4 เม.ย. 2021 เวลา 15:59 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
จะขุด Bitcoin ยังไงให้รักษ์โลก??
Highwire Energy อาจมีคำตอบ ด้วยการใช้ก๊าซธรรมชาติที่ต้องถูกเผาทิ้งตามแท่นขุดเจาะต่าง ๆ นำมาผลิตไฟฟ้าให้กับเหมืองขุด Bitcoin
Bitcoin กับปัญหาโลกร้อน
ในช่วงที่ผ่านมาหลายคนคงเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับ Bitcoin และ Cryptocurrency ต่าง ๆ อยู่บ้าง
แต่นอกเหนือจากเรื่องความผันผวนของราคาและการเก็งกำไรแล้ว รู้หรือไม่ว่าอีกหนึ่งประเด็นที่ Bitcoin มักถูกโจมตีกลับเป็นเรื่องปัญหาโลกร้อน!!
ทั้งนี้เพราะการขุด Bitcoin นั้นสิ้นเปลืองพลังงานเป็นอย่างมาก ทำไมถึงเป็นแบบนั้นละ?
ก่อนไปต่อขออธิบายเกี่ยวกับ Bitcoin ซะหน่อย
ตั้งแต่ถือกำเนิดขึ้นในปี 2009 โดยไอเดียของบุคคลนิรนามในอินเตอร์เนตที่ใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto ที่ได้นำเสนอเทคโนโลยี Blockchain และ Bitcoin ในการเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกรรมจากแบบรวมศูนย์ผ่านตัวกลางที่เรียกว่าธนาคาร
มาเป็นรูปแบบกระจายศูนย์ (Decentralize) ที่แต่ละคนในเครือข่ายสามารถจะติดต่อทำธุรกรรมกันโดยตรงโดยมี Blockchain เป็นตัวกลางที่ไม่ต้องมีคนดูแลกำกับ
โดย Blockchain นั้นเป็นเทคโนโลยีในการบันทึกข้อมูลแบบเข้ารหัสผ่าน Hash function ซึ่งจะแปลงข้อมูลธุรกรรมให้กลายเป็นข้อมูลเลขฐาน 16 จำนวน 64 หลัก
ตัวอย่างข้อมูลต่าง ๆ ที่ผ่าน Hash function
ข้อมูลธุรกรรมที่เกิดขึ้นในระบบนี้จะถูกบันทึกลงในกล่องข้อมูลที่เรียกว่า Block ที่เชื่อมต่อกันไปเป็นสายโซ่กับ Block ก่อนหน้า จึงเป็นที่มาของชื่อ Blockchain นั่นเอง
Blockchain จะใช้พลังการประมวลผลจากเหล่า Miner ทั้งหลายที่เชื่อมต่อกับระบบในการบันทึกและตรวจสอบการทำธุรกรรมเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการเขียนซ้ำหรือสร้างธุรกรรมปลอมขึ้นในระบบ
1
การที่คนเอาคอมพิวเตอร์ต่อเข้ากับ Network ของ Bitcoin เพื่อทำหน้าที่ดังกล่าวนี้เป็นที่รู้จักกันว่า การทำเหมืองขุด Bitcoin นั่นเอง (การขุด Bitcoin นี้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับยุคตื่นทองที่ผู้คนแห่แหนกันไปขุดหาทองตามเหมืองทองนั่นเอง)
โดยสมัยแรกจะอาศัยพลังประมวลผลจาก Graphic Card ในเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งมีพลังการประมวลผล Hash function ได้ดีกว่า CPU แต่ก็กินไฟมากกว่า และภายหลังก็ได้มีการผลิตการ์ดและเครื่องเฉพาะทางเพื่อการขุด Bitcoin กัน
แต่แล้วใครจะยอมมาทำหน้าที่บันทึกและตรวจสอบธุรกรรมกันละ ?
