6 เม.ย. 2021 เวลา 23:00 • ธุรกิจ
9 Cultural Values ที่บริษัทชั้นนำทั่วโลกใช้
1
9 Cultural Values ที่บริษัทชั้นนำทั่วโลกใช้
สำหรับวันนี้เราจะคุยกันถึงโปรเจคที่น่าสนใจมากของ MIT Sloan หรือที่เรารู้จัก (MIT: Massachusetts Institute of Technology) ซึ่งเป็นสถาบันที่มีความโดดเด่นเรื่องงานวิจัยและการศึกษาในสาขาต่าง ๆ ซึ่งมีท่านเอ็ดการ์ ชายน์ (Edgar Schein) ปรมาจารย์ด้านวัฒนธรรมองค์กร เป็นศาสตราจารย์ (professor) อยู่ที่นี่ด้วย
MIT Sloan ได้จัดทำโครงการวิจัยขนาดใหญ่เพื่อวัด “วัฒนธรรมองค์กร” โดยใช้ข้อมูลรีวิวจากพนักงาน 1.2 ล้านคน ผ่านเว็ปไซต์ Glassdoor.com ซึ่งงานวิจัยนี้จะช่วยทำให้เราเห็นภาพรวมของ “วัฒนธรรมองค์กร” ในองค์กรชั้นนำของโลกว่าใช้ Core Value ตัวไหนในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ แล้วสรุปออกมาเป็น “The Big 9 Cultural Values” หรือคือ “9 กลุ่มวัฒนธรรมองค์กรที่สำคัญที่สุด” เราลองมาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
กลุ่มที่ 1 : Agility : “การทำงานที่มีการตอบสนองรวดเร็วและการปรับตัวที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงแบบไร้ทิศทาง”
โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่มีเรื่องของ Disruption (การปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เข้ามา) หรือความไม่ชัดเจนของทิศทางในอนาคตอันเกิดจากปัจจัยแวดล้อม จึงทำให้คำว่า “Agility” เป็นสิ่งที่องค์กรต้องการให้เกิดขึ้นกับพนักงาน ซึ่งองค์กรที่มีการแข่งขันสูง ต้องเท่าทันคู่แข่ง ต้องวิเคราะห์ทิศทางใหม่ ๆ ของตลาดอยู่ตลอดเวลา จึงเหมาะมากที่จะนำ Agility เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ Core Value องค์กร
ซึ่งนอกจากคำว่า “Agility” ยังสามารถใช้คำอื่นทดแทนได้ อย่างเช่น Flexibility (ความยืดหยุ่น)Nimble (ว่องไว) Fast moving (เคลื่อนไหวเร็ว) ก็อาจช่วยให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นได้
กลุ่มที่ 2 : Collaboration : “ความสามารถในการทำงานร่วมกันของพนักงานทั้งหมด”
แล้วคำนี้แตกต่างจากคำว่า Teamwork ยังไง? กล่าวคือ ทั้งสองคำ Collaboration (การทำงานร่วมกัน) และ Teamwork (การทำงานเป็นทีม) ล้วนเกี่ยวข้องการทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน
ความแตกต่างคือ ในงานชิ้นหนึ่ง ทุกคนมีเป้าหมายร่วมกัน มีการกระจายงานไปตามความถนัดและมีผู้นำทีมคอยกำกับดูแล อันนี้เรียก “Teamwork”
เช่นเดียวกัน ในงานชิ้นหนึ่ง ทุกคนมีเป้าหมายร่วมกัน แต่ทุกคนทำงานร่วมกันอย่างเท่าเทียม คิดหรือตัดสินใจร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และมักไม่มีผู้นำ คือ “Collaboration”
