10 เม.ย. 2021 เวลา 14:12 • ธุรกิจ
รัฐบาลไม่ได้ทำให้การนำเข้าวัคซีนโควิด-19 ของเอกชนช้า
1
ข่าวจากหลายสื่อที่ออกมาเราจะพบว่าเครือข่ายโรงพยาบาลเอกชน /สมาคมโรงพยาบาลเอกชน ที่มีความประสงค์ในการนำเข้าวัคซีนโควิด19 เพื่อเพิ่มการเข้าถึงวัคซีนของภาคประชาชนให้มากขึ้น แต่ยังติดขั้นตอนทางราชการที่ทำให้เกิดความล่าช้า รวมถึงความล่าช้าของการออกเอกสารรับรองจากสำนักงานอาหารและยา (อ.ย.) ให้กับผู้นำเข้าเพื่อนำไปเป็นหลักฐานแสดงต่อษัทผู้ผลิตวัคซีนที่มีการร้องขอมานั้น ปรากฏว่าเรื่อวนี้เป็นเรื่อง “โอละพ่อ”
ที่มา สถาบันวัคซีนแห่งชาติ
จากการเปิดเผยของ นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี ในวันที่ 9 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา ที่ได้ร่วมแถลงข่าวประเด็นความร่วมมือในการจัดหาวัคซีนร่วมกับภาคเอกชน ในเรื่องของแนวทางในการจัดหาและบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพิ่มเติมให้กับประชาชน เพราะจะมีความคล่องตัวกว่าภาครัฐเพิ่มช่องทางให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนมากขึ้น การร่วมดำเนินงานจะเป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้ ซึ่งทาง อย. ได้เปิดกว้างการขึ้นทะเบียนวัคซีนทุกชนิด ให้ผู้ขอขึ้นทะเบียนส่งเอกสารเข้ามาพิจารณาเพื่อให้เกิดความมั่นใจในประสิทธิภาพและความปลอดภัย
1
ซึ่งความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในครั้งนี้จะเป็นการก่อประโยชน์ในด้านสารธารณะสุขได้มาก เพราะสามารถช่วยกระจายวัคซีนไปสู่ประชนได้มากและเร็วขึ้น สร้างความสะดวกต่อประชาชนที่ต้องการรับวัคซีน มีผลต่อการป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดใหญ่ขึ้นมา นพ.นคร กล่าวต่อว่า “ปัจจัยที่น่ากังวลและต้องให้ความสำคัญนั่นก็คือการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส ถึงแม้ว่าวัคซีนที่มีอยู่ยังสามารถใช้ป้องกันโรคและอาการป่วยรุนแรงได้ แต่ก็ไม่มีใครคาดการณ์ได้เลยว่าจะสามารถป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ได้ขนาดไหน” และยังย้ำว่า ยินดีที่ภาคเอกชนมีเจตนาในการเข้ามาเสริมการทำงาน เพื่อช่วยกันเดินหน้าต่อสู้กับภัยการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดด้วยกัน
ที่มา สถาบันวัคซีนแห่งชาติ
นี่คือการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ แต่ที่ว่าภาครัฐทำให้ขบวนการการนำเข้าวัคซีนล่าช้าไม่ได้อำนวยความสะดวกแก่ภาคเอกชน ได้มีการนำคำชี้แจ้งของ นพ.นคร เปรมศรี ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ มาเปิดเผย โดยแหล่งข่าวแจ้งว่าได้ข้อมูลจากห้องนักบริหารสาธารณสุข โดย นพ. นคร แจ้งว่า ยังมีความไม่เข้าใจเรื่องการนำเข้าวัคซีนอยู่มาก จึงขอชี้แจงให้ทราบว่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “โอละพ่อ”
1. เรื่องที่ต้องมีการขออนุญาตขึ้นทะเบียนวัคซีนก่อนการใช้ นั่นหมายถึงว่าผู้ขออนุญาตเป็นผู้ถือทะเบียนและรับผิดชอบการจำหน่ายวัคซีนในประเทศ ในกรณีนี้มีบางบริษัทที่มีตัวแทนในประเทศไทยแล้วก็จะต้องให้บริษัทนั้นเป็นผู้ดำเนินการในเรื่องนี้ อย่างแอสทราเซเนกา (AstraZeneca) และ จอห์นสัน แอนด์ จอห์สัน (Johnson & Johnson’s) ที่เป็นบริษัทลูกในประเทศไทยหากไม่นำวัคซีนมาขึ้นทะเบียนไม่ว่าจะมีเหตุผลประการใดก็ตาม หน่วยงานอื่นหรือบริษัทอื่นก็ไม่สามารถทำให้ได้ เรื่องนี้ข้อจำกัดไม่ได้ไม่ได้เกิดจากภาครัฐแต่อย่างใด
ที่มา มติชนออนไลน์
