19 เม.ย. 2021 เวลา 02:51 • หนังสือ
[สรุปหนังสือ] Quiet - Part 2.1 : Introvert เป็นตั้งแต่เกิด หรือมาเปลี่ยนกันได้ตอนโต ??
กลับมาต่อกันกับ Part Two ของหนังสือ Quiet นะครับ หลายๆคนคงรู้มาว่า Personality ของเรามันเปลี่ยนแปลงกันได้ ใครที่เคยทำ Personality Test หลายๆรอบในช่วงเวลาที่ต่างกันก็อาจจะได้ผลที่แตกต่างกันออกไป
จึงนำมาสู่คำถามที่ว่าความ Introvert นั้นถูกกำหนดมาตั้งแต่เกิด อยู่ใน DNA หรือว่ามันเป็นนิสัยที่ถูกขัดเกลามาในระหว่างที่เราเติบโตกันขึ้นมา หรืออาจจะเป็นทั้งสองอย่างพร้อมกันได้มั้ย ??
แล้วนิสัยตรงนี้สามารถเปลี่ยนไปได้หรือไม่ ??
หรือมันแค่การฝืนทำตัวแบบ Extrovert เพื่อเข้าสังคม แต่ลึกๆแล้วเราก็ยังเป็น Introvert เหมือนเดิม ??
มาหาคำตอบไปกับเรื่อง”เล่า”ของหนังสือ Quiet เล่มนี้ไปด้วยกันครับ 🤓🤓
🌱Nature or 💦 Nurture ? - ธรรมชาติหรือการบ่มเพาะ
สมมุติว่าถ้าย้อนเวลาไปในตอนที่คุณต้องพูดแบบ Public Speaking ครั้งแรกคุณรู้สