1 เม.ย. 2021 เวลา 07:15 • ข่าว
สรุปปมดราม่า แบนฝ้ายซินเจียงอุยกูร์
ใครเจ็บกว่ากันระหว่าง ชาติตะวันตก VS จีน
เรื่องราวความขัดแย้งระหว่างชาติตะวันตกกับจีน โดยมีที่มาจากสถานการณ์ในเขตปกครองตนเองของชนชาติซินเจียงอุยกูร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ที่ตลอดหลายปีที่ผ่านมาชาติตะวันตกหลายชาติโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา มักใช้เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวอุยกูร์ เป็นเครื่องมือโจมตีรัฐบาลจีน ว่ามีการกดขี่ ทำร้าย หรือจำกัดสิทธิ์บางประการของพลเมืองกลุ่มนี้
ชาติตะวันตกมักใช้ข้ออ้างของความขัดแย้งดังกล่าวมาทำสงครามประสาทยังไม่พอ ยังลามไปยังสงครามการค้า ซึ่งเกิดขึ้นอย่างชัดเจนที่สุดในยุคสมัยของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ส่งสัญญาณกีดกันทางการค้ากับจีนอย่างเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นการตั้งกำแพงภาษีส่งออกที่สูงลิบ จนกระทบต่อต้นทุนการผลิต การปล่อยข่าวว่าธุรกิจของคนจีนกำลังแทรกแซงข้อมูลพลเมืองในสหรัฐและทั่วโลก โดยเฉพาะธุรกิจทางเทคโนโลยีต่างๆ รวมทั้งการบีบให้บริษัทขนาดใหญ่ของจีนออกจากตลาดหุ้นสหรัฐด้วยวิธีการต่างๆ นาๆ
4
แต่ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็เหมือนว่าความพยายามของสหรัฐจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร แถมยังย้อนกลับมาทำร้ายระบบเศรษฐกิจในประเทศตัวเองเสียด้วยซ้ำ จนนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่มาโดนกระหน่ำซ้ำเติมพร้อมกับโรคระบาดไวรัสโควิด – 19 จนแทบกู่ไม่กลับ
2
🔵 ตะวันตกรวมหัวคว่ำบาตรฝ้ายอุยกูร์ อ้างใช้แรงงานกดขี่
เมื่อไม่นานมานี้ก็มีอีกประเด็นที่ชาตตะวันตกพยายามจะเล่นสงครามการค้าอีกรอบ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ที่ สหภาพยุโรปแท็กมือ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และ แคนาดา ร่วมกันประกาศมาตรการคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่จีน ต่อการคุกคามสิทธิมนุษยชนในชนกลุ่มน้อยอุยกูร์
3
โดยกล่าวหาว่าจีนควบคุมชาวอุยกูร์ ในแคมป์ที่สร้างขึ้นในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ มีการทารุณกรรม บังคับใช้แรงงาน และล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งจีนได้ตอบโต้ด้วยการ ประกาศมาตรการคว่ำบาตรกับเจ้าหน้าที่ยุโรป และปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว
ประกาศแบนจากชาติตะวันตกมุ่งไปที่การทำการเกษตรเพื่อสิ่งทอที่สำคัญของมณฑลซินเจียงซึ่งก็คือ ฝ้าย คงกะว่าจะทำให้จีนได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะมณฑลซินเจียงถือเป็นพื้นที่ปลูกฝ้ายขนาดใหญ่สุดของจีน เกษตรกรเกือบครึ่งหนึ่งของทั้งมณฑลมีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตฝ้าย คิดเป็น 87.3% ของการผลิตฝ้ายทั้งหมดในจีน โดยซินเจียงครองอันดับ 1 ในการผลิตฝ้ายมายาวนานถึง 25 ปี และเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อันดับหัวแถวของโลก