2. ในส่วนของผู้ผลิตรายอื่นที่ไม่มีบริษัทลูกในไทย ต้องต้องทำการจัดตั้งตัวแทนที่ได้รับอนุญาตจากบริษัท (Authorized Representative) ขึ้นมา และต้องทำการยื่นเอกสารที่เป็นเอกสารลับระดับสูง (Highly Confidential Document) เพื่อนำมาขอขึ้นทะเบียน เช่น ในกรณีของ ซิโนแวค (Sinovac) ได้มอบหมายให้องค์การเภสัชกรรม และ โมเดอน่า (Moderna) ได้มอบหมายให้ บริษัทซิลลิค ฟาร์ม่า เป็นผู้แทน ซึ่งหน่วยงานของเอกชนที่จะขอนำเข้าวัคซีนของรายอื่นนอกจากนี้เพื่อมามาขึ้นทะเบียนก็ต้องติดต่อไปที่บริษัทผู้ผลิตเอง เรื่องนี้ภาครัฐก็ไม่ได้ปิดกันเช่นกัน
Credit:  Obelis
3. หลายบริษัทที่ผู้ผลิตมีนโยบายขายให้แก่ภาครัฐเท่านั้นเช่น Pfizer AstraZeneca Johnson & Johnson’s แต่หากจะเปลี่ยนนโยบายก็สามารถดำเนินการได้ภายหลัง ซึ่งเป็นเรื่องของแต่ละบริษัทภาครัฐไม่ได้บังคับ เหตุผลสำคัญที่เอกชนอยากจะขายให้เฉพาะกับรัฐ เพราะว่าเป็นวัคซีนใหม่ที่นำมาใช้ในกรณีเร่งด่วนในช่วงการแพร่ระบาด ซึ่งผู้ผลิตวัคซีนทุกรายยื่นเงื่อนใขให้ภาครัฐยอมรับเงื่อนไข No Fault Compensation คือการห้ามไม่ให้ผู้รับวัคซีนมีการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ผลิตวัคซีนกรณีเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง
4. ปริมาณของวัคซีนที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการผู้ผลิตทุกรายมีปัญหาเรื่องนี้ ผู้ผลิตมีกำหนดส่งมอบวัคซีนได้เร็วที่สุดคือในไตรมาสที่สามของปีนี้ ยกเว้น ซิโนแวค (Sinovac) ที่มีสัญญาส่งมอบให้ได้ตั้งแต่กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาแต่เป็นการทยอยส่งมอบ ส่วนแอสทราเซเนกา (AstraZeneca) มีกำหนดการส่งมอบได้มิถุนายน ศกนี้
Credit:  Anadolu Agency
5. การที่กลุ่ม รพ.เอกชน ที่จะรวมตัวกันเรียกร้องให้เปิดการนำเข้าวัคซีน ทางหน่วยงานได้เชิญมารับฟังการอธิบายเพื่อให้รับทราบเรียบร้อยแล้วว่าไม่ได้ปิดกั้น แต่เอกชนกลุ่มดังกล่าวไม่ได้ออกมาบอกว่าเป็นความเข้าใจผิดที่คิดกันไปเองว่าจะหาซื้อได้ทั่วไปที่ไม่ได้มีเงื่อนใขข้างต้นแต่ภาครัฐไม่ให้ความร่วมมือ
 
6. ในกรณีที่ภาคเอกชนทำการโฆษณาให้ประชาชนจองวัคซีนทั้งที่ไม่มีวัคซีน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายการโฆษณายา เมื่อถูกดำเนินการปรับแล้วได้ยอมรับผิดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กลับพบว่าไม่มีการออกมาแถลงการว่าตัวเองทำผิดกฏหมายแต่อย่างใด สร้างให้เกิดความเข้าใจผิดว่าสภาครัฐปิดกั้นไม่อำนวยความสะดวกให้
ที่มา Hfocus.org
นี่คือข้อมูลที่มีการแชร์ต่อมาจากกลุ่มไลน์ในเรื่อง “ช่วยเเชร์ นะคะ จะได้ไม่เข้าใจผิดรัฐบาลว่านำวัคซีนเข้ามาช้า”
การที่เรามีข้อมูลมาจากทั้งสองฝ่ายจะทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ชัดเจนถูกต้องมากขึ้น เรื่องนี้จึงเป็นอีกเรื่องที่เราควรนำมาพิจารณาในการที่ไม่ฟังความข้างเดียว ซึ่งแหล่งข่าวที่ได้มาก็ยังเป็นแหล่งข่าวที่ไม่เป็นทางการ แต่เราสามารถตรวจสอบย้อนกลับในทุกเรื่องได้โดยไม่อยากอยู่แล้ว เพราะความจริงคือสิ่งที่ไม่มีใครปฏิเสธ์ได้
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
Instagram: Modernizationmarketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
Face Book Page: Thailand Modern Marketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
สนใจการทำตลาดสุขภาพที่มีการรับรองจากเอกสารทางการแพทย์แล้ว
ติดต่อได้ที่
Facebook Page: โรคเบาหวานเป็นได้ก็หายได้
สนใจตัดต่อคลิปวีดีโอ
สามารถติดต่อได้ที่: Inbox หรือที่ Email sarayuth407@hotmail.com
โฆษณา