2 เม.ย. 2021 เวลา 11:08 • การตลาด
ความน่ากลัวของการนำข้อมูลส่วนบุคคลของเราไปใช้
2
Credit  ⋆ Newsbytes.PH
สตีเฟน เควิน "สตีฟ" แบนนอน(Stephen K. Bannon) นักกิจกรรมการเมืองและนักธุรกิจชาวอเมริกัน อดีตผู้ช่วยอดีตประธานาธิบดีและหัวหน้านักยุทธศาสตร์ในรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ ที่คนส่วนใหญ่อาจจะไม่คุ้นชื่อเขามากนักแต่ผลงานของเขาที่สามารถสร้างความสำเร็จทางการเมืองที่ทำให้โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 เป็นตัวการรันตีความสามารถของเขาได้เป็นอย่างดี
สิ่งหนึ่ง “แบนนอน” เข้าใจได้ดียิ่งกว่าใครก็คือ การเมืองเกิดจากวัฒนธรรม เกิดจากความเชื่อและทัศนคติของคน ถ้าเขาสามารถเปลี่ยนเรื่องเหล่านี้ได้ก็เปลี่ยนการเมืองได้ “แบรนนอน” ยังเคยเป็นอดีตบอร์ดของบริษัทให้คำปรึกษาทางการเมือง “เคมบริดจ์ อนาไลติกา” ซึ่งเป็นบริษัทที่ถูกว่าจ้างให้ทำแคมเปญการเลือกตั้งให้อดีตประธานาธิปบดีโดนัล ทรัมป์
สตีเฟน เควิน "สตีฟ" แบนนอน(Stephen K. Bannon) Credit: Financial Time
เรื่องนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ในปี 2014 ก่อนการเลือกตั้ง 2 ปี นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ “อเล็กซานเดอร์ โคแกน (Alexander-Kogan) ได้ทำการสร้าง Application ที่เป็นแบบประเมินและสอบถามทางจิตวิทยาที่ให้ทำการประเมินนิสัยบุคลิกต่างๆ ซึ่งดูแล้วก็ไม่ได้มีอะไรที่ดูน่าเป็นห่วง เพียงแต่ว่าก่อนที่จะทำแบบสอบถามนี้จะต้องลงทะเบียน(Login) เข้า Facebook
ซึ่งนโยบายของ Facebook ในช่วงเวลานั้นอนุญาตให้ผู้พัฒนา Application สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้และเพื่อนของผู้ใช้ได้
และนี่ก็คือช่องทางที่ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้คนจำนวนมหาศาลได้ “โคแกน” ได้แจ้งไปทาง Facebook ว่าจะนำข้อมูลนี้ไปทำการวิจัย แต่ความเป็นจริงแล้ว “โคแกน” ได้ทำการแอบประสานงานกับ “เคมบริดจ์ อนาไลติกา” มาตลอด นอกนี้ข้อมูลที่ “โคแกน” ได้จาก Application ที่เขาทำขึ้นมานอกจากจะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่มีชื่อ วันเกิด อายุ ที่ทำงาน หมายเลขโทรศัพท์ แต่เขายังได้ข้อมูลพฤติกรรมต่างของผู้ทำแบบสอบถามในการกดไลค์เพจ ความชอบและความสนใจทั้งหมด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้ถูกนำไปใช้ในการวิเคราะห์ต่อโดย “เคมบริดจ์ อนาไลติกา”
อเล็กซานเดอร์ โคแกน (Alexander-Kogan) Credit: MSNBCe
จากข้อมูลของผู้ทำแบบสอบถามของ “โคแกน” ที่มีเพียง 3 แสนกว่าคน แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้เข้าถึงข้อมูลของเพื่อนใน Facebook ของผู้ทำแบบประเมินได้ด้วย นี่จึงเป็นช่องทางที่ทำให้เขาสามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ Facebook ได้ถึง 87 ล้านคน ที่เป็นฐานข้อมูลที่มีสัดส่วนถึง ¼ ของประชากรในประเทศสหรัฐ จากนั้นเขาก็นำข้อมูลไปให้ “เคมบริดจ์ อนาไลติกา” แล้วก็นำข้อมูลที่ได้มาทำเป็นข้อมูลของบุคลิกภาพแต่ละคน เพื่อจะได้ทำการทำการทำโฆษณาทางการเมืองที่ถูกปรับแต่งมาให้โดนใจเป็นรายบุคคล
อเล็กซานเดอร์ โคแกน (Alexander-Kogan) Credit: YouTube
ความกังวลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือก็คือการเล่นกับจิตวิทยาขอวคนได้ถึงขนาดนี้ เพื่อโน้มน้าวใจและชักจูงให้ทำการโหวตไปในทางที่ต้องการ ว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ เรื่องนี้ Facebook ซึ่งรู้เรื่องที่เกิดขึ้นในปี 2015 หลังจากที่มีการดำเนินการไปแล้ว 1 ปี แล้วได้สั่งให้ “เคมบริดจ์ อนาไลติกา” ลบข้อมูลทั้งหมดทิ้ง แต่ว่าต่อมาในปี 2018 เมื่อเรื่องนี้ถูกเปิดเผยออกมา Facebook เองก็เพิ่งจะรู้ว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เคยถูกลบและ “เคมบริดจ์ อนาไลติกา” ก็ไม่ได้ทำตามที่เคยแจ้งไว้ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ Facebook ต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ความเชื่อมั่นที่เลวร้ายที่สุดตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา
4
การแจ้งเตือนจาก Facebook กรณีที่ข้อมูลส่วนตัวได้ถูก Cambridge Analytica นำไปใช้  Credit: YouTube Channel  CBS Los Angeles
ข้อมูลส่วนบุคคลนี้สามารถนำไปใช้ในการทำให้ผลการเลือกตั้งของประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจและอำนาจทางทหารใหญ่ที่สุดในโลกได้ หากจะนำไปทำเรื่องที่สร้างประโยชน์ต่อผู้นำข้อมูลไปใช้ในด้านอื่นๆได้ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ข้อมูลส่วนบุคคลของเราไม่ได้มีเพียง Facebook ที่ได้ไป ยังมีอีกหลาย Application และอีกหลาย Platform ที่มีข้อมูลนี้ด้วย
เพราะในยุคปัจจุบันการให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเรื่องสามัญมาก การซื้อสินค้าออนไลน์ก็ต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว แม้แต่การทำบัตรสมาชิกเพื่อสะสมคะแนนเพื่อรับส่วนลดรวมถึงการสมัครงานก็ต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว ที่สำคัญบริษัทต่างๆโดยเฉพาะ Social Media ก็มักจะเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเราให้คนทำโฆษณา หรือตัวแทน (Third Parties) เพราะมันทำให้เขาสามารถทำโฆษณาให้เข้าถึงเป้าหมายได้แม่นยำขึ้น
Credit: Theguardian.com
เรื่องแบบนี้ก็เคยเกิดขึ้นกับคนไทยเช่นกันที่มีจำนวนหลักหลายล้านคน แต่ทว่าคนไทยยังไม่ได้กังวลอะไรมากเท่าไร อย่างเช่นกรณีที่ Partner ของ Lazada ทำข้อมูลลูกค้ารั่วออกไปถึง 13 ล้านคน รวมถึงกรณีที่มีข้อมูลของนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยหลุดออกไป แล้วก็ถูกเอาไปปล่อยในตลาดมืดจำนวนมากกว่า 45 ล้านคน การนำข้อมูลส่วนบุคคลไปซื้อขายในตลาดมืดปัจจุบันเป็นเรื่องที่เกิดอยู่เรื่อย ๆ ถือว่าเป็นธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ด้วย เพราะข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้สามารถนำไปทำบัญชีธนาคารปลอมหรือบัตรเครดิตปลอมก็ได้ หลายคนต้องถูกดำเนินคดีมาแล้วจากการที่ข้อมูลส่วนตัวของถูกลอบนำไปแสวงหาผลประโยชน์โดยกลุ่มมิจฉาชีพ
ที่มา DroidSans
ในประเทศไทยก่อนหน้านี้ยังไม่ตื่นตัวในเรื่องของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมากนัก แล้วก็ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย นั่นทำให้เราต้องคำนึงถึงเรื่องของการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของคนไทยว่าจะถูกเก็บอย่างไร ได้มาตรฐานการเก็บขนาดไหน มีความปลอดภัยเพียงไร ที่สำคัญคือเราจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้ที่มีข้อมูลส่วนตัวของเราจะนำข้อมูลไปใช้ทำอะไรบ้าง ซึ่งเราไม่มีทางรู้เลยแต่ถึงรู้ก็ทำอะไรไม่ได้
