15 เม.ย. 2021 เวลา 04:30 • ธุรกิจ
[Update] อียิปต์เรียกร้องค่าเสียหายกรณีคลองสุเอซเกือบ 2.9 หมื่นล้านบาท
เจ้าของสินค้า ต้องช่วยกันจ่ายไหม?
กรณีศึกษา เรื่อง General Average (GA) - ข้อกำหนดความเสียหายร่วม
ถึงแม้ว่าเรือยักษ์ที่ขวางคลองสุเอซ สามารถหลุดออกมาได้กว่า 2 สัปดาห์แล้ว แต่เจ้าของสินค้าบนเรือ ก็ยังไม่ได้สินค้าคืน
1
จริงๆ แล้วเรือก็ยังไม่ไปไหน อยู่แถวๆ ลองสุเอซนั่นแหล่ะ โดยทางการอียิปต์ ขอรับดูแลเรือและสินค้าเอาไว้ก่อน พร้อมทั้งเรียกร้องค่าเสียหายจากเจ้าของเรือ Ever Given เป็นมูลค่ากว่า 2.9 หมื่นล้านบาท
1
ถ้าไม่ยอมจ่ายก็ไม่ได้ของ และเรือคืนไปน่ะ!
1
ทั้งนี้การเรียกร้องความเสียหายแบบนี้ ก็จะมีมาตรฐานสากลที่เป็นที่รู้กันก็คือ การใช้หลัก General Average (GA) หรือ ข้อกำหนดความเสียหายร่วม
ซึ่งไม่เพียงแต่เจ้าของเรือที่ต้องรับผิดชอบความเสียหายจากอุบัติเหตุครั้งนี้เท่านั้น แต่เจ้าของสินค้าที่อยู่บนเรือ ก็อาจต้องช่วยกันจ่ายด้วย ถ้าอยากได้สินค้าคืนไป
1
General Average (GA) มีหลักเกณฑ์อย่างไร และเหตุการณ์เรือยักษ์ขวางคลองนี้ สร้างผลกระทบเป็นลูกโซ่ อย่างไรบ้าง
หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลย
=========================
นำเข้า "ความรู้" ส่งออก "ความคิด" ติดตาม
"นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า"
=========================
1) เรือยักษ์ Ever Given ที่เห็นมีชื่อสายเรือ Evergreen เป็นผู้ให้บริการขนส่งนั้น จริงๆ แล้วมีเจ้าของเรือเป็นบริษัทญี่ปุ่น Shoei Kisen
1
2) ถึงแม้ว่าเรือจะหลุดมาจากคลองสุเอซตั้งแต่ วันที่ 29 มีนาคม ที่ผ่านมา แต่ทาง Shoei Kisen ก็ยังต้องเจรจากับทางการของอียิปต์ และทาง Evergreen เพื่อดูว่าใครจะต้องรับภาระความเสียหายตรงไหนบ้าง
1
3) โดยปัจจุบันเรือ Ever Given ก็ยังจอดอยู่ที่ Great Bitter Lake อยู่บริเวณคลองสุเอซ และทางการอียิปต์ ก็ระบุว่าจะไม่ยอมปล่อยเรือออกไป หากไม่ได้รับการชดเชยค่าเสียหาย มูลค่ากว่า 2.9 หมื่นล้านบาท!
4) แล้วค่าเสียหายดังกล่าวมาจากอะไรบ้าง หากจะประมาณการณ์ ก็จะมีดังนี้
- ค่าเสียโอกาส สำหรับค่าผ่านทางคลองสุเอซ โดยทาง Refinitiv มีการประเมินไว้ที่ 3,000 ล้านบาท
- ค่าเรือดูดทราย, ค่าเรือลากจูง, ค่าแรงงานกว่า 800 ชีวิต, ความเสียหายของคลอง, และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
1
5) โดยทางเจ้าของเรือ Ever Given ก็ได้ยื่นเรื่อง General Average (GA) หรือ ข้อกำหนดความเสียหายร่วม ที่เรียกร้องให้ทาง ผู้ที่เช่าเรือ ก็คือ สายเรือ Evergreen, บริษัทประกัน, และก็ เจ้าของสินค้าบนเรือ ต้องร่วมกันรับผิดชอบด้วย!
.
อย่างนี้เจ้าของสินค้าบนเรือ ต้องยอมจ่าย ค่าเสียหายด้วย!?
1
6) หลักการสำคัญของ GA ก็คือ การนำข้อมูลค่าความเสียหายทั่วไป อันเป็นความสูญเสีย หรือความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการเสียสละทรัพย์สิน หรือค่าใช้จ่ายเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งจงใจกระทำขึ้นตามสมควรเพื่อปกป้องรักษาเรือ และทรัพย์สินที่เผชิญภยันตรายร่วมกัน มาเฉลี่ยกันในระหว่างเจ้าของเรือ และเจ้าของทรัพย์สินที่เผชิญภยันตรายทางทะเลร่วมกัน
1
7) หากจะเล่าถึงที่มาที่ไปของ General Average ก็ต้องขอยกเรื่องที่ทาง คุณหยก แสงตะวัน ผู้เชี่ยวชาญด้านชิปปิ้ง เล่าเอาไว้ได้อย่างน่าสนใจว่า
.
