16 เม.ย. 2021 เวลา 07:00 • ข่าว
เกมออนไลน์พิสูจน์ Emotion Recognition
 
ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้สร้างเกมออนไลน์ที่เว็บไซต์ emojify.info เพื่อแสดงให้เห็นถึงอันตรายของเทคโนโลยีตรวจจับอารมณ์ (Emotion recognition) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีการถกเถียงด้านประเด็นทางจริยธรรมกันมายาวนาน
แม้หลายคนมองว่าเทคโนโลยีนี้อาจมีประโยชน์ในหลายทาง เช่น เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน หรือทำวิจัยการตลาด แต่อย่างไรก็ตาม ก็อาจจะรุกล้ำประเด็นด้านสิทธิส่วนบุคคล เสรีภาพทางการแสดงออก และอาจก่อให้เกิดอคติหรือการแบ่งแยกอีกด้วย
ฝั่งทีมพัฒนาเทคโนโลยีได้อ้างว่าเทคโนโลยีนี้จะสามารถตรวจจับอารมณ์และความรู้สึกที่แท้จริงของเราได้ และนักวิทยาศาสตร์จึงพิสูจน์ข้ออ้างนี้ผ่านการสร้างเกมออนไลน์ขึ้นมา เกมออนไลน์ดังกล่าวเปิดให้คนได้ทดลองใช้ระบบ Emotion recognition ผ่านทางคอมพิวเตอร์ของตนเอง โดยเกมจะให้ผู้ใช้แกล้งยิ้มแล้วดูว่าระบบจะตรวจจับว่าเป็นรอยยิ้ม หรือจะเข้าใจจริง ๆ ว่าเรากำลังแกล้งยิ้ม
เกมนี้ต้องการพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่า อารมณ์ที่แท้จริงของเรานั้นไม่ใช่สิ่งที่แสดงออกอย่างตื้นเขินผ่านสีหน้าเพียงอย่างเดียว
เรื่องการแสดงออกทางสีหน้านั้นสามารถปลอมกันขึ้นมาได้ ทำให้ Emotion recognition อาจไม่ได้มีประสิทธิภาพอย่างที่หลายคนคิด
Scientists have created online games through emojify.info website to show risks of AI Emotion recognition as the public can try pulling faces to trick the technology, while critics highlight human rights concerns.
Technology is designed to prove valuable in myriad situations, from road safety to market research. But critics say the technology not only raises privacy concerns, but is inaccurate and racially biased.
A team of researchers claimed that this technology can read our emotions, our inner feelings from our faces so the scientists decided to create this game to raise awareness of the technology and promote conversations about its use. The public can try out emotion recognition systems through their own computer cameras. Users are invited to pull a series of faces to fake emotions and see if the system is fooled. To that end, the emotion recognition might not be as efficient as we think it is.
บทความโดย: ทีม Sertis
โฆษณา