16 เม.ย. 2021 เวลา 00:00 • ความคิดเห็น
ปรัชญาจากข้าวผัด
3
ครั้งหนึ่งเพื่อนคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของภัตตาคารจีนบอกว่าอาหารจานที่ทำยากที่สุดคือข้าวผัด
1
ฟังดูไม่น่าเชื่อ เพราะข้าวผัดเป็นอาหารพื้น ๆ ไม่พิสดารและแพงเหมือนหูฉลาม เป็ดปักกิ่ง ฯลฯ
เมื่อถามถึงเหตุผล เขาบอกว่า เหตุที่ทำยากที่สุด เพราะข้าวผัดที่อร่อยนั้น ข้าวทุกเม็ดต้องถูกความร้อนสม่ำเสมอ ข้าวต้องไม่แฉะเกินไป เพราะจะติดกระทะ ไม่แห้งเกินไปเพราะจะแข็ง
3
การผัดให้ข้าวทุกเม็ดรับความร้อนต้องกวัดไกวตะหลิวเป็นจังหวะ ไม่เร็วเกินไป ไม่นานเกินไป ดังนั้นในการทดสอบหาพ่อครัวแม่ครัวประจำร้าน จึงมักให้ทดสอบด้วยการทำข้าวผัด
1
หลักการของการผัดข้าวที่ดีตรงกับหลักการใช้ชีวิตที่ดีเช่นกัน
ชีวิตคนเราก็เหมือนข้าวผัด ต้องให้ถูกความร้อนสม่ำเสมอ ไม่สุกเฉพาะบางส่วน ไม่ใช้ชีวิตเร็วเกินไป ไม่รีบร้อน แต่ก็ไม่ช้าเกินไป
3
บ่มจนเกิดปัญญา บ่มทั้งตัวจนมีความรู้ครบถ้วน ไม่สุกเอาเผากิน
2
เมื่อเรียนหนังสือ ก็เรียนเพื่อให้รู้ ไม่ใช่เรียนเอากระดาษแผ่นเดียว รู้ว่าเรารู้อะไร ไม่รู้อะไร แยกแยะความแตกต่างให้ออกระหว่าง 'ระบบการศึกษา' กับ 'ความรู้' ดังที่มหาเศรษฐี มัลคอล์ม ฟอร์บส์ กล่าวว่า จุดมุ่งหมายของการศึกษาคือการเปิดสมองให้กว้าง
9
อ่านหนังสือก็อ่านอย่างหลากหลาย อ่านเพื่อให้ชีวิตดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น เนื่องจากการอ่านออกเป็นคนละเรื่องกับการรู้ว่าสมควรอ่านอะไร
4
ใช้ชีวิตอย่างอ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ แข็งแกร่ง แต่ไม่แข็งกระด้าง
13
ใช้ชีวิตให้คุ้มกับทุก ๆ นาทีที่ได้มา
3
กล้วยไม้เป็นพืชที่โตช้ามาก กว่าจะผลิดอกแต่ละดอก กินเวลานาน ต้องดูแลและให้ปุ๋ยต่อเนื่อง
1
แต่เมื่อมีดอกแล้ว ดอกของมันอยู่ได้นานเป็นเดือน ๆ
1
คนเราก็เช่นกล้วยไม้ ต้องฝึกฝน เคี่ยวกรำ ต้องใส่ปุ๋ยให้ตัวเองตลอดเวลา
1
ชีวิตคนเราสั้น เราจึงสมควรทำให้ชีวิตของเรา 'อร่อย'
แต่เราต้องเป็นคนปรุงอาหารชีวิตจานนี้เอง
.
1
จากหนังสือ อาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก
โฆษณา