1 เม.ย. 2021 เวลา 09:50 • สุขภาพ
แนะนำวิธีแก้เผ็ด
แต่แอบบอกว่าการดื่มน้ำเย็นนั้นไม่ได้ช่วยอะไร
ความเผ็ดเป็นคุณค่าที่คู่ควรสำหรับอาหารไทยมาอย่างช้านาน
เรียกว่าเป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกถึงวัฒนาธรรมบ้านเราเลยทีเดียว
ความเผ็ดนั้นไม่ใช่รสชาติของอาหาร
แต่เกิดจากการระคายเคืองของสารที่ให้ความเผ็ดร้อนในพริก
ไปกระตุ้นต่อมเผ็ดที่เรียกว่า polymodal nociceptors
ซึ่งมีอยู่ทั่วร่างกาย รวมถึงที่ปลายลิ้นด้วย ทำให้เรารู้สึกร้อน เมื่อทานพริกไป ต่อมเผ็ดนี้จะให้ผลที่เย็นเมื่อถูกกระตุ้นด้วยน้ำเย็นหรือสารพวกเมนทอลที่ให้ความเย็น ได้ด้วยเช่นกัน
สารที่ให้ความเผ็ดชื่อว่า แคปไซซิน (Capsaisin)
เป็นสารที่อยู่ในพริกตรงส่วนแกนของพริก
การทานเผ็ดสร้างความมีอรรถรสให้กับอาหาร
แต่บางครั้งการทานเผ็ดมากก็ยากที่จะต้านทานได้
เรามีวิธีแก้เผ็ดมาแนะนำ
หลายคนเวลาเผ็ดร้อนมักจะแก้ด้วยการดื่มน้ำเย็น แต่นั่นไม่ใช่วิธีที่ยั่งยืน
การดื่มน้ำเย็นทำให้ประสาทการรับรสไวต่อความเย็นแต่เมื่อน้ำเย็นที่ยังคงเย็นอยู่ในลิ้นเท่านั้น เมื่อเรากลืนน้ำลงไป
เราจะกลับมาเผ็ดอีก เพราะสารที่ให้ความเผ็ดมีคุณสมบัติไม่ละลายน้ำ แต่ละลายในไขมัน
เมื่อทานเผ็ดมาก ให้ลองหาสั่งชานมหรือ ชาเขียวเย็น มาอมกลั้วลิ้น หรือ เอาเนยมาป้ายที่ลิ้นแทน ก็ได้
เพราะ ไขมันจากนมและเนยจะช่วยละลายสารเผ็ดนี้ออกไปได้
ดังนั้นเมื่อเราทานส้มตำปูปลาร้าที่เผ็ดเต็ม 10 ในครั้งหน้า แนะนำว่าลองหาชานมมาไว้ข้างๆไว้แก้เผ็ดแทน
ปล. เคยสงสัยไหมทำไม พริก กับ วาซาบิที่ให้ความเผ็ดเหมือนกัน แต่ทำให้เรารู้สึกเผ็ดต่างกัน
เพราะว่า สารให้ความเผ็ดในพริกมีโมเลกุลที่หนักกว่า จะนอนแน่นิ่งอยู่ที่ลิ้น
ส่วนสารให้ความเผ็ดจากวาซาบิจะมีโมเลกุลที่เบา มันจะลอยขึ้นจมูก ทำให้เรารู้สึกเผ็ดขึ้นไปจมูกนั่นเอง
โฆษณา