12 เม.ย. 2021 เวลา 10:17 • ธุรกิจ
คนไทยอ่านหนังสือน้อยจริงหรือไม่และสร้าง Content รูปแบบใหนที่น่าสนใจ?
ตอนที่ 1
ที่มา https://sites.google.com/site/plapikawanttoknow/1
เราต่างคงเคยได้ยินมาว่าคนไทยอ่านหนังสือปีละ 8 บรรทัด จึงทำให้คนไทยไม่ค่อยจะรู้ทันโลกและมีการพัฒนาเหมือนๆอารายะประเทศ ซึ่งที่มาที่กล่าวอ้างมาจากจำนวนหนังสือที่มีการขายออกไปนำมาหารจำนวนประชากรจึงทำให้ได้ตัวเลขนี้มา
แต่ถึงแม้ว่าจะรู้สึกว่าคนไทยอ่านหนังสือน้อยก็จริงจากผู้คนที่อยู่แวดล้อม แต่ “ยุคใหม่ฯ” ก็ไม่เคยเชื่อว่าจะน้อยขนาดที่กล่าวอ้างเลย เพราะหากจะเปรียบระดับการพัฒนาทั้งทางวัตถุและการศึกษาของคนไทยรวมถึงขนาดของเศรษฐกิจ ประเทศไทยเราไม่ได้ด้อยกว่าใครเลย ยิ่งหลายประเทศที่ถูกจัดว่าเป็นประเทศที่พัฒนาเราก็สามารถเทียบระดับเขาได้สบายๆ
รายงานจากผลสำรวจการอ่านในปี 2018 ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ และสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK park) ยืนยันแล้วว่าไม่เป็นความจริง ตั้งแต่ปี 2003 ที่เริ่มทำการสำรวจและได้ทำทุกๆ 3 ปี ครั้งล่าสุดที่มีการสำรวจในปี 2561 ที่ทำการสำรวจระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 55,920 ครัวเรือน กระจายทั่วทุกจังหวัด เริ่มตั้งแต่ประชากรที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป โดยทำการนับการอ่านหนังสือหรือบทความทุกประเภททั้งนอกเวลาเรียน นอกเวลาทํางานและช่วงเวลาพัก ผลสำรวจพบว่า คนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไปมีอัตราการอ่าน 78.8% หรือจำนวน 49.7 ล้านคนเพิ่มขึ้นจากปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ 77.7%
ที่มา  กรุงเทพธุรกิจ
แต่ก็พบว่ามีหนังสือดังหลายฉบับที่เคยได้รับความนิยมขนาดที่ผู้ที่ต้องการลงโฆษณาหรือนำเรื่องราวไปลงในหนังสือนั้นๆต้องรอคิวนานมาก ต่างทยอยปิดตัวลงเรื่อย ๆ หลายเล่มก็ต้องปิดตัวลงไปถาวรเลย เรียกได้ว่าเป็นตำนานที่ต้องปิดตัวลง แต่ยังมีอีกหลายเล่มที่เปลี่ยนมานำเสนอในโลกออนไลน์แทน เพราะการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยที่จำเป็นต้องมีการปรับตัว ในขณะที่หนังสือปิดตัวลงไป แต่ในขณะที่โลกออนไลน์กลับมีการเขียนบทความเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นบทความที่ลงใน Platform Social Media ใน Blog หรือเว็บไชด์ และอีกหลายแหล่งที่อยู่บนโลกออนไลน์
ที่มา https://book.mthai.com/book-news/5674.html
ปัจจุบันมีบทความใหม่มากกว่า 70 ล้านโพสต์ต่อเดือนในโลกออนไลน์ ในหนึ่งวันมีประมาณ 2 ล้านโพสต์ ในปีที่ผ่านมา (2563) มีสถิติจาก Wordpress ที่เป็นโปรแกรมทำเว็บ ระบุว่ามีคนประมาณ 400 ล้านคนอ่านบทความบนโปรแกรมของเขา มากกว่า 2 หมื่นล้านหน้า ตัวเลขนี้ทำให้เราเห็นเลยว่าคนเราอ่านเยอะขึ้นกว่าเดิม เมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมาที่มีการอ่านจากหนังสือที่เป็นสิ่งที่จับต้องได้ สิ่งที่เห็นได้จากเรื่องนี้คือคนเราต้องการเสพ Content หรือบทความมากขึ้น มาจากความสะดวกเพราะสามารถอ่านได้ง่ายๆเวลาไหนก็ได้จากมือถือของเขา ซึ่ง Content อาจจะไม่ได้หมายความถึงบทความที่ตัวหนังสืออย่างเดียว ตีรวมถึงรูปภาพวีดีโอต่างๆด้วย
การอ่านและการติดตามข้อมูลต่างๆ (Content) ผ่านช่องทางออนไลน์จึงมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก ผู้คนมีตัวเลือกเสพบทความที่มีจำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นต่อวันได้ ในมุมของผู้ผลิตบทความและสื่อต่างๆจึงต้องมีการสร้างสรรเพื่อให้มีคนเลือกที่จะเข้ามาชม
