5 เม.ย. 2021 เวลา 16:14 • การตลาด
ทำไมเราจึงอยากซื้อสินค้าเพียงแค่เห็นราคาที่ตั้งไว้?
2
ไม่ใช่แต่เพียงป้ายคำว่าลดราคาหรือแถมเท่านั้นที่ทำให้หลายคนสนใจที่จะซื้อสินค้านั้นรวมถึงป้ายราคาที่เห็นว่าราคาถูกกว่าที่เคยซื้อ ที่ทำให้เราตัดสินใจซื้อสินค้านั้น แต่ยังมีอีกหลากหลายรูปแบบของการตั้งราคาที่ทำให้ลูกค้าเกิดการตัดสินใจซื้อ ซึ่งแต่ละชนิดสินค้าก็ไม่สามารถใช้กลยุทธ์ในการตั้งราคาเดียวกันได้
เรื่องนี้ก็เป็นดาบสองคมเช่นเดียวกัน เพราะหากตั้งรูปแบบราคาผิดไปจากธรรมชาติของกลุ่มสินค้านั้น ก็อาจจะกลายเป็นว่าทำให้สินค้าขายได้น้อยหรืออาจจะขายไม่ได้เลยก็ได้ ทั้งหมดแล้วเป็นการดำเนินการตามหลักจิตวิทยาของผู้คนทั้งสิ้น
เรามาดูกันว่ามีรูปแบบการตั้งราคาอย่างไรให้ลูกค้าสนใจในสินค้าแต่ละประเภท
1.กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าสูงที่ในการตัดสินใจซื้อแต่ละครั้งลูกค้าต้องพิจารณาใคร่ครวญอย่างรอบคอบ
เช่น บ้าน คอนโดมีเนียม รถยนต์ และสินค้าที่มีมูลค่าสูงๆ การใช้คำพูดหรือตัวอักษรจึงไม่ดึงดูดให้ลูกค้าสนใจ เพราะคนส่วนมากไม่ได้ให้ความสนใจในตัวอักษร ส่วนมากแล้วจะพิจารณาจากตัวเลขราคาที่นำเสนอและต้องเป็นราคาที่ดูว่าจับต้องได้
การตั้งราคาในกลุ่มสินค้าจึงมักใช้คำว่า
“คอนโดหรูใกล้รถไฟฟ้าราคาเริ่มต้นไม่ถึงล้าน”
“เป็นเจ้าของได้ง่ายๆรถยนต์ไฟฟ้าในราคาที่ต่ำกว่าล้านบาท”
“แหล่งรวมที่ดินปล่าวเริ่มต้นที่ตารางวาไม่ถึงห้าพันบาท”
ด้วยรูปแบบการนำเสนอราคาที่ให้ลูกค้ารับรู้ถึงการจดจำราคา จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้เร็วขึ้น
ที่มา  Tooktee
2.สินค้าชนิดเดียวกันหรือกลุ่มเดียวกันที่ต้องการให้มีการซื้อจำนวนมากขึ้น ซึ่งส่วนมากจะเป็นของกินของใช้ที่ลูกค้าใช้เป็นประจำอยู่แล้ว
อย่างเช่นกลุ่มสินค้า เครื่องเขียนต่างๆที่ต้องใช้ในสำนักงาน หรือใช้ในการเรียนการสอน สินค้าราคาประหยัด กลุ่มสินค้าอาหาร ทั้งที่เป็นอาหารสดและอาหารแปรรูป หลักสูตรการเรียนออนไลน์ เป็นต้น
เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อมากขึ้นการตั้งราคาในกลุ่มสินค้าจึงมักใช้คำว่า
“แตงโมสันติสุขแดงกว่าแตงโมจินตหรา กก. ละ 50 บาท ซื้อ 10 กก. ราคา 750 บาท”
“สอนทำบทความ(Contents) ใน Blockdit จากราคา 10,000 บาท ลดเหลือเพียง 7,990 บาท แต่ถ้าหากลงทะเบียนเรียนหลักสูตรสอนการทำ Podcast และ วีดีโอ จ่ายเพียง 4,990 บาทเท่านั้น ราคานี้ก่อนเที่ยงคืนวันนี้เท่านั้น”
การที่ทำให้ลูกค้าเห็นว่าซื้อมากขึ้นแล้วราคาต่อหน่วยลดลงจึงเป็นข่องทางในการเพิ่มยอดขายสินค้ากลุ่มนี้ได้ได้
ที่มา  Gifted math โรงเรียนกวดวิชาอาจารย์ณัฐวุฒิ
3.กลุ่มสินค้าที่ต้องการให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อในราคาที่สูงขึ้น ด้วยความรู้สึกว่าเพิ่มเงินอีกนิดหน่อยก็จะได้สินค้าที่คุ้มค่ามากกว่า
สินค้ากลุ่มนี้จะเป็นสินค้าที่มีหลายขนาด หลายคุณสมบัติ หรือหลายแบบ ในสินค้าชนิดเดียวกัน อย่างเช่น กลุ่มเครื่องดื่มกาแฟ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์แบบพกพา ข้าวแกง ฯลฯ
การตั้งราคาก็มักจะใช้คำว่า
“กาแฟสด แก้วเล็ก 20 บาท แก้วกลาง 35 บาท แก้วใหญ่ 40 บาท”
“โทรศัพท์มือถือ ePhone ความจุ 256 GB ราคา 25,000 บาท ความจุ 512 GB ราคา 45,000 บาท ความจุ 1 TB ราคา 50,000 บาท”
ซึ่งลูกค้าส่วนมากเมื่อเห็นการตั้งราคาแบบนี้แล้วจะตัดสินใจซื้อสินค้าราคาสูงสุด เพราะรู้สึกว่าคุ้มค่ากว่าเพียงเพิ่มเงินเพียงเล็กน้อย สินค้าตัวที่อยู่ตรงกลางจะเป็นสินค้าที่ขายได้น้อยที่สุดซึ่งเป็นความตั้งใจของผู้ขาย เพราะเป็นสินค้าที่ใช้เป็นตัวหลอกล่อนั่นเอง”
1
ที่มา  Macthai.com
4.สินค้าที่ขายบนออนไลน์เป็นสินค้าที่ที่เหมือนๆกับคู่แข่งมีขายทั่วไปใครๆก็ขายได้
อย่างเช่น สินค้าที่ถูกนำไปจำหน่ายที่ Shopee Lazada JD Kaidee.com Talad.com หรือแม้แต่ขายเป็น Facebook รวมถึง Marketplace ต่างๆ
1
การตั้งราคาจะใช้คำว่า
“ราคาไม่รวมค่าขนส่ง”
“ค่าขนส่งตามจริงหรือค่าขนส่งตามระยะทาง”
1
ทำให้ลูกค้าสามารถเปรียบเทียบราคากับคู่แข่งรายอื่นได้ง่าย ส่งผลให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้เร็วขึ้น การใช้คำว่าค่าขนส่งฟรีจึงไม่ได้ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้ราคาที่ลดลง เพราะรู้อยู่แล้วว่าค่าขนส่งถูกบวกไปกับต้นทุนไปเรียบร้อยแล้ว
1
ที่มา  https://twitter.com/fluffylipx/status/1251437778010664965?lang=gl
5.สินค้าและบริการทุกประเภทที่ต้องการให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้โดยง่าย เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของการตัดสินใจ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงทางความคิดบางอย่างของลูกค้าได้
การตั้งราคาก็จะเป็นไปในรูปแบบที่ทำให้ลูกค้าออกเสียงได้ง่ายๆเป็นคำสั้นๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นราคาถูกหรือราคาต่ำเสมอไป อย่างเช่น
“มือถือ Sumsum รุ่น Z20 ราคา 4,500 บาท (สี่พันห้า)”
“รองเท้า Adidat รุ่นมีปีก ราคาคู่ละ 5ม000 บาท (ห้าพัน)”
วิธีการนี้จะให้ลูกค้าลูกค้าไม่ต้องคิดเยอะ เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจได้ง่ายที่สุดนั่นเอง
ที่มา  Specphone.com
6.เป็นสินค้าอะไรก็ได้ แต่มีวัตถุประสงค์ที่ช่วยในการเลือกซื้อของลูกค้า โดยการเปลี่ยนความเคยชินของลูกค้าหรือคนทั่วไป ที่ในการเขียนหนังสือเราจะเขียนจากบนลงล่างเสมอ (ถ้าเป็นภาษาญี่ปุ่นกรณีนี้ก็คงใช้ไม่ได้ เพราะเขาเขียนจากหลังไปหน้า) ซึ่งการตั้งราคาแบบนี้ไม่ได้เกี่ยวกับการลดราคาแต่ประการใด
ส่วนมากแล้วจะนำเสนอราคาในตำแหน่งที่ทำให้ลูกค้าเห็นได้ง่าย เช่น การแจ้งราคาขายที่มุมขวาบนของกล่องหรือซอง หรืออาจจะแสดงราคาไว้ตรงกลางของฉลากเลยก็ได้
