19 เม.ย. 2021 เวลา 00:30 • การตลาด
ทำไมอาหารในช่วงเวลานี้ปรับราคาขึ้นทั้งที่มีรายงานออกมาว่าสถานการณ์คลี่คลายลงแล้วจากภาวะเงินเฟ้อ
ที่มา  PPTVHD36
อย่างเราทราบดีว่าราคาสินค้าจะปรับตัวสูงขึ้นเมื่อมีความต้องการมากกว่ากำลังการผลิต พูดง่ายๆว่าของไม่พอขายหรือมีจำนวนจำกัด หรืออีกเรื่องหนึ่งมาจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้เงินที่มีอยู่มีค่าลดลงสินค้าจึงปรับตัวสูงขึ้น
จากข้อมูลดัชนีผู้บริโภคที่มีการแถลงโดยกระทรวงพาณิชย์ ในวันที่ 5 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา พบว่าเงินเฟ้อทั่วไปหดตัวน้อยลง เป็นการหดตัวน้อยที่สุดในรอบ 13 เดือน โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของสินค้ากลุ่มพลังงานที่กลับมาเป็นบวก 1.35% ในรอบ 14 เดือน ถ้าไม่ใช่คนที่รู้เรื่องตัวเลขและเศรษฐกิจดูแล้วเข้าใจยากพอสมควรกับวิธีการรายงานของภาครัฐ แต่ที่จริงแล้วหลายบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ก็มีการรายงานในรูปแบบเข้าใจยากไม่ต่างกับภาครัฐเช่นกัน
Credit:  สำนักข่าวอินโฟเควสท์
จากข้อมูลที่มีสินค้าก็น่าจะราคาถูกลงแต่ทำไมพบว่าสินค้าโดยเฉพาะกลุ่มอาหารมีการปรับตัวสูงขึ้น ผู้ประกอบการจะทราบผลกระทบนี้ได้ดี เพราะต้นทุนเพิ่มแต่ยังไม่สามารถปรับราคาขายได้ ถ้าปรับราคาขึ้นโอกาสที่จะขายได้ก็ลดลง เพราะช่วงนี้ก็ขายน้อยลงกว่าเดิมอยู่แล้ว
ตามรายงานแจ้งว่าเนื้อหมูและน้ำมันพืชราคาปรับตัวสูงขึ้นจากความต้องการที่มีเพิ่มขึ้นทั้งตลาดในและต่างประเทศ แต่กลุ่มอาหารสดยังคงหดตัวต่อเนื่อง ลดลง 1.06% ตามราคาที่ลดลงของกลุ่มข้าวสาร ไก่สด ไข่ไก่และผักสด ส่วนสินค้าในหมวดอื่นๆยังเคลื่อนไหวเป็นปกติ ดูแล้วเป็นตัวเลขที่แปลกเหมือนกัน เพราะไม่สอดคล้องกับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น ที่มีการปรับตัวสูงขึ้นในกลุ่มอาหารสดและกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค
ที่มา:  Tesco Lotus
เดิมหลายคนต่างมีข้อสงสัยว่าเกิดมาจากมาตรการการช่วยเหลือของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นโครงการคนละครึ่ง เราชนะ ม.33 ที่ทำให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น จากการฉวยโอกาสของผู้ค้าหรือผู้ประกอบการบางคน แต่ว่าช่วงนี้โครงการช่วยเหลือของรัฐก็ทยอยสิ้นสุดกันไปแล้ว แต่ราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นก็ยังคงอยู่ทั้งที่ผู้ซื้อก็น้อยลง
เรามาดูในมุมของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วส่งผลกระทบกับประชาชนคนเดินดินทั่วไปกันว่ามีสาเหตุอะไรบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหาหลักฐานที่เป็นเอกสารมายืนยันได้ แต่เกิดจากการแบ่งปันมาจากผู้ประกอบการหลายคนที่มีต้นทุนสูงขึ้น
ที่มา: เงินติดล้อ
แม้ว่าจะมีจำนวนลูกค้าลดลงยอดขายลดลงกันถ้วนหน้าในช่วงเวลานี้ ทั้งที่เกิดมาจากกิจกรรมต่างๆของผู้คนลดลงเพราะต้องการลดโอกาสในการรับเชื้อโควิด และกำลังซื้อที่ลดลงจากผลประกอบการของหลายๆกิจการลดลง บางรายต้องตกงานด้วยซ้ำ ทำให้การใช้จ่ายต้องลดลงตามแบบอัตโนมัติ
1
สิ่งที่เกิดขึ้นในระดับทั่วไปที่เห็นได้ชัดเจนคือ มีจำนวนผู้ประกอบการลดลงแรงงานในการทำงานลดลง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเนื่องจากผลิตได้ครั้งละไม่มากแต่ต้นทุนหลายๆอย่างที่เป็นต้นทุนคงที่ยังเท่าเดิม จึงไม่แปลกใจว่าทำไมจึงทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นทั้งที่มีความต้องการลดลง
เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วส่งผลกระทบในส่วนที่ “ยุคใหม่การตลาดของไทย” สัมผัสมาตรงคือ คนงานหรือชาวประมงหลายคนไม่ออกไปจับปลาจับหมึกรวมถึงการทำประมงอื่นๆ เพราะออกไปแล้วไม่รู้ว่าจะนำมาขายให้ใคร ผู้ที่รับซื้อก็หายหน้าหายตาไปเพราะไม่สามารถซื้อไปขายต่อได้ ต้องเปลี่ยนอาชีพไปทำอาชีพอื่นก็มาก ส่งผลให้ปริมาณสินค้าลดลงที่แม้ว่ายอดขายจะลดลงก็ตามที แต่ผู้ประกอบการไม่สามารถขายในราคาเดิมได้เพราะต้นทุนสูงขึ้น