การที่จะทำให้ Content เราจะได้รับความสนใจ จะต้องพิจารณาจากว่า Content นั้นเหมาะกับ Platform นั้นอย่างไร คนที่อยู่ใน Platform นั้นชอบเสพข้อมูลแบบไหน ที่สำคัญเขาจะได้ประโยชน์อะไรจากเรา เช่น Facebook ก็เหมาะกับคนที่ต้องการตามรอยหรือติดตามการใช้ชีวิตของคนอื่นๆ Line ก็จะเป็นการนำเสนอข้อความและรูปภาพแบบสั้นๆ Tiktok ก็จะเป็นรูปแบบการนำเสนอคลิปวีดีโอสั้นๆที่ส่วนมากมุ่งนี้ในด้านบันเทิง YouTube ก็เหมาะกับการนำเสนอในรูปแบบภาพเคลื่อนไหวหรือคลิปวีดีโอ และการนำเสนอในรูปแบบบทความที่มุ่งเน้นการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ของผู้เสพ ก็เหมาะกับการนำเสนอผ่าน Blockdit เป็นต้น
Source: https://incontent.co/how-to-use-content-marketing-to-sell-products/
รูปแบบการนำเสนอที่ดีควรต้อง
1.ไม่น่าเบื่อเขียนด้วยพลังบวก เป็นเรื่องที่สนุกน่าสนใจเรื่องนั้นต้องสำคัญและมีประโยชน์
2.เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องที่เราชอบแต่เป็นเรื่องที่เขาชอบ
3.รู้ว่ากลุ่มผู้ที่นำเสนอคือใคร เขาชอบอะไร รสนิยม เขาสนใจอะไร อายุอยู่ในช่วงไหนบ้าง เพศอะไร ฯลฯ สามารถดูสถิติได้ในหน้าเพจ ข้อมูลเชิงลึก(Insights) ว่าช่วงอายุและเพศไหนที่ติดตามเพจของเรา
4.นำเสนอเรื่องอะไร จุดขายของเรื่องนี้คืออะไร
5.เรื่องที่สร้างสรรขึ้นมาต้องเข้าใจว่าทำไมต้องเข้ามาอ่าน มีประโยชน์อย่างไรกับเขา แก้ปัญหาอะไรให้เขา ดีกว่าคนอื่นอย่างไร
6.กรณีที่มีหลายช่องทาง ก็ต้องเลือกรูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมแต่ละช่องทางนั้นๆตามธรรมชาติของคนในกลุ่มนั้นๆ
7.Headline ที่น่าสนใจ
Source:  ClipartKey
แต่สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับนักเขียนและผู้นำเสนอบทความบ่อยๆนั่นก็คือ “คิดไม่ออกว่าจะนำเสนอเรื่องอะไร” เรื่องนี้ “ยุคใหม่ฯ” ก็เป็นบ่อยเหมือนกัน มีทั้งที่ความคิดตันและฟุ้งที่เลือกไม่ถูกว่าจะเอาเรื่องอะไรมานำเสนอก่อนดี เรื่องนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการทำแผนภาพทางความคิด (Mind Map Keyword) เริ่มต้นง่ายๆจากการคิดคำมาก่อนแล้วเจาะลึกลงไปให้เป็นหัวข้อ ยกตัวอย่างรูปแบบ เช่น
1
เรื่องการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด
--เชื้อกลายพันธุ์
---สายพันธุ์อังกฤษ สายพันธ์ุแอฟริกา หรือสายพันธุ์บราซิล
----การความรุนแรงของเชื้อแต่ละสายพันธุ์
-----สายพันธุ์ที่มีโอกาสแพร่เข้าสู่ประเทศไทย
------โอกาสที่จะเสียชีวิตจากการติดเชื้อของแต่ละสายพันธุ์
-------วัคซีนที่ไหนที่สามารถป้องกันเชื้อแต่ละสายพันธุ์ได้
--------วัคซีนชนิดไหนได้ผลดีที่สุด
--------- ฯลฯ
1
วิธีนี้นอกจากจะทำให้ความคิดเราไม่ตันแล้ว ยังทำให้มีหัวข้อที่น่าสนใจในการนำเสนอได้จำนวนมากด้วย หลายเพจใน Blockdit ก็สามารถทำเรื่องนี้ได้ดี ดูได้จากการนำเสนอที่สม่ำเสมอมีผู้ติดตามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ด้วยเนื้อหาที่ยาวเกินไปที่จะสามารถนำเสนอได้ในตอนเดียว “ยุคใหม่การตลาดของไทย” จึงขออนุญาตนำเสนอในตอนที่ 2 สำหรับผู้ที่ต้องการทราบว่าใช้หัวข้อ (Headline) และ Key word หรือคำสำคัญแบบไหนดี จึงจะน่าสนใจ ตอนต่อไปจะนำเสนอในเรื่องของกลยุทธ์การเขียน Content ที่น่าสนในและสามารถนำไปใช้ในการทำธุรกิจได้อีกด้วย
Source:  Cipher Inbound Marketing Blog - Cipher Co., Ltd.
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
Instagram: Modernizationmarketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
Face Book Page: Thailand Modern Marketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
สนใจการทำตลาดสุขภาพที่มีการรับรองจากเอกสารทางการแพทย์แล้ว
ติดต่อได้ที่
Facebook Page: โรคเบาหวานเป็นได้ก็หายได้
สนใจตัดต่อคลิปวีดีโอ
สามารถติดต่อได้ที่: Inbox หรือที่ Email sarayuth407@hotmail.com
โฆษณา