วิธีการนี้ยังใช้ได้กับสินค้าในตลาดสดได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น กุ้ง หอย ปูปลา ผักสดต่างก็สามารถทำได้ ด้วยการแสดงราคาในจุดที่ลูกค้าสะดุดตา ซึ่งเป็นการทำให้ลูกค้าสามารถประเมิณราคาแล้วนำไปเปรียบเทียบซื้อกับรายอื่นๆ
ที่มา  มติชนออนไลน์
7.กลุ่มสินค้าที่ต่างชนิดกันแต่ลูกค้าสามารถซื้อรวมกันได้ ไม่ว่าจะเป็น ปากกา สมุด ยางลบ หรือ กลุ่มเสื้อผ้า ฯลฯ
สินค้ากลุ่มนี้จะมีการตั้งราคาที่คำนวณง่ายต่อการคำนวณค่าใช้จ่ายของลูกค้า ซึ่งราคามักจะลงท้ายด้วยตัวเลข 5 และ 0
วิธีการนี้ทำให้ลูกค้าสามารถรวมยอดการซื้อสินค้าหลายชนิดในครั้งเดียวได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น และยังทำให้การทอนเงินได้สะดวกยิ่งขึ้นด้วย
ที่มา  www.shopgoingto.com
8.สินค้ากลุ่มที่สามารถต่อรองราคาได้ ที่เป็นสินค้าที่ใช้ทั่วไป
อย่างเช่น กระเป๋า เสื้อผ้า กางเกง ฯลฯ การตั้งราคาก็จะเป็นการตั้งราคาที่เลขลงท้ายด้วย 9 อย่างเช่น
“เสื้อยืดแล้วหดไม่ได้ ตัวละ 199 บาท”
“ชุดนอนไม่ได้นอน ชุดละ 999 บาท”
การตั้งราคาแบบนี้เป็นที่นิยมกันมากที่สุดเพราะเป็นการตั้งราคาเพื่อให้ได้กำไรอย่างเหมาะสม และลูกค้าก็ไม่ต่อรองราคาลงไปจากเดิมมากนัก
ที่มา  Graphic Buffet
9.กลุ่มสินค้าขายส่ง
กลุ่มนี้จะมีการตั้งราคาที่ลงท้ายด้วยตัวเลขอะไรก็ได้และต้องไม่มีเศษสตางค์ แต่ตัวเลขที่นิยมลงท้ายก็มักจะเป็นตัวเลข 5 และเลข 0 เหมือนๆกับกลุ่มสินค้าที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจง่าย เพราะสินค้ากลุ่มนี้ลูกค้ามีความตั้งใจที่จะมาซื้ออยู่แล้ว
ที่สำคัญหากใช้ตัวเลขที่มีจุดทศนิยมหรือเป็นสตางค์ จะทำให้ลูกค้ารำคาญพาลตัดสินใจไม่ซื้อเลยก็ได้ แต่วัตถุประสงค์ที่แท้จริงก็คือการทำให้ขบวนการซื้อเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น ถึงแม้ว่าปัจจุบันก็จะเป็นการสแกนจ่ายเงินแต่การที่ราคาลงท้ายด้วยจุดทศนิยมก็ยังทำให้ลูกค้ารู้สึกอึดอัดไม่อยากซื้ออยู่ดี
ที่มา  DOKUMEN.TIPS
ทั้งหมดเป็นการรวมรวมวิธีการตั้งราคามาจากกูรูต่างๆและมาจากประสบการณ์ในการทำงานในห้างค้าปลีกและค้าส่งของ “ยุคใหม่การตลาดของไทย” ซึ่งก็ได้รับการพิสูจน์ในเบื้องต้นมาแล้วว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ แต่อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ไม่ได้เป็นบรรทัดฐานที่เป็นตัวกำหนดวิธีการตั้งราคาแต่อย่างใด เพราะยุคสมัยเปลี่ยนวิธีการอาจจะเปลี่ยนก็เป็นได้
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
Instagram: Modernizationmarketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
Face Book Page: Thailand Modern Marketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
สนใจการทำตลาดสุขภาพที่มีการรับรองจากเอกสารทางการแพทย์แล้ว
ติดต่อได้ที่
Facebook Page: โรคเบาหวานเป็นได้ก็หายได้
สนใจตัดต่อคลิปวีดีโอ
สามารถติดต่อได้ที่: Inbox หรือที่ Email sarayuth407@hotmail.com
โฆษณา