มันถึงได้มีระบบรางวัลให้กับ Miner ที่สามารถแปลงข้อมูลธุรกรรมได้ออกมาตรงกับ target hash เป็นคนแรกใน Block นั้น ๆ (ซึ่งของ Bitcoin คือจำนวนที่น้อยกว่า 10 ในเลขฐาน 16)
1
ด้วยลักษณะของ Hash function นั้นจะเหมือนการสุ่มอิสระ ที่ Miner ไม่มีทางที่จะรู้ว่าเมื่อไหร่จะแปลงออกมาได้น้อยกว่า 10 ทำได้แค่เพิ่มกำลังการประมวลผลเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะได้เป็นคนแรกที่จะได้รางวัลจาก Block นั้นเท่านั้นเอง
เหมืองขุด Bitcoin ด้วยเครื่อง ASICs
แต่เจ้า Bitcoin นี้ถูกออกแบบให้มีอยู่แค่ 21 ล้านเหรียญ และรางวัลจากแต่ละ Block จะลดลงครึ่งหนึ่งทุกครั้งที่ Bitcoin ในระบบถูกสร้างขึ้นถึงครึ่งหนึ่งของที่ออกแบบไว้
โดยแรกเริ่ม 1 Block ที่ขุดได้ Miner ที่ชนะรางวัลจะได้ 50 Bitcoin (ถ้าตอนนี้ขุดเก็บไว้ก็จะมีมูลค่าประมาณ 166 ล้านบาท) แต่ในปี 2012 ที่ Bitcoin ถูกขุดมาได้ 10.5 ล้านเหรียญก็จะเหลือรางวัล Block ละ 25 Bitcoin
หลังจากนั้นในปี 2016 และ 2020 ก็มีการปรับลดรางวัลอีก 2 ครั้ง จนปัจจุบันเหลือ Block ละ 6.25 Bitcoin ซึ่งด้วยอัตราการเติบโตของเครือข่าย Bitcoin คาดกันว่า Bitcoin จะถูกขุดออกมาครบ 21 ล้านเหรียญในปี 2140
จะเห็นได้ว่ายิ่งนานวัน Bitcoin ก็จะยิ่งถูกขุดยากขึ้นและต้องใช้พลังงานมากขึ้นในการขุด
รูปแบบการตรวจสอบและยืนยันธุรกรรมของ Bitcoin นี้เรียกว่า Proof of Work (PoW) ซึ่งเป็น Consensus Protocol รูปแบบแรก มีจุดเด่นที่มัน Decentralize อย่างแท้จริงตามอุดมคติของ Blockchain แต่แลกมาด้วยข้อเสียในการใช้พลังงานในการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลธุรกรรมนั่นเอง
1
ภาพเหมืองขุด Bitcoin ด้วยการ์ดจอในสมัยก่อน
** Blockchain Consensus Protocol **
อยากรู้จัก Bitcoin ควรต้องรู้จักคำนี้
โปรดจำไว้ว่า Bitcoin ก็แค่เปลือก หัวใจของเทคโนโลยีนี้คือ Blockchain!!
1
Consensus Protocol นั้นเป็นหัวใจหลักหนึ่งของ Blockchain เป็นฉันทามติใน Blockchain แต่ละตัวที่จะใช้ยอมรับร่วมกันถึงกติกาและรูปแบบในการตรวจสอบและยืนยันธุรกรรม
เมื่อเห็นปัญหาของ PoW เหล่านักพัฒนาจึงได้มีการคิด Consensus Protocol รูปแบบอื่นที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ดีกว่า และยังปลอดภัยเชื่อถือได้ขึ้นมาอีกมากมายหลากหลายรูปแบบ
ทั้งนี้ Blockchain นั้นเป็นเทคโนโลยี open source ที่ใครก็สามารถนำมาพัฒนาต่อ ยอดประยุกต์ใช้รวมถึงคิด Consensus Protocol ที่เหมาะสมกับ Blockchain ของตน อาทิเช่น Proof of Stake (Pos), Proof of Capacity (PoC) เป็นต้น
ซึ่งก็ทำให้เกิด Crypto currency ต่าง ๆ ขึ้นมากมายที่ใช้ Consensus Protocol แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น LTC ETH DOGE ฯลฯ
รายละเอียดของ Consensus Protocol นั้นมีเยอะมาก ไม่ขอพูดถึงในบทความนี้ แต่อยากให้ลองเข้าไปศึกษากันดูครับ บทความอ้างอิงแม้จะหลายปีแล้วแต่ก็เขียนอธิบายคอนเซปไว้ได้ดีมากครับ
กลับมาเรื่องปัญหาการใช้พลังงานของ Bitcoin ซึ่งถูกโจมตีมาตลอดว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่ทำให้ภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้น
มีงานวิจัยและบทความมากมายที่กล่าวถึงประเด็นการใช้พลังงานในการบันทึกธุรกรรมของ Bitcoin ซึ่งสูงที่สุดเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบธนาคารแบบดั้งเดิมหรือ Crypto currency อื่น ๆ
งานวิจัยของมหาวิทยาลัย Cambridge ได้เปรียบเทียบข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าของ Bitcoin network ในปี 2019 ไว้ว่า ถ้าหากเปรียบ Bitcoin เป็นประเทศ
ประเทศ Bitcoin นี้มีอัตราการใช้พลังงานสูงเป็นอันดับที่ 27 ของโลก สูบพลังงานไฟฟ้าไปกว่า 135 ล้านหน่วยคิดเป็นกว่า 3 ใน 4 ของพลังงานไฟฟ้าที่ประเทศไทยเราใช้ในปีนั้นเลยทีเดียว
2
ประเทศไทยเราใช้ไฟเป็นอันดับที่ 23 ของโลกเลยนะ
หนึ่งในไอเดียที่จะแก้ปัญหาประเด็นการใช้พลังงานก็คือการใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนสำหรับการขุด Bitcoin นี้ แต่นั่นก็คือต้นทุน เราควรเอาพลังงานหมุนเวียนไปใช้อย่างอื่นเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลดีกว่ามั้ย?
