กองทัพไม่แคร์สายตาคนนอก ความรุนแรงเพิ่มขึ้นไม่จบง่ายๆ
2
ศ.ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผอ.สถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า การยึดอำนาจของนายพลมิน อ่อง หล่าย และการปราบปรามกลุ่มผู้ต่อต้านเป็นเรื่องที่ไม่เหนือความคาดหมาย เพราะต้องไม่ลืมว่ามิน อ่อง หล่าย เกิดและเติบโตมาในยุคของการปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหาร ดังนั้นเขาเคยชินกับการใช้กำลังและความรุนแรงในการปราบปรามชนกลุ่มน้อย กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รวมทั้งการปราบปรามคนพม่าเองด้วยที่ต่อต้านการยึดอำนาจ ซึ่ง ศ.ดร.ฐิตินันท์ มองว่านายพลคนนี้ไม่กลัวอะไรและเอาอยู่ ซึ่งตอนนี้ก็ขึ้นขี่หลังเสือแล้วด้วย คงต้องอยู่รักษาอำนาจให้ได้นานที่สุด
4
ก่อนหน้านี้มิน อ่อง หล่าย เคยคุยกับตัวแทนของสหประชาชาติ "นางคริสติน ชราเนอร์ บูร์เกเนอร์" แทนพิเศษด้านเมียนมาประจำองค์การสหประชาชาติ และเคยเป็นทูตสวิสเซอร์แลนด์ประจำกรุงเทพฯ เรียกร้องให้นายพลมิน อ่อง หล่าย คืนอำนาจให้ประชาชน และยุติการใช้ความรุนแรง แต่ตัวของนายพลคนนี้ได้พูดตัดบทสนทนาเลยว่า อย่ามาเรียกร้องอะไรมาก และถ้าสหประชาชาติไม่พอใจ เมียนมาอยู่เองได้ เพราะก็อยู่ด้วยตัวเองมาตั้ง 50 ปี และไม่ต้องคบค้ากับใครมากมาย มีเพื่อนแค่ไม่กี่ประเทศก็พอ
9
ดังนั้น ศ.ดร.ฐิตินันท์ มองว่ากองทัพเมียนมาเอาจริง และความรุนแรงมันจะเพิ่มขึ้นยืดเยื้อต่อไปอีกสักพักใหญ่ พร้อมกับให้ข้อมูลเพิ่มว่า การยึดอำนาจของกองทัพเมียนมาเหมือนกับการปกครองสมัยที่เมียนมายังมีระบอบกษัตริย์ กล่าวคือ จุดศูนย์กลางการปกครองจะต้องแข็งแกร่ง กองทัพจะต้องแข็งแกร่ง มิเช่นนั้นมันจะเอาประเทศไม่อยู่ โดยเฉพาะกับการจัดการกับชนกลุ่มน้อยต่างๆ ที่อยู่รายรอบเพื่อสร้างการเป็นชาตินิยมแบบที่เรียกว่า “พม่านิยม” ภายในประเทศเอง ไม่ใช่การต่อต้านจากภายนอก แต่ต่อต้านคนในประเทศเอง นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมแต่ละประเทศที่แม้ว่าจะไม่เห็นด้วยกับการก่อรัฐประหาร แต่กลับทำได้เพียงประณาม ไม่เข้าไปแทรกแซงภายใน
3
เพราะหากวันหนึ่งที่เมียนมาแตกออกเป็นประเทศเล็กๆ น้อยๆ ผลที่ตามมาคือประเทศเพื่อนบ้านทั้งอินเดีย จีน และไทย จะเป็นผู้รับเคราะห์คลื่นอพยพของประชาชนที่ลี้ภัยเข้ามาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการที่ประเทศเพื่อนบ้านหรือประชาคมโลกจะผลีผลามทำอะไรมันก็เป็นเรื่องยากและเสี่ยงที่จะยกระดับปัญญาหาในท้องถิ่นให้เป็นปัญหาระดับภูมิภาค ซึ่งนั่นจะทำให้การจัดการยิ่งยากเข้าไปอีก
5
🔵 เหตุผลที่นานาชาติทำได้แค่ ประณามแต่ไม่อยากส่งทหารแทรกแซง
1
อย่างไรก็ตามในมิติทางสังคมนั้นประเทศต่างๆ ยังทำได้เพียงแค่ กดดันทางการทูต ประณามทางวาจา หรือคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ แต่ไม่มีใครอยากเข้าไปแทรกแซงภายในด้วยกิจการทางทหาร เพราะถ้าเป็นแบบนั้นความเสี่ยงจะเกิดขึ้นกับประเทศที่เข้าไปแทรกแซงทันที เพราะตาม “หลักการรับผิดชอบเพื่อการคุ้มครอง” หรือ Respossiblity to protect เรียกย่อ ๆ ว่า R2P มีระบุความรับผิดชอบต่อการที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจากภายนอกที่ส่งทหารเข้าไปทำสงคราม หรือภารกิจทางทหารให้กับประเทศอื่นๆ จะต้องรับผิดชอบผลที่จะตามมาด้วย เช่น
11
หากการส่งทหารเข้าไปแล้วเกิดการบาดเจ็บล้มตายมากกว่าเดิม หรือประเทศนั้นๆ เกิดการถึงคราวล่มสลาย ประเทศผู้ที่ส่งทหารเข้าไปจะต้องแบกรับภาระในการดูแลประเทศนั้นๆ ต่อไป อันจะนำมาซึ่งการใช้งบประมาณที่มาหาศาล ชีวิตกำลังพล และอื่นๆ อีกมากมาย โดยที่แทบจะไม่ได้ผลประโยชน์อะไรกลับมาเลย นอกจากคำสรรเสริญเยินเยอว่าเป็นผู้มาปลดปล่อยจากฝ่ายที่สนับสนุน และคำสาปแช่ง เกลียดชังจากฝ่ายที่ต่อต้าน
2
เหมือนเอาตัวเองไปเปื้อนโคลนทั้งๆ ที่ไม่จำเป็น ไม่ใช่ธุระกงการอะไรนั่นเอง
สุดท้ายปัญหาภายในเมียนมาอาจจะจบลงด้วยการนองเลือดมากกว่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะกองทัพเมียนมาถูกฝึกมาเพื่อการโจมตี และฆ่าด้วยความโหดเหี้ยมและเด็ดขาด ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมายว่าทำไมจึงมีข่าวการกระทำอันแสนอุกอาจ คร่าชีวิตประชาชนแบบไม่สนใจอะไรได้อย่างเลือดเย็นนั่นเอง
1
โฆษณา