7 เม.ย. 2021 เวลา 09:23 • สุขภาพ
ไขข้อสงสัยค่าประสิทธิภาพของวัคซีนกัน
รู้ไหมว่า ที่เค้าคำนวนประสิทธิภาพวัคซีนว่า
ของแต่ละเจ้า 95% 70% 60% 50% นั้นคำนวนยังไง
วิธีคำนวนประสิทธิภาพวัคซีน คือ การคำนวนอัตราความปลอดภัยจากการติดเชื้อรุนแรงหรือคำนวนจากความเสี่ยง ไม่ได้คำนวนจากภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้น ดังนั้น ประสิทธิภาพของวัคซีน ซึ่งเป็นการคำนวนเปรียบเทียบเป็นอัตรา
วิธีการคิด เค้าเอาคนจำนวนทั้งหมดมา แบ่งครึ่งแล้วฉีดวัคซีนครึ่งหนึ่ง และให้ยาหลอกหรือ placebo ไปครึ่งหนึ่ง หลังจากนั้น ปล่อยให้คนทั้งสองกลุ่มใช้ชีวิตตามปกติ แล้วมาวัดผลว่าแต่ละกลุ่มมีการติดเชื้ออย่างไร
สมมติว่า มีคน 200 คน แบ่งเป็นกลุ่มละ 100 ฉีดวัคซีน อีก 100 ให้น้ำเกลือ ปล่อยไปใช้ชีวิต 2 เดือน แล้วกลับมาดูผล ปรากฏว่ากลุ่มแรกที่ได้วัคซีนติดเชื้อแค่ 4 คน หรือ 0.04% กลุ่มหลังที่ได้ยาหลอกติดเชื้อถึง 74 คน หรือ 0.74%
ดังนั้นการฉีดวัคซีนจะกำจัดความเสี่ยงได้ 0.74% - 0.04% = 0.7%
เมื่อเทียบค่าการลดความเสี่ยงในกลุ่มคนที่ไม่ฉีดแล้วติดนั้นจะเท่ากับ 0.7% หารด้วย โอกาสการติดเชื้อทั้งหมดที่ไม่ได้ฉีดคือ 0.74% ซึ่งจะเท่ากับอัตราประสิทธิภาพ(efficacy rate)ของวัคซีนคือ 95%
ดังนั้นประสิทธิภาพของวัคซีน คือความสามารถในการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
ไม่ได้หมายความว่าสร้างภูมิคุ้มกันได้มากแค่ไหน
จะเห็นว่า ไม่ว่าจะฉีดหรือไม่ฉีดเรายังมีโอกาสติดเชื้ออยู่
ตัวแปรที่สำคัญนอกจากชนิดของเชื้อแล้วเช่นที่ แอฟริกาใต้ กับอังกฤษเชื้อจะเป็นเชื้อกลายพันธ์ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนแล้ว ยังต้องพิจารณาสถานการณ์การระบาดในช่วงระยะเวลาที่ทดลองด้วย อย่าลืมว่า เมื่อฉีดแล้ว เค้าปล่อยให้ไปใช้ชีวิตปกติ ดังนั้นการดูแลตัวเองของแต่ละคน และการใช้ชีวิตของคนแต่ละคนก็เป็นปัจจัยที่ต้องพิจารณาเช่นกัน
1
คราวนี้มาดูว่าระหว่างการทดลองนั้น อุบัติการณ์การติดเชื้อในแต่ละพื้นที่เป็นอย่างไร ถ้าในขณะนั้นมีการติดเชื้อพุ่งสูง ประสิทธิภาพจะลดลงแน่นอน แต่ถ้าในช่วงที่มีการติดเชื้อลดลง ประสิทธิภาพจะเพิ่มขึ้น ดังนั้นผลที่มันเกิดขึ้นคือ มัน swing ไปตามอุบัติการณ์การติดเชื้อด้วย
จากรายงานของ VOX เค้ามีสรุปให้ดูว่า ช่วงที่ Pfizer กับ Moderna ทดลองเป็นช่วงที่อเมริกามีการติดเชื้อน้อย ทำให้ประสิทธิภาพมากถึง 95% แต่ในช่วงที่ JNJ ทดลองนั้นอเมริกามีการติดเชื้อที่สูง ทำให้ประสิทธิภาพที่วัดได้เหลือแค่ 66% ซึ่งมันทำให้ผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนที่ได้นั้นแตกต่างกัน
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ Shinovac จากจีน เมื่อทดลองในจีนแล้วให้ประสิทธิภาพสูง เพราะจีนควบคุมโรคได้ดีแล้ว สถานการณ์การระบาดสงบลงไปแล้ว ประสิทธิภาพจึงสูง แต่เมื่อทดลองใน บราซิลที่มีการแพร่ระบาดพุ่งสูงจึงทำให้ประสิทธิภาพลดลงเหลือ 50%
ดังนั้นการฉีดวัคซีนตามที่ WHO วางกลยุทธ์ไว้คือ การลดความรุนแรงของโรค โดยวัคซีนโควิดทุกตัวนั้น ได้รับการประเมินแล้วว่า ช่วยลดความรุนแรงถึงขั้นสูงสุดต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและลดอัตราการเสียชีวิตได้ทุกตัว
ความแตกต่างที่ควรพิจารณาในการเลือกฉีดจึงไม่ใช่แค่ประสิทธิภาพอย่างเดียว
อย่างแรกเราต้องดูว่า วัคซีนตัวนั้นลดโอกาสการเสียชีวิตมากแค่ไหน ลดโอกาสเข้าไปนอนรักษาที่ รพ. มากน้อยแค่ไหน
เราต้องถามต่อว่า ช่วงที่เค้าทดลองนั้นสถานการณ์การแพร่ระบาดเป็นอย่างไร มีการติดเชื้อสูงไหม แล้วแต่ละประเทศมีเชื้อกลายพันธุ์ไหม
นอกจากนี้ เราควรพิจารณาการฉีดจาก ราคา ความปลอดภัย การขนส่ง เป็นปัจจัยหลักมากกว่าที่จะอาศัยเรื่องประสิทธิภาพเพียงอย่างเดียว
ใครที่อยากอ่านการคำนวนประสิทธิภาพอ่านได้จาก NYTime ครับ
แนะนำให้ดูคลิปของ VOX ด้วยเค้าสรุปมาดีมาก
โฆษณา