“เรื่องมันเกิดจากเมื่อสมัยตอนที่โลกเรานี้มีการค้าขายระหว่างทวีปยุโรป และเอเชียใหม่ๆ เรือทุกลำต้องแล่นผ่านแหลม good hope ที่อยู่ตอนใต้สุดของทวีปแอฟริกาตอนใต้ กัปตันเรือในสมัยนั้นก็จะนั่งกินเหล้าที่เจ้าของร้านเหล้าชื่อนายลอยด์ (Lloyd)
.
นายลอยด์ได้ลำดับฟังเรื่องราวต่างๆ จากกัปตันเรือหลายคนที่มาแวะเวียนในร้านเหล้าของเขาถึงเหตุกาณ์ที่กัปตัน เรือเหล่านั้นได้ประสบอุบัติเหตุบ้าง ของหายบ้าง ต้องปล่อยให้ลูกเรือลอยคอตายต่อหน้า เพื่อรักษาทุกชีวิตบนเรือ ตัวเรือ และสินค้าบนเรือให้พ้นจากวิกฤต ภยันตรายจากพายุ ฟ้า ฝน ที่บ้าคลั่งในกลางทะเล
.
นายลอยด์ได้รับรู้จากประสบการณ์ และรวบเรื่องเล่าเป็นหนังสือเป็นเล่มๆ ได้ ก็ได้คิดไอเดียว่า ให้กัปตันเรือทุกคนเจียดเงินลงขันบางส่วนก่อนที่จะเอาเรือแล่นออกทะเลไว้ เป็นทุน เพื่อช่วยเหลือกัปตันเรือที่มีปัญหาเรื่องการฟ้องร้อง หรือปัญหาต่างๆ หลังจากนั้นก็เกิดความคิดว่า การที่กัปตันต้องเสียสละสินค้า หรืออุปกรณ์ของเรือ หรือชิวิตของลูกเรือนั้น เป็นการเสียสละ และสูญเสียมากขึ้น คือที่มาของกฎหมายนี้
.
ต่อมากลุ่มกัปตันเรือก็มีความคิดแบบอัจฉริยะคือ ตั้งแต่นี้ต่อไป ถ้าสินค้าของผู้ส่งออกที่ไม่เสียหายต้องมาช่วยกันหารเฉลี่ยกันจ่ายให้กับ สินค้าของผู้ส่งออกที่โดนทิ้งน้ำ ที่โดนสังเวยเจ้าแม่พายุ หรือความเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายในการย้ายไปเรือลำใหม่ หรือจากไฟไหม้บนเรือ หรืออุบัติเหตุต่างๆ ที่เกิดระหว่างการเดินเรือ
.
ซึ่งกัปตันก็อ้างว่าตัวเองก็เสียสละเหมือนกันที่บางครั้งต้องรับภาระในค่า ใช้จ่ายที่ต้องเสียอุปกรณ์บนเรือ หรือชีวิตของลูกเรือ หรือซ่อมแซมตัวลำเรือเอง อันนี้ถือว่าหายกันนะ”
3
8) โดยเหตุไม่คาดฝันทางการขนส่งทางทะเลแบบนี้ ในอดีตก็เกิดขึ้นมาหลายครั้ง ตัวอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น แล้ว ทางเจ้าของสินค้าต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วย ก็คือ กรณีศึกษาเหตุการณ์เมื่อปี 2561 ที่ทางเจ้าของสินค้า ต้องจ่ายเพิ่มอีก 54% ของมูลค่าสินค้าในตู้ เพื่อที่จะเอาสินค้าออกไปได้ (ตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น ถ้ามูลค่าสินค้าในตู้ 1 ล้านบาท ก็ต้องจ่ายเพิ่มอีก 540,000 บาท)
.
เน้นย้ำว่ากรณี Ever Given ยังไม่ได้ข้อสรุปนะว่าใครต้องจ่ายอะไรบ้าง
5
9) กลับมาที่กรณีเรือ Ever Given ทาง Nikkei Asia รายงานว่า ต้องใช้เวลากันอีกหลายปี ทีเดียว โดยค่าเสียหาย ยังต้องได้รับการประเมินอีกครั้ง และปัญหาที่น่าหนักใจก็คือ เรือยักษ์ขนาดใหญ่กว่า 20,000 TEU ดังกล่าว มีเจ้าของสินค้าหลายพันบริษัท กว่าจะเคลียร์กันลงตัว ก็ต้องใช้เวลามากกว่าในอดีต ที่เรืออาจมีตู้เพียง 6,000 – 8,000 TEU
10) จากวิกฤตคลองสุเอซ ก็ส่งผลกระทบต่อผู้นำเข้าส่งออก ตอนนี้ราคาเฟรท (คอนเทนเนอร์) จากเอเชียไปยุโรป พุ่งสูงขึ้นไปได้อีก (ราคา Spot 1 ตู้สั้น ราคาหนึ่งหลักหมื่นเหรียญสหรัฐฯ ก็มีให้เห็น)
.