ซึ่งคำนี้ถือเป็นตัวที่เหมาะในการใส่ลงไปใน Core Value โดยเฉพาะองค์กรที่ต้องมีการทำงานร่วมกัน มีการส่งต่องานกันข้ามแผนก นอกจากจะใช้คำว่า “Collaboration” แล้ว ยังสามารถใช้คำอื่นได้อีก เช่น One company (องค์กรหนึ่งเดียว) We are one team (พวกเราเป็นหนึ่ง) เป็นต้น
1
กลุ่มที่ 3 : Customer : “การให้ความสำคัญโดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง รับฟังและตอบสนองความต้องการ”
แต่ก่อนเวลาที่เราพูดถึงคำว่า “ลูกค้า” เรามักจะคิดว่ามันคือหน้าที่ของ ฝ่ายขาย ฝ่ายบริการ โดยตรง แต่ปัจจุบันนี้คำว่า “ลูกค้า” คือ ความรับผิดชอบของทุกคนในองค์กรที่ต้องร่วมกันดูแล ซึ่งองค์กรที่โดดเด่นในเรื่องการดูแลลูกค้าในงานวิจัยนี้ ส่วนใหญ่เป็นองค์กรที่ทำเกี่ยวกับ Consumer products (สินค้าอุปโภคบริโภค)
นอกจากองค์กรกลุ่มนี้ องค์กรอื่น ๆ ก็สามารถมีคำนี้อยู่ใน Core Value ได้ เช่น มีองค์กรหนึ่งที่ใส่คำนี้เข้าไปใน Core Value เพราะเขาต้องการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดและพฤติกรรมบางอย่างของพนักงาน เนื่องจากพนักงานมีความเคร่งครัดกับขั้นตอนการทำงานบางอย่างมากเกินจนกระทบกับลูกค้า องค์กรนั้นก็ใช่คำนี้เข้าไปช่วย เป็นต้น
นอกจากคำว่า “Customer” ยังมีคำอื่นที่น่าสนใจ เช่น Customer focus (การมุ่งเน้นที่ลูกค้า) Deliver for our clients (การส่งมอบให้ลูกค้า) Customer-driven (การขับเคลื่อนโดยลูกค้า)
กลุ่มที่ 4 : Diversity : “การส่งเสริมความหลากหลาย และการทำงานที่ไม่มีใครถูกทำให้เสียเปรียบเพราะเรื่องเพศ เชื้อชาติ รสนิยมทางเพศ ศาสนา หรือสัญชาติ”
ซึ่งคำว่า Diversity มักจะปรากฏในองค์กรขนาดใหญ่ มีหลายสาขา ซึ่งองค์กรในประเทศไทยก็เริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นคำที่ส่งเสริมให้คนเกิดความเข้าใจในเรื่องความหลากหลายของมนุษย์มากขึ้นด้วย
นอกจากคำนี้ยังมีคำอื่นที่ให้ความหมายดี ๆ เช่น Everyone is welcome (ยินดีต้อนรับทุกคน) Celebrate difference (การฉลองความแตกต่าง) เป็นต้น
กลุ่มที่ 5 : Execution : “การให้อำนาจ ให้เครื่องมือ ให้ทรัพยากร ที่สนับสนุนการทำงาน เพื่อให้พนักงานเกิดระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงาน”
กลุ่มนี้เหมาะมากกับองค์กรที่มีสินค้าบริการที่มีคนใช้จำนวนมาก ๆ มีผลต่อพฤติกรรมของผู้คน อย่างเช่น บริษัทกลุ่มไอทีต่าง ๆ ที่ต้องลงไปดูแลลูกค้าหน้างาน พนักงานเหล่านี้ควรเกิดความรู้สึกแบบ Execution คือ มีความเป็นเจ้าของ มีอำนาจในการตัดสินใจ เป็นต้น
คำอื่น ๆ ที่สามารถหยิบมาใช้ได้ เช่น Operational excellence (ความเป็นเลิศในการดำเนินงาน) Projects managed well (บริหารโครงการดีเด่น)Take ownership (ความเป็นเจ้าของ) เป็นต้น
กลุ่มที่ 6 : Innovation : “ความเป็นผู้ริเริ่มผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยีในการทำงานใหม่ ๆ”
