11 เม.ย. 2021 เวลา 13:14 • สุขภาพ
ผอ.ศูนย์ควบคุมโรคของจีนยอมรับ วัคซีนชาติตัวเองประสิทธิภาพต่ำ
เร่งแก้ปัญหาด้วยการผลิตวัคซีนที่หลากหลายขึ้น
3
ปกติแล้วไม่เรื่องง่ายที่ประเทศอย่างจีนจะยอมรับว่านวัตกรรมของชนชาติตัวเองมีข้อเสียหรือข้อด้อย ยิ่งเมื่อเป็นประเทศมหาอำนาจแล้วเหมือนมีศักดิ์ศรีบางอย่างมาค้ำคอมังกรอยู่
1
แต่ล่าสุดหน่วยงานด้านสาธารณสุขของจีนออกมายอมรับเป็นครั้งแรกว่า วัคซีนที่ผลิตเองและใช้อยู่ ณ ขณะนี้มีปรสิทธิภาพค่อข้างต่ำ ในการป้องกันไวรัสโควิด – 19
เปิดเผยจากการประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับสูงที่จัดขึ้นในเมืองเฉิงตู ซึ่งผู้ที่ออกมาพูดยอมรับคือ ดร. เกาฟู ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ซึ่งหนังสือพิมพ์ The Paper ได้มีการอ้างคำพูดของผู้บริหารคนนี้
1
“ทางการต้องพิจารณาแนวทางในการแก้ปัญหาที่อัตราประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีอยู่ไม่สูงนัก"
นับเป็นครั้งแรกที่ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของจีนกล่าวยอมรับประสิทธิภาพของวัคซีนชาติตัวเองที่ประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำ ท่ามกลางการรณรงค์ให้มีการฉีดวัคซีนจำนวนมากทั่วประเทศและส่งออกไปฉีดไปทั่วโลก
1
จีนกำลังพิจารณาการผสมวัคซีนโควิด -19 ที่แตกต่างกันเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพที่ค่อนข้างต่ำของตัวเลือกที่มีอยู่
ทั้งนี้ประเทศจีนให้ได้ทำการฉีดวัคซีนไปแล้วประมาณ 161 ล้านโดสนับตั้งแต่เริ่มฉีดวัคซีนเมื่อปีที่แล้ว ผู้คนส่วนใหญ่ต้องฉีดวัคซีน 2 ครั้งและตั้งเป้าที่จะฉีดวัคซีนให้ครบ 40% จากประชากรทั้งสิ้นราว 1,400 พันล้านคนภายในเดือนมิถุนายน
ก่อนหน้านี้ ดร. เกา ได้เน้นย้ำว่าวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด -19 คือการฉีดวัคซีนและกล่าวในการสัมภาษณ์สื่อของรัฐเมื่อเร็วๆ นี้ว่าจีนตั้งเป้าหมายที่จะฉีดวัคซีน 70 – 80% ของประชากรระหว่างสิ้นปีนี้ กลางปี 2565
1
ในการประชุมที่เมืองเฉิงตูเมื่อวันเสาร์ (10 เมษายน 64) ดร. เกากล่าวเพิ่มเติมว่าทางเลือกในการเอาชนะปัญหาด้านประสิทธิภาพคือ การเปลี่ยนการใช้ปริมาณวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ซึ่งนี่เป็นทางเลือกหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์นอกในประเทศอื่นๆ นอกจากจีนกำลังศึกษาเช่นกัน
1
ดร. เกากล่าวว่าผู้เชี่ยวชาญไม่ควรเพิกเฉยต่อวัคซีน mRNA เพียงเพราะมีไวรัสวัคซีนไวรัสโคโรนาอยู่หลายอยู่ตัวในประเทศแล้ว จึงเรียกร้องขอให้มีการพัฒนาต่อไป
ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนตัวไหนของจีนที่ได้รับการรับรองตามเงื่อนไขสำหรับตลาดวัคซีนที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี mRNA มีเพียงวัคซีนบางบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีนี้ในการผลิตได้แก่ Pfizer ยักษ์ใหญ่ด้านยาของสหรัฐอเมริกา และ BioNTech ที่เพิ่งเริ่มต้น และ Moderna
วัคซีนของจีนที่ได้รับการรับรองตามเงื่อนไข 4 ชนิด ซึ่งอัตราประสิทธิภาพที่เผยแพร่ยังคงด้อยกว่าคู่แข่งโดย Pfizer-BioNTech และ Moderna ซึ่งมีอัตราการป้องกันที่ 95% และ 94% ตามลำดับ
ก่อนหน้านี้ Sinovac ของจีนกล่าวว่าการทดลองในบราซิลแสดงให้เห็นประสิทธิภาพประมาณ 50% ในการป้องกันการติดเชื้อ และประสิทธิภาพ 80% ในการป้องกันกรณีที่มีการป้องกันในระดับรุนแรง
1
ส่วน Sinopharm มีอัตราประสิทธิภาพ 79.34% และ 72.51% ตามลำดับในขณะที่ประสิทธิภาพโดยรวมของ CanSino อยู่ที่ 65.28% หลังจากฉีดไปแลว 28 วัน
อย่างไรก็ตามวัคซีนของบริษัทอื่นๆ ก็มีไม่มากพอที่จะกระจายไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก เนื่องจากกำลังการผลิตที่น้อยกว่าความต้องการสั่งซื้อของรัฐบาลทุกๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศผู้ผลิตวัคซีนต่างสงวนไว้ฉีดให้กับประชากรในประเทศของตัวเองก่อนที่จะส่งออก ทำให้เวลานี้วัคซีนขาดแคลนอย่างหนักในทุกๆ ยี่ห้อ
2
แหล่งอ้างอิง
The Straits Times : China mulls over mixing Covid-19 vaccines to improve efficacy of jabs
โฆษณา