31 มี.ค. 2021 เวลา 15:11 • ความคิดเห็น
“โรงพยาบาล” พื้นที่ปลอดภัยในจักรวาล
มองจากดาวอังคาร ก็ควรรู้ว่า
ปลอดภัย!
1
เพราะสถานการณ์ในปัจจุบัน
มักมีข่าวทำให้เรารู้สึกไม่ปลอดภัยอยู่เสมอ
จนเกิดคำถามขึ้นว่า
สรุปว่าที่ไหนในจักรวาลนี้
ที่จะเรียกว่า เป็นพื้นที่ปลอดภัย
เป็น Safety Zone ได้อย่างแท้จริง
1
โดยได้รับการยอมรับ ตามหลัก
จาก สา-กล-ละ-โลก
แบบไม่ต้องใช้ความรู้สึกส่วนตัวใด ๆ
“โรงพยาบาล” ยังเป็นพื้นที่ปลอดภัยอยู่ไหม?
บุคลากรทางการแพทย์
และผู้เกี่ยวข้องทุกคนใน รพ.
ใช้ชีวิตอยู่บนความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ
เสี่ยงต่อโรคจากการทำงาน
เสี่ยงกับการเกิดปัญหาครอบครัว กับคนรัก
แค่นี้ไม่พอหรือ?
ยังต้องเสี่ยงกับ..
ความรุนแรงจากการถูกทำร้าย
หรือต้องเอาชีวิตไปแขวนอยู่
ที่ปลายกระบอกปืนด้วยหรือ?
พื้นที่ รพ.ควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
ยิ่งตามหลักสิทธิมนุษยชน
ตามอนุสัญญาเจนีวาด้วยแล้ว
มีการแบ่งพื้นที่ปลอดภัยไว้ชัดเจน
และให้นิยามดังนี้
พื้นที่โรงพยาบาล และเขตปลอดภัย
(Hospital and safety zones and localities)
ตามอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่ 4 กล่าวว่า
เป็นพื้นที่มีไว้ เพื่อให้ความคุ้มครองแก่
บุคคลกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้บาดเจ็บ, คนป่วย, คนชรา, เด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี,
สตรีมีครรภ์หรือมีบุตรอายุต่ำกว่า 7 ปี
โดยจะแสดงสัญลักษณ์
กากบาทแดง บนพื้นขาวไว้ให้เห็นอย่างชัดเจน
1
ซึ่งคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ
(International Committee of the Red Cross, ICRC) สามารถเข้าไปดูแลทางด้านมนุษยธรรม
แก่ผู้ได้รับผลกระทบได้
โดยการกำหนดเขตปลอดภัย
สามารถทำได้ ทั้งในยามสงบหรือภาวะสงคราม
อาจเกิดจากข้อตกลงของคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย
โดยไม่มีใครสามารถยึดครอง
เขตปลอดภัยนี้ได้ค่ะ
รพ.ควรเป็นพื้นที่ปลอดภัย ไม่ว่าในกรณีใด ๆ
โปรดทราบบบบ 🥺🚨
พื้นที่ที่ไม่สามารถป้องกันตนเองได้
(Non-defended localities)
ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้
หรืออยู่ในเขตสงคราม
ที่มีกองกำลังติดอาวุธอยู่
ตามมาตรา 59 ของอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่ 1
ระบุไว้ว่า เมื่อประกาศว่าที่ใดเป็นเมือง ที่ไม่สามารถป้องกันตนเองได้
ห้ามมิให้การโจมตีเกิดขึ้น
เพื่อเป็นการรักษาชีวิตและทรัพย์สิน
ของประชาชนในพื้นที่
ซึ่งต้องยึดถือหลักปฏิบัติดังนี้
❌ ต้องเคลื่อนย้ายพลรบ และอาวุธยุทโธปกรณ์ออกไปจากพื้นที่นี้
❌ ไม่มีกระทำที่เป็นปฏิปักษ์จากเจ้าหน้าที่
หรือจากประชาชนในพื้นที่เอง
❌ ไม่มีการกระทำใด ๆ ที่เป็นการสนับสนุนกิจการทางทหาร
1
พื้นที่ความเป็นกลาง (Neutralized zones)
ตามมาตรา 15 ของอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่ 4
กำหนดให้พื้นที่นี้เป็นที่หลบภัยของทหาร
หรือพลเรือนที่บาดเจ็บ ป่วยไข้
หรือพลเรือนที่มิได้เกี่ยวข้องกับการสู้รบ
ได้พักพิง อาศัย
พื้นที่ความเป็นกลางนี้
อาจเป็นบริเวณใกล้เคียง
หรือเป็นพื้นที่ในเขตสงครามก็ได้
แต่จะต้องมีการกำหนดกรอบเวลา
ไว้อย่างชัดเจน
โดยมีการตกลงร่วมกันจากคู่กรณีเป็นลายลักษณ์อักษร หรือจากประเทศเป็นกลาง
ประเทศที่สาม หรือจากหน่วยงานด้านมนุษยธรรมอื่น เพื่อให้พื้นที่นี้ปลอดภัย
จากการโจมตีทางอาวุธค่ะ
พื้นที่ปลอดทหาร (Demilitarized zones)
เป็นพื้นที่ที่คู่สงครามตกลงกันว่า
จะไม่มีการขยายปฏิบัติการทางทหารเพิ่มเติม
ในพื้นที่นี้อีกต่อไป
ซึ่งอาจเป็นการตกลงด้วยวาจา
หรือทางลายลักษณ์อักษรผ่านทางสนธิสัญญาสงบศึกก็ได้ อาจทำได้ทั้งในยามสงบหรือสงคราม เช่นกรณีเส้นขนานที่ 38 ในสงครามเกาหลี
ซึ่งต้องมีการปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้
❌ ในพื้นที่นี้ต้องไม่มีการติดตั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ หรือกำลังพลอยู่
❌ ไม่มีการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการทางทหารอีก
1
พื้นที่ปลอดภัยบางส่วน ที่ไม่ตรงตามนิยามของอนุสัญญาเจนีวา แต่ได้รับความคุ้มครองจากกองกำลังของสหประชาชาติ UNPROFOR (UN Protection Force)
เช่นในบอสเนีย, รวันดา ก็ให้ถือเป็นพื้นที่ปลอดภัย (Safe Areas, Secure Humanitarian Areas)
ตามกรอบแนวคิดใหม่ที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council, UNSC) ได้ประกาศไว้
บทความนี้ตั้งใจเขียนขึ้น
เพื่อให้ข้อมูลกับผู้สนใจใน
ความหมายของคำว่า
" พื้นที่ปลอดภัย "
1
มิได้มีเจตนาดรามา
หรือโจมตี... ใด ๆ นะคะ..
เป็นการเขียนที่สุภาพที่สุด
ครั้งหนึ่งในชีวิตเลยทีเดียว
....กราบ.... 😊🙏🙏🙏
2
โฆษณา