เดิมทีเวลาเราได้ยินคำว่า Innovation ก็มักจะนึกถึงองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมเจ๋ง ๆ เช่น บริษัท Apple บริษัท 3M แต่ปัจจุบันคำว่า Innovation ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่เพียงเทคโนโลยีแล้ว แต่เป็นองค์กรที่มีการบริการใหม่ ๆ มีแผนธุรกิจใหม่ ๆ มีการทำงานใหม่ ๆ ที่เปลี่ยนรูปแบบในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน เป็นต้น หรืออาจเป็นการจับคู่กับกลุ่มธุรกิจอื่นเพื่ออำนวยประโยชน์ให้แก่ลูกค้า เช่น บริการสั่งอาหาร + ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ + กระเป๋าเงินออนไลน์ + ธนาคาร เป็นต้น
มีคำอื่นที่น่าสนใจ เช่น Cutting edge (เทคโนโลยีที่ดีที่สุด) Leading change (ผู้นำการเปลี่ยนแปลง) Advanced tech (เทคโนโลยีขั้นสูง) เป็นต้น
กลุ่มที่ 7 : Integrity : “ความสัตย์ซื่อและมีจริยธรรมในการทำงาน”
คำนี้มักปรากฏในกลุ่มองค์กรที่ต้องการฉายภาพให้บุคคลภายนอกรับรู้ถึงความน่าเชื่อถือขององค์กร เช่น องค์กรที่เกี่ยวกับเงิน ตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น
นอกจากคำนี้ มีคำว่า Do the right thing (ทำในสิ่งที่ถูกต้อง) Be ethical (มีจริยธรรม) Play by the rules (เล่นตามกฎกติกา) หรืออย่างคำที่กูเกิ้ลใช้ “Don’t be evil)
กลุ่มที่ 8 : Performance : “การให้รางวัลตามผลงานเชิงประจักษ์ของพนักงาน”
มากกว่าการให้ค่ากับความอาวุโส หรืออายุงานในองค์กร ส่วนใหญ่จะปรากฏคำนี้ในกลุ่มองค์กรที่เน้นเรื่องการขาย การช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาด เป็นต้น
1
มีคำอื่น ๆ อีก เช่น Meritocratic (ใครดีใครได้)Recognize achievement (การตระหนักถึงความสำเร็จ) Results-driven (ผลลัพธ์ของการขับเคลื่อน)
กลุ่มที่ 9 : Respect : “การให้เกียรติกันอย่างเท่าเทียม”
คำว่า Respect นั้น A cup of culture เคยพูดถึงมาแล้ว เมื่อครั้งคุยถึงบริษัท IBM ซึ่งเขาใช้คำนี้พาองค์กรไปสู่ความสำเร็จอย่างยาวนานหลายสิบปี มีคำในกลุ่มเดียวกันที่น่าสนใจอีก เช่น Treat with dignity (ปฏิบัติต่อกันอย่างให้เกียรติ) Courtesy (มีมารยาท) Appreciation for each other (ชื่นชมซึ่งกันและกัน)
A Cup of Culture
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture
===============================
🔸 อ่านบทความอื่นๆได้ที่​ https://www.brightsidepeople.com/blog/
===============================
ติดตาม Podcast ของเราในช่องทางอื่น ๆ:
ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือ “The Big 9 Cultural Values” หรือ “9 กลุ่มวัฒนธรรมองค์กรที่สำคัญที่สุด” ที่ MIT Sloan ได้สรุปมาจากผลวิจัยขนาดใหญ่ที่จัดทำขึ้น ซึ่งมีความน่าเชื่อถือมาก ๆ แต่ไม่ใช่ว่าคุณผู้อ่านอ่านจบแล้วจะหยิบไปใช้เลยทันที
โฆษณา