12 เม.ย. 2021 เวลา 05:30 • การเมือง
เมื่อเกิดการตั้งคำถามที่ว่า
"สถาบันกษัตริย์ยังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่ในยุคสมัยใหม่"
บทบรรณาธิการของสื่อ Independent UK 🇬🇧
ที่เผยแพร่เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ระบุหัวข้อ
‘ในขณะที่เราแสดงความเคารพต่อเจ้าชายฟิลิป
เราควรตั้งคำถามด้วยว่าเราต้องการระบอบกษัตริย์แบบไหน’
“แน่นอนว่าการสิ้นพระชนม์ของดยุกแห่งเอดินบะระ ย่อมนำไปสู่การพิจารณาบทบาทของของราชวงศ์อังกฤษในยุคสมัยใหม่อีกครั้ง”
บทความอธิบายว่า ปฏิกิริยาของสาธารณชนต่อการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายฟิลิป ทั้งการแสดงออกถึงความโศกเศร้า ผสมผสานการกับการแสดงออกถึงความรัก คือมาตรชี้วัด “ความสำเร็จ” ของพระองค์กับควีน ที่ได้ร่วมกันปรับปรุงสถาบันกษัตริย์
“การจากไปของพระองค์ไม่เพียงทิ้งไว้ซึ่งความว่างเปล่าในชาติ แต่ยังทำให้เกิดช่องว่าง ณ ใจกลางของราชวงศ์อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเรา”
"หนึ่งในช่วงเวลาสำคัญที่ทำให้เห็นถึงความเหมาะสมของสถาบันกับยุคสมัยใหม่ คือการตัดสินใจที่ได้รับการชี้แนะโดยเจ้าชาย ในการอนุญาตให้ผลิตสารคดี Royal Family ปี 1969"
,
ซึ่งก็มีชาวอังกฤษบางส่วน แสดงความไม่เห็นด้วยกับการกล่าวอ้างที่ว่า สถาบันกษัตริย์นั้น เหมาะสมกับโลกยุคใหม่
🗣 ไม่ต้องมีเลยได้มั้ยระบอบนี้ ผมไม่ต้องการ
🗣 ไม่เคยรู้ตัวมาก่อนเลยนะเนี่ยว่าฉันต้องการให้มีระบอบกษัตริย์ด้วย
🗣 ผมชอบเจ้าชายฟิลิปนะ แกฮาดี แต่บอกตามตรง มันถึงเวลาแล้วที่เราต้องก้าวผ่านเรื่องไร้สาระนี่ ถึงเวลาที่ต้องเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 แล้ว ถึงแม้มันจะช้าไป 20 ปีก็เถอะ
🗣 ความคิดเห็นเรื่องการยุติระบอบกษัตริย์หลังจากควีนสิ้นพระชนม์ มันดังกึกก้องและขยับขยายขึ้นมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว มันไม่เหลือความต้องการในการต่ออายุสถาบันสุดพิลึกกึกกือนี่ในสหราชอาณาจักร หรือประเทศอื่น ๆ ในเครือจักรภพอีกต่อไป
บทความที่คุณเขียนนั้นเพ้อเจ้อ และถ้าหากคุณเชื่อจริง ๆ ว่าเจ้าชายฟิลิปได้ทำให้สถาบันกษัตริย์ “ทันสมัย” ฉันก็คงต้องยั้งปากตัวเองไม่ให้พูดถึงอุปนิสัยที่เลวร้ายที่สุดของเขา เนื่องจากเขาเพิ่งจะตายไป แต่มันไม่มีข้ออ้างใดเลยที่จะต้องมาประจบสอพลอกับเรื่องไร้เหตุผลแบบนี้
.
.
หลังจากนั้นไม่นาน สื่อ Independent ก็ได้เผยแพร่อีกหนึ่งบทความ ที่พาดหัวว่า
‘ระบอบกษัตริย์ไปด้วยกันไม่ได้กับสังคมประชาธิปไตยเต็มใบ’
📝 ฉันไม่เห็นด้วยกับมุมมองที่ว่า สถาบันกษัตริย์ที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษนั้น สอดคล้องกับสังคมประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ
“การดำรงอยู่ของ ‘หลักการแห่งการสืบทอดทางพันธุกรรม’ ที่อยู่ในจุด “สูงสุด” ของสังคม ได้สร้างความชอบธรรมให้กับความไม่เท่าเทียมมากมายทั่วประเทศ
การดำรงอยู่ของ ‘สภาสูง’ ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เป็นเพียงแค่ตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น เช่นเดียวกับความจริงเรื่องที่ระบบของโรงเรียนรัฐ ยังคงผลิตบุคคลชั้นนำในแวดวงธุรกิจ, การเมือง, ศิลปะ ออกมาจำนวนมากอย่างไม่สมส่วน
นับเป็นเรื่องที่ยากที่จะต่อสู้กับความผิดรูปผิดส่วนที่เกิดขึ้นในประเทศนี้ ที่ยังคงยอมรับและรักษาระบอบกษัตริย์ไว้ชั่วกัลปวสาน ✍🏻
อ้างอิง :
โฆษณา