เมื่อไม่นานมานี้รัฐบาลเพิ่งผ่าน พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (Personal Data Protection Act : PDPA) มีผลบังคับประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 ในระดับบุคคลและมีผลใช้บังคับอย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 ทำให้การนำข้อมูลส่วนตัวผู้อื่นไปเผยแพร่หรือว่าประจานไม่สามารถทำได้โดยไม่ได้รับความยินยอม อย่างเช่น การนำข้อมูลการพูดคุยผ่าน Chat ต่างๆไปเผยแพร่ต่อสาธารณะผ่านสื่อต่างๆรวมถึง Social Media อาจจะโดนฟ้องร้องได้ แต่เรื่องที่สำคัญก็คือการมีผลบังคับใช้ในระดับระดับกิจการ ที่ต่อจากนี้จะทำการเก็บใช้หรือเผยแพร่ข้อมูลของใครจะต้องได้รับความยินยอมจากเข้าของข้อมูลก่อน
1
ที่มา  Medium
ที่สำคัญในการนำไปใช้ก็ต้องแจ้งขอบเขตการใช้ข้อมูลว่าจะเอาไปใช้ทำอะไรบ้างและใช้ระยะเวลานานขนาดไหน ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบหรือแม้แต่แจ้งให้บริษัทลบข้อมูลส่วนตัวของออกได้ หลายๆครั้งเราก็ได้รับการติดต่อจากบัตรเครดิต ประกันชีวิตและบริษัทต่างๆโดยที่เราไม่เคยให้ข้อมูล เราสามารถสั่งลบข้อมูลส่วนบุคคลของเราได้ ถ้าหากบริษัทเหล่านั้นหรือ Social Media ไม่ทำตามก็อาจถูกผู้บริโภคอย่างเราๆฟ้องร้องได้
ถึงแม้ว่าจะมีการออกกฎหมายออกมาคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแล้วก็ตามที แต่สิ่งที่เราจะต้องทำในทุกครั้งนั่นก็คือการพิจารณาการให้ข้อมูลส่วนบุคคลของเรา ว่าควรให้กับ Platform ใด ที่มีความน่าเชื่อถือขนาดไหน ที่สำคัญคือเราสามารถติดตามแก้ใขหรือฟ้องร้องได้ตามกฎหมายกับ Platform เหล่านั้นได้อย่างไรบ้าง
ที่มา  แปลเอกสาร
เรื่องนี้สามารถมองได้ 2 มุม คือในมุมของผู้บริโภคที่ต้องรัดกุมรอบคอบในการให้ข้อมูล เพื่อป้องกันการนำเอาข้อมูลของเราไปใช้แสวงหาผลประโยชน์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเรา และยังต้องคำนึงถึงการนำข้อมูลของเราไปใช้ในการก่ออาชญากรรมต่างๆ รวมถึงการที่เราไปละเมิดข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้อนุญาตด้วย
ส่วนอีกมุมก็คือในส่วนของกรณีที่เราเป็นผู้ประกอบการก็คือการนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งเรื่องนี้ต้องปฏิบัติไปตามข้อกฎหมายที่กำหนดและเรื่องที่สำคัญคือผู้ที่เรานำข้อมูลของเขามาใช้ต้องไม่ไปละเมิดสิทธิที่พึงมี นอกเหนือไปจากนั้นคือเขาต้องได้รับผลประโยชน์จากการถูกนำข้อมูลไปใช้ด้วย
ถึงแม้ว่าผู้ที่ถูกละเมิดจะไม่ติดใจเอาความ แต่หากกิจการหรือ Platform นั้นๆมีเจตนาชัดเจนที่จะละเมิดทั้งๆที่รู้เรื่องนี้ดีอยู่แล้ว นอกจากจะไม่สง่างามแล้วยังทำความเชื่อถือหายไปด้วย แล้วถ้าเป็นเราๆจะกล้าให้ข้อมูลและเข้าไปใช้งาน Platform นั้นๆหรือไม่
นี่คือสิ่งที่เปิดโอกาสให้ Application หรือ Platform ที่มีจริยะธรรมได้เติบโต ที่ในอดีตอาจจะไม่ได้รับโอกาสมากนัก ความซื่อสัตย์ความจริงใจความโปร่งใสไม่ได้เป็นเรื่องที่จับต้องไม่ได้อีกต่อไป แต่เป็นการสร้างโอกาสในการทำการตลาดยุคใหม่ได้นั่นเอง
1
ที่มา  เสรีชน : เสรีธรรม
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
Instagram: Modernizationmarketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
Face Book Page: Thailand Modern Marketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
สนใจการทำตลาดสุขภาพที่มีการรับรองจากเอกสารทางการแพทย์แล้ว
ติดต่อได้ที่
Facebook Page: โรคเบาหวานเป็นได้ก็หายได้
สนใจตัดต่อคลิปวีดีโอ
สามารถติดต่อได้ที่: Inbox หรือที่ Email sarayuth407@hotmail.com
โฆษณา