โดยสายเรือประเมินว่า คงต้องใช้เวลาเคลียร์ Backlog ไปจนถึงสิ้นเดือน มิถุนายนนี้ กว่าสถานการณ์จะดีขึ้น โดยเฉพาะท่าเรือใหญ่ๆ ในยุโรปได้แก่ Rotterdam และ Southampton
2
11) ไม่เพียงแค่เรือคอนเทนเนอร์ ทางจีนเองก็มีความกังวลเรื่องความมั่นคงด้านอาหาร โดยการขนส่งเมล็ดพันธุ์และธัญพืช ผ่านเรือเทกอง ก็กินสัดส่วนถึง 10% ของการขนส่งทางทะเลผ่านเรือเทกองทั้งหมด และช่วงหลังจีนเริ่มเปลี่ยนมานำเข้า ธัญพืชจาก ยูเครน รัสเซีย และเอเชียกลาง ผ่านคลองสุเอซบ้าง (แต่ยังดีที่สัดส่วนน้อยอยู่)
.
ทำให้จีน ตอนนี้ก็พยายามโปรโมท เส้นทางรถไฟ และการขนส่งตามเส้นทางสายไหมยุคใหม่ Belt Road Project เพิ่มเติม
12) ที่น่าเป็นห่วงมากกว่าก็คือ ปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ในจีน ที่จะร่อยหรอลงไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะตู้ยาว หรือตู้ 40 ที่แต่เดิมก็ไม่ค่อยจะพออยู่แล้ว โดยที่เรือที่ไปยุโรปดีเลย์ กว่าตู้จะหมุนกลับมาฝั่งเอเชีย ก็จะใช้เวลาเพิ่มขึ้นไปอีก และที่สำคัญก็คือ ตู้ส่วนใหญ่ ไปจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย ตามลำดับ
.
คุยกับพี่ที่อยู่ในวงการโลจิสติกส์ มานาน เปรียบเทียบได้เห็นภาพ ว่า ประเทศไทยของเราเหมือน ตั้งอยู่ในตรอก การที่ตู้สินค้าจะเข้ามาก็ไม่สะดวกเท่า ประเทศที่อยู่หน้าปากซอย อย่างจีน หรือเวียดนาม
1
13) สำหรับผู้นำเข้า ส่งออก ที่กำลังมองหา ตัวช่วยบริหารการขนส่งในช่วงที่ผันผวนแบบนี้ ไม่ว่าเป็น ทางเรือ ทางอากาศ หรือ รถ Cross-border ทางแอดมินขอแนะนำแพลตฟอร์ม ZUPPORTS
.
ช่วยทำ Bidding, Booking, Tracking, Billing บริหารการขนส่ง ครบจบในที่เดียว
.
ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ ทดลองใช้ระบบ และรับข่าวสารดีๆ แบบนี้ ได้ที่ www.zupports.co/register
1
--------------------------------
หากไม่อยากพลาดความรู้ ข่าวสาร ดีๆ กดไลค์เพจ และกด Favorites ในเฟสบุ๊ก กันไว้เลย
.
และหากบทความมีประโยชน์ ก็กดไลค์โพสและแชร์ให้เพื่อนๆ กัน ได้เลยจ้า
1
=========================
นำเข้า "ความรู้" ส่งออก "ความคิด" ติดตาม
"นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า"
=========================
(ads) ZUPPORTS เราช่วยทำให้การนำเข้าส่งออก ง่ายเหมือนการช้อปปิงออนไลน์
.
ผู้นำเข้า ส่งออก ที่สนใจทดลองใช้เครื่องมือดิจิตอล ช่วยเปรียบเทียบราคาขนส่ง, จองเรือ รถ เครื่องบิน, ติดตามสถานะงาน และตรวจสอบบิลขนส่งออนไลน์ ง่ายๆ ที่ ZUPPORTS
.
สามารถลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษได้เลยที่ www.zupports.co/register
❤️ อ่านบทความ ของ “นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า” ได้ที่
นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า marketplace: ซื้อ-ขาย สินค้าทั้งในและต่างประเทศ ร่วมกลุ่มได้เลยที่
#นำเข้าส่งออกสุดขอบฟ้า #นำเข้า #ส่งออก
#ZUPPORTS
โฆษณา