19 เม.ย. 2021 เวลา 07:00 • ข่าว
หรือแท้จริงแล้ว เราอยู่ในโลก The Matrix
เมื่อเร็ว ๆ นี้ นักปรัชญาชาวสวีเดน นิก บอร์สตอร์ม (Nick Bostorm) ได้ตีพิมพ์งานวิจัยสุดแปลกที่นำเสนอว่าเราอาจอยู่ในความเป็นจริงเสมือน ที่สร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ ซึ่งหลายคนมองว่าข้อเสนอของเขา มีความเป็นไปได้แบบ 50-50 เลยทีเดียว
หนึ่งในแนวคิดที่สนับสนุนทฤษฎีนี้คือแนวคิดของพหุภพ (Multiverse) ที่ว่าเอกภพหรือจักรวาลของเรานั้นมีหลายเอกภพ ไม่ได้มีแค่เอกภพของเราเพียงอันเดียว ซึ่งเอกภพทั้งหลายนี้รวมกันเป็นโครงข่ายประสาทเทียม (Neural network) ขนาดใหญ่ ซึ่งไวทัลลี แวนเชอร์ริน (Vitaly Vanchurin) นักฟิสิกส์ชื่อดังก็ได้ออกมายืนยันแนวคิดนี้เช่นกัน
โดยแนวคิดนี้เสนอว่าเอกภพของเราอาจเป็นหนึ่งในพหุภพ และพหุภพนั้นเป็นโครงข่ายประสาทเทียมขนาดยักษ์ที่ประกอบด้วยหลากหลายเอกภพ แต่ละเอกภพทำหน้าที่เป็นเส้นประสาทที่เชื่อมต่อกับเส้นประสาทอื่น ๆ และได้รับการป้อนข้อมูลและสามารถกระทำการใด ๆ เพื่อสร้างผลลัพธ์ (Output) เหมือนที่โครงข่ายประสาทของมนุษย์เรา หรือโครงข่ายประสาทของเอไอทำได้
รูหนอน (Wormhole) อาจเป็นจุดเชื่อมต่อและส่งข้อมูลของแต่ละเอกภพ และหลุมดำ (Blackhole) คือจุดที่แต่ละเอกภพส่งผลลัพธ์ (Output) ให้แก่กัน ซึ่งมนุษย์เราไม่ได้เป็นผลลัพธ์ดังกล่าว แต่เป็นหมากหรือเครื่องมือที่จักรวาลป้อนข้อมูลให้ กำหนดทิศทาง และรวบรวมสิ่งที่เราทำส่งออกไปเป็นผลลัพธ์ให้จักรวาลเส้นประสาทอื่น ๆ นั่นเอง
เราอาจจะเป็นเครื่องมือที่ใช้เทรนโครงข่ายประสาทยักษ์ใหญ่ เหมือนที่เราใช้ข้อมูลในการเทรนโครงข่ายประสาทเทียมของเอไอกันอยู่ทุกวันนี้ก็ได้
Recently, a Swedish Philosopher Nick Bostrom has published the weirdest papers saying that we might be living in a computer-generated reality. So it’s up to each of us to decide whether to believe in The Matrix or not and this concept makes sense to be believed 50-50.
One of the concepts supporting this theory is the Multiverse, our universe is a big Neural Network. Each universe in the multiverse is a single layer designed to sift through data and produce a specific output. Within each of these layers are infinite or near-infinite systems that comprise networks within the network. Vitaly Vanchurin, a well-known professor of physics also verified this concept as well.
Wormholes, for example, could allow objects to take shortcuts through physical spaces. And blackholes are where it’s sent for output extraction into other layers, just like how AI works.
When we, humans, train our neural networks we run thousands or millions of cycles until the AI is properly trained. Or we are just one of an innumerable number of training cycles for some larger-than-universal machine’s greater purpose.
บทความโดย: ทีม Sertis
โฆษณา