1
🔵 จีนโต้กลับบอยคอตสินค้าตะวันตก เซเลบจีน ‘Come Out’ ฉีกสัญญาพรีเซนเตอร์
แต่เหตุการณ์กลับตาลปัตร แทนที่การคว่ำบาตรนี้จะส่งผลเป็นใจต่อฝ่ายชาติตะวันตก กลับโดนเล่นงานกลับเสียเอง ซึ่งหลังมีการประกาศคว่ำบาตร ปฏิกิริยาของชาวจีนก็สวนกลับทันที สิ่งที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อสังคมจีนในวงกว้างคือ การที่เหล่าบรรดาศิลปิน ดารา นักแสดง เซเลบชื่อดังแถวหน้าของประเทศต่างออกมาบอยคอตแบรนด์สินค้าเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์กีฬาของชาติตะวันตก รวมทั้งยอมฉีกสัญญาการเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับแบรนด์เหล่านี้กันถ้วนหน้าไม่ตำกว่า 30 คน อย่างน้อย 11 แบรนด์ เช่น Nike, H&M, Adidas, Tommy Hilfiger, Puma, New balance, Burberry และ Lacoste เป็นต้น
1
รวมทั้งแบรด์จากญี่ปุ่นบางแบรนด์ที่มีท่าทีสนับสนุนการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกก็โดนหางพายุบอยคอตไปด้วยเช่น Uniqlo และ Muji
1
โดยศิลปินชื่อดังที่ “Come Out” ชัดเจน เช่น
🔹️“หวัง อี้ป๋อ” ยุติสัญญากับ Nike
🔹️“จาง อี้ชิง” หรือ “เลย์” วง EXO แบรนด์ Converse และ Calvin Klein
🔹️"หยาง มี่" นักแสดงแถวหน้า ยุติสัญญากับ Adidas
🔹️"แจ๊คสัน หวัง" อดีตสมาชิกวง GOT7 ยุติสัญญากับ Adidas
🔹️"ตี่ลี่เร่อปา" นักแสดงชาวอุยกูร์ ยุติสัญญากับ Adidas
🔹️"หลิวอี้เฟย" ยุติสัญญากับ Adidas
7
อิทธิพลของศิลปินเหล่านี้ทำให้ชาวจีนต่างสนับสนุนการบอยคอตแบรนด์สินค้าชาติตะวันตกกันอย่างพร้อมเพียง ผ่านการติดแฮชแท็กว่า “I support Xinjiang cotton หรือ สนับสนุนฝ้ายซินเจียง” เพื่อหันมาสนับสนุนแบรนด์ของจีนที่ผลิตจากฝ้ายอุยกูร์แทน เช่น หลี่หนิง (Li Ning) และ แอนท่า (Anta) ซึ่งมีการร่วมกันรณรงค์แคมเปญนี้มากกว่า 1,000 ล้านครั้ง บนโซเชียลมีเดียจีน ขณะที่บริษัทผู้ผลิตมือถืออย่าง Huawei และ Xiaomi ประกาศระงับการดาวน์โหลดแอปฯ ของ Nike กับ Adidas เรียบร้อยแล้ว
1
ไม่เพียงเท่านั้นเว็บไซต์ออนไลน์ยักษ์ใหญ่ของจีนอย่าง Alibaba และ JD. com ก็ได้ถอดผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ H&M ออกการซื้อขายของจากเว็บไซต์อีกด้วย
1
แน่นอนว่าจีนถือเป็นตลาดการค้าที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกและมีกำลังซื้อสูงที่สุด เป็นตลาดที่ผู้ค้าน้อยใหญ่ต่างอยากเข้าไปขายสินค้าและช่วงชิงพื้นที่ทางการตลาดจากจำนวนประชากรกว่า 1,400 ล้านคน การที่เกิดอะไรผิดพลาดจนจีนไม่พอใจ เรียกได้ว่าเป็นหายนะทางการค้าเลยทีเดียว ซึ่งผลกระทบนี้เกิดขึ้นกับแบรด์ต่างๆ แล้ว แต่ที่เจ็บหนักที่สุดในเวลานี้หนีไม่พ้น H&M แบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นสำเร็จรูปรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกจากสวีเดน
6
🔵 H&M เจ็บสุดปิดบางสาขาลูกค้าไม่เข้า ขาดทุนไตรมาสแรกเกือบ 5 พันล้าน
H&M ในประเทศจีนมากถึง 500 สาขาทั่วประเทศ มากเป็นอันดับ 4 ของแบรนด์เสือผ้าต่างชาติที่เปิดขายบนแผ่นดินมังกร โดนผลกระทบเต็มๆ จากการบอยคอตนี้ เพราะเมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว H&M เคยออกมาแสดงความกังวลต่อการบังคับใช้แรงงานในพื้นที่ซินเจียง และยังกล่าวว่าบริษัทไม่ใช้วัตถุดิบจากมณฑลซินเจียงด้วย
4
เท่านั้นแหละทัวร์ลง H&M อย่างหนัก ร้านค้าของแบรนด์โดนถอดออกจากเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซทั้งหมด ลูกค้าชาวจีนไม่เข้าร้าน บางสาขาไม่มีลูกค้าเลยมาหลายวันติดกันจนขาดรายได้ ต้องปิดสาขาลงชั่วคราว
1
สุดท้าย H&M ต้องออกมายอมรับว่า ผลกระทบจากคำพูดนั้นทำให้ไตรมาสแรกของปีนี้บริษัทต้องขาดทุนกว่า 1,390 ล้านคราวน์ หรือ 159 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเกือบ 5,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่มีกำไรอยู่ที่ 2,500 ล้านคราวน์ หรือ 8,990 ล้านบาท มูลค่าหุ้นของบริษัทร่วงลงไป 2% ซ้ำเติมสถานการณ์ที่ย่ำแย่ของแบรนด์ที่ก่อนหน้านี้ต้องปิดสาขา H&M ในหลายๆ ประเทศเนื่องจากสถานการณ์โควิด – 19
2
อย่างไรก็ตาม H&M ต้องออกมาอ้อนจีนผ่านแถลงการณ์ว่า ความร่วมมือระหว่าง H&M กับจีนยังคงเหนียวแน่น และบริษัทจะมุ่งมั่นเพื่อฟื้นความเชื่อใจและมั่นใจกับผู้บริโภค ผู้ร่วมงาน และหุ้นส่วนในจีนให้กลับมาอีกครั้ง เพื่อเดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรมแฟชั่น ตอบสนองความต้องการผู้บริโภค และเคารพซึ่งกันและกัน
1
พร้อมทั้งอวยและกลับคำว่า สำหรับจีนแล้วคือตลาดใหญ่อันดับ 4 ของ H&M แต่เป็นแหล่งวัตถุดิบอันดับหนึ่งของทางบริษัท ซึ่งเรื่องการใช้แรงงานที่ไม่เป็นธรรมนั้นทางบริษัทไม่ได้กล่าวพาดพิงถึงชาวอุยกูร์แต่อย่างใด
2
หลังเห็นท่าไม่ค่อยดีที่ว่าจีนเอาจริงในการบอยคอตสินค้า หลายแบรนด์จากหลายชาติ ก็มีการแถลงท่าทีทันทีว่า สนับสนุนการใช้ฝ้ายจากมณฑลซินเจียงต่อไปทั้ง MUJI, Hugo Boss และ Asics เป็นต้น เพื่อออกตัวก่อนที่จะโดนเลขไปด้วย
1
นี่คือสรุปหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการเริ่มต้นคว่ำบาตรทางการค้าของชาติตะวันตก ที่กะว่าจะเล่นงานจีนในประเด็นการใช้แรงงานที่ไม่เป็นธรรมของชาวอุยกูร์ ซึ่งสุดท้ายแล้วแม้แต่สำนักข่าวชาติตะวันตกหลายประเทศก็นำเสนอข่าวอีกด้านว่า ชาติตะวันตกมักใส่ร้ายจีนในประเด็นนี้ เพื่อสกัดกั้นการเติบโตของจีน แต่แล้วผลกระทบกลับย้อนไปเล่นงานสินค้าในประเทศของตัวเองแทนจากการบอยคอตของพลเมืองจีนนับพันล้านคน จนแทบจะออกมากลับลำพูดกันแทบไม่ทัน
2
คงจะได้เห็นแล้วว่าเรื่องนี้ ใครกันแน่ที่เจ็บหนักกว่า...
โฆษณา