ที่มา:  ThaiQuote
อีกเรื่องหนึ่งก็คือผลกระทบในระดับมหภาค คือเรื่องของค่าใช้จ่ายในการขนส่งระหว่างประเทศสูงขึ้น ที่มาจากค่าระวางที่เรียกง่ายๆว่าค่าขนส่งทางเรือปรับตัวสูงขึ้นมาก จากสาเหตุการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ เนื่องจากสายการเดินเรือมีเที่ยวขนส่งที่ลดลง ต้นทุนส่วนนี้จึงถูกเพิ่มเข้าไปในราคาขายสินค้า
สินค้าจำนวนมากของไทยต้องใช้ปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศ อย่างเช่น การเลี้ยงกุ้งที่ต้องใช้อาหารกุ้งเป็นหลัก แต่วัตถุดิบที่ทำอาหารกุ้งที่เป็นส่วนผสมสำคัญคือปลาป่นต้องนำเข้ามาจากชิลี หรือจะเป็นการผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆทางการเกษตรก็ต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาเช่นกัน อย่างเช่น เหล็กและอลูมิเนียม เป็นต้น
ที่มา:  ไทยรัฐออนไลน์
บางครั้งผู้บริโภคหลายคนอาจจะยังไม่ได้รับกระทบโดยตรงมากนัก เพราะผู้ประกอบการจำเป็นต้องตรึงราคาขายไว้ก่อน ถึงแม้ว่าสินค้าจะมีจำนวนลดลงแต่ลูกค้าก็มีจำนวนลดลงด้วยเช่นกัน
แต่ผลกระทบในระยะยาวยังไงก็ต้องมีการปรับราคาขึ้น เพราะผู้ประกอบการอาจจะทนยืนระยะได้ไม่นาน ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลต่ออัตราการจ้างงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่นอกจากจะไม่เพิ่มแล้วยังลดลงด้วยซ้ำ จากสภาวะที่มีอัตราเงินเฟ้ออาจจะเข้าสู่ภาวะที่เป็นเงินฝืดแทนแล้วคราวนี้ แต่เป็นปรากฏการณ์ของสภาวะเงินฝืดที่แปลกเพราะว่าราคาสินค้าก็เพิ่มขึ้นด้วย
ที่มา  Posttoday.com
มาถึงตรงนี้คงอาจจะสงสัยว่าแล้วเราจะต้องทำอย่างไรในภาวการณ์เช่นนี้ ที่สินค้าปรับตัวสูงขึ้นที่เรียกง่ายว่าของแพงขึ้น เพราะเราคงไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงอะไรได้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่เราจะทำได้ก็คือการช่วยกันสร้างกิจกรรมการใช้จ่ายให้เพิ่มขึ้นโดยการเพิ่มรายได้ของเรา
ต้องบอกว่าเรื่องนี้ไม่มีกรอบว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งอาจจะเป็นการขายของออนไลน์หรือการสร้างตัวตนที่เป็น Personal Branding ที่สามารถสร้างรายได้มากขึ้น อาจจะเป็นที่ปรึกษาในส่วนที่เราเชี่ยวชาญ หรือว่าจะเป็นการมองหาช่องทางในการลดต้นทุนที่เกิดขึ้นให้ลดลงจากการสร้าง Application มาจัดการระบบการทำงานต่างๆก็ได้ ฯลฯ
รวมๆแล้วก็คือสร้างความเคลื่อนไหวที่เพิ่มขึ้นในกิจกรรมการตลาดอย่างยั่งยืน โดยการที่เราก็ต้องมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย
Credit:  efinanceThai
ในอดีตที่ผ่านมาไม่เคยมีวิกฤติใดที่เกิดขึ้นมาแล้วไม่มีผู้ได้ประโยชน์เลย ไม่ว่าจะเป็นสงครามโลก การแพร่ระบาดของไข้หวัดสเปน หรือแม้แต่วิกฤติต้มยำกุ้ง เราจะพบว่าจะมีคนกลุ่มหนึ่งที่มองเห็นโอกาสจากวิกฤติในการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น
ซึ่งในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะทำให้เราสามารถสร้างได้เพิ่มขึ้นได้ เพราะเรามีช่องทางออนไลน์ที่เป็นช่องทางที่ทรงพลัง เพียงแต่เราจะมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นและวิธีการแก้ใขปัญหานั้นอย่างไรมากกว่า ยิ่งเป็นปัญหาใหญ่ส่งผลกระทบผู้คนจำนวนมาก มูลค่าของการแก้ปัญหานั้นก็จะมากตาม เหมือนอย่างเช่น Agoda AirBnB Grab Gojek Alibaba Tencent Bitkup และอีกหลายรายได้รับผลลัพธ์นั้นมาแล้ว
Credit:  START IT UP and  CheezeLooker
“เมื่อมองหาเราก็มองเห็น”
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
Instagram: Modernizationmarketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
Face Book Page: Thailand Modern Marketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
สนใจการทำตลาดสุขภาพที่มีการรับรองจากเอกสารทางการแพทย์แล้ว
ติดต่อได้ที่
Facebook Page: โรคเบาหวานเป็นได้ก็หายได้
สนใจตัดต่อคลิปวีดีโอ
สามารถติดต่อได้ที่: Inbox หรือที่ Email sarayuth407@hotmail.com
โฆษณา