แต่ล่าสุด Highwire Energy บริษัทจากไวโอมิ่งสหรัฐอเมริกา ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีที่แล้วได้เปิดเผยภาพของเหมืองขุด Bitcoin ของตน ที่ต่อรับไฟมาจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (Gas Engine) จากบ่อน้ำมันที่กำลังจะถูกปิดตัว
ซึ่ง Highwire Energy ได้ขอซื้อบ่อน้ำมันเหล่านี้ต่อจากเจ้าของเดิมที่กำลังจะปิดหลุมซึ่งค่าใช้จ่ายในการปิดหลุมแต่ละบ่อนั้นก็ไม่น้อยต้องใช้เงินอีกประมาณ 12 ล้านบาท
ตู้คอนเทนเนอร์ที่สัง่ทำพิเศษตั้งอยู่ติดกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ
โดยก๊าซธรรมชาติเหล่านี้เป็นผลผลิตส่วนเกินที่ไม่อาจนำไปขายหรือหาประโยชน์อื่นใดได้นอกจากการเผาทิ้งไปเปล่า ๆ ที่ Flare Stack อย่างที่เราเห็นกัน
ดังนั้นแล้วแทนที่จะปล่อยให้มีการเผาก๊าซธรรมชาติทิ้งเปล่าไปและปล่อยไอเสียออกสู่บรรยากาศ Highwire Energy ได้มองเห็นโอกาสในการนำของเหลือทิ้ง (Waste Energy) เหล่านี้มาสร้างโอกาสทางธุรกิจ
Flare Stack ที่ใช้เผาก๊าซเหลือทิ้งข้างแท่นขุดเจาะน้ำมันใน South Dakota
และตัวเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาตินี้ยังติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมมลพิษเพื่อให้ไอเสียที่ปล่อยออกจากเครื่องนั้นเป็นไปตามมาตราฐานควบคุมมลพิษอีกด้วย
2
เรียกได้ว่าเป็นแนวคิดการนำของที่ต้องทิ้งและสร้างมลภาวะกับโลกอยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้เต็มที่ดีกว่า จริง ๆ แล้วไฟที่ผลิตได้ไม่ต้องเอามาขุด Bitcoin ก็ยังได้ เอาไปใช้อย่างอื่นก็ได้ประโยชน์เหมือนกัน
แต่ในแง่ธุรกิจแล้วการเอามาขุด Bitcoin มันคือโอกาส โอกาสของคนที่มองว่า Bitcoin นั้นแท้จริงแล้วแก่นมันคือเทคโนโลยีที่เปี่ยมศักยภาพ
ตั้งแต่วันที่มันถือกำเนิดขึ้นมาจนจะ 12 ปี มันได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าทำงานได้ตามคอนเซปที่คนคิดวาดหวังไว้ได้ดีมากแค่ไหน
2
ทั้งนี้อยากให้สนใจ Blockchain กันมากกว่า Bitcoin มากกว่าการเก็งกำไรเงินดิจิทัล มันมีอะไรให้สนใจศึกษามาก มีศักยภาพที่จะประยุกต์ใช้ได้ในหลายวงการไม่ว่าจะเป็น การเงิน ประกันภัย โลจิสติกส์ trading platform หรือแม้แต่ Browser และ Social media platform
ยังมีโอกาสอีกมากซ่อนอยู่ในเทคโนโลยีที่ชื่อ Blockchain นี้หากคุณศึกษาและประยุกต์ใช้มันให้ดี
โฆษณา