17 เม.ย. 2021 เวลา 08:34 • ธุรกิจ
ผู้สูงอายุในญี่ปุ่น - สหรัฐฯ เต็มใจทำงานต่อหลังเกษียณ
รู้สึกมีคุณค่า ไม่อยากอยู่เฉย สะท้อนคนเกิดลด ขาดแรงงานหนัก
สังคมผู้สูงอายุที่หลายประเทศกำลังเผชิญ และกลายเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างทางสังคมที่กระทบต่อศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ซึ่งเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกสำหรับกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่ต้องพึ่งพาแรงงานวัยหนุ่มสาวจำนวนมาก
1
ญี่ปุ่นนับเป็นประเทศที่เผชิญกับปัญหาจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นในช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา ในขณะที่อัตราการเกิดของประชากรลงลดอย่างน่าใจหาย กระทบชิ่งไปยังการความก้าวหน้าของเศรษฐกิจที่อยู่ในสภาวะชะลอตัวมายาวนาน
1
ที่สำคัญคืออัตราการเสียชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่นก็มีเกณฑ์การหมดอายุไขลงช้าที่สุดในโลก เรียกได้ว่าคนญี่ปุ่นอายุยืนมากที่สุดตามค่าเฉลี่ยต่ออายุไขประชากรของทุกประเทศทั่วโลก นั่นเป็นทั้งเรื่องดีที่เรื่องลำบากใจของชาวญี่ปุ่น เพราะการที่ผู้สูงอายุมีชีวิตยืนยาว เท่ากับว่าผู้คนมีคุณภาพการใช้ชีวิตที่ดี ทั้งอาหารการกิน ระบบสาธารณสุข รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต
1
แต่ในทางกลับกันผู้สูงอายุส่วนใหญ่เมื่อเลยวัยเกษียณแล้ว ก็มักจะต้องออกจากงานแล้วใช้ชีวิตลำพังในบั้นปลาย ต่อให้มีความสามารถมากขนาดไหนในระหว่างช่วงชีวิตการทำงาน แต่พอหลังวัยทำงานแล้วก็เป็นได้เพียงแค่คนแก่คนหนึ่งที่ชีวิตค่อยๆ รอนับวันถอยหลังสู่การหลับใหลไปชั่วนิรันดร์
1
มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2573 ประชากรญี่ปุ่นทั้งหมด 127 ล้านคนนั้น 1 ใน 3 ของญี่ปุ่นจะมีอายุ 65 ปีขึ้นไปและ 1 ใน 5 คนอายุ 75 ปี ขณะที่อัตราการเจริญพันธุ์หรือจำนวนทารกต่อสตรีวัยเจริญพันธุ์โดยเฉลี่ยในปี 2020 อยู่ที่ 1.36 คน หรือราว 7 แสนคนต่อปีเท่านั้น นับว่าน้อยที่สุดในรอบ 120 ปี และถ้าอัตราการเกิดใหม่ของประชากรยังไม่เพิ่มขึ้น ญี่ปุ่นจะเหลือประชากรเพียง 85 ล้านคนภายในปี 2100 ตามการประเมินขององค์การสหประชาชาติ
1
ทางแก้ของปัญหานี้ในประเทศญี่ปุ่นที่นอกจากจะกระตุ้นให้ประชากรแต่งงานมีลูกกันแล้ว ซึ่งทำมาหลายปีแต่ไม่ได้ผลเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่กดดันและตึงเครียด ต่อมาก็เป็นการเพิ่มสัดส่วนการนำเข้าแรงงานต่างชาติ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเปิดโอกาสให้แรงงานต่างชาติทำงานในญี่ปุ่น อีกทางก็คือการใช้แรงงานของผู้สูงอายุนั่นเอง
1
ขณะนี้หลายบริษัท ห้างร้านต่างก็ขยับช่วงการเกษียณอายุจาก 60 ปีเป็น 65 ปี บางบริษัทสามารถทำงานได้ถึงอายุ 70 ปีเลยก็มี เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน
1
ผลสำรวจจากนิปปอนไลฟ์อินชัวรันซ์ ระบุว่า ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ต้องการทำงานต่อแม้ถึงวัยเกษียณ เหตุผลหลักมาจากความกังวลทางการเงิน ขณะที่มีเปอร์เซ็นมากที่อยากทำงานจนถึงอายุ 65 ปี และบางส่วนอยากทำงานจนถึง 75 ปีก็มี
2
ซึ่งนอกจากอยากทำงานเพื่อความมั่นคงทางการเงินในบั้นปลายชีวิตแล้ว ส่วนใหญ่ยังรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า มีความสามารถ และมีแรงในการทำงานต่อได้ ไม่อยากอยู่เฉยๆ เหมือคนไร้ค่าที่รอวันตายไปวันๆ และกลุ่มผู้สูงอายุเหล่านี้คือกลุ่มคนที่เกิดและเติบโตในยุคที่ญี่ปุ่นมีการพัฒนาประเทศอย่างถึงขีดสุด จนเคยเป็นประเทศที่มีความเจริญและมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ มาแล้ว ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่คนแก่เหล่านี้ยังคงมีไฟอยู่
2
ขณะที่ในสหรัฐฯ ก็กำลังเผชิญปัญหาเดียวกันเหมือนกับหลายประเทศทั่วโลก โดยเว็บไซต์ brookings . edu รายงานว่า ชาวอเมริกันอายุยืนและสุขภาพดีขึ้นแม้อยู่ในวัยชรา และกำลังทำงานเกินอายุเกษียณ หลายคนทำงานเพราะไม่อยากอยู่เฉย อยากพบเพื่อนฝูง หรืออื่นๆ ที่ไม่ใช่เหตุผลทางการเงิน แต่หลายคนต้องทำงานเพราะต้องการเงิน
2
อย่างไรก็ตามในทุกๆ ประเทศต่างมีสวัสดิการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งเงินบำนาญ เงินช่วยเหลือจากรัฐบาล แต่ในอนาคตอาจจะต้องเผชิญกับปัญหาการจ่ายเงินสนับสนุนในการดูแลสวัสดิภาพผู้สูงอายุ เนื่องจากประชากรผู้แบกรับการจ่ายภาษีในวัยทำงานที่ลดลง จากอัตราการเกิดที่ไม่สมดุล นั่นทำให้กลายเป็นโจทย์ใหญ่ในอนาคตว่าจะหาทางรับมือกับวิกฤติด้านประชากรนี้ได้อย่างไร รวมทั้งประเทศไทยที่ก็เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเหมือนกับหลายๆ ชาติ ในขณะที่อัตราการจ่ายภาษีไม่ได้เพิ่มขึ้น ซึ่งประชากรทั้งประเทศมีการจ่ายภาษีเงินได้ไม่ถึง 10 ล้านคน เมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วที่เก็บภาษีเงินได้บุคคลได้มากกว่า 40 – 50% ของจำวนประชากรทั้งหมด
4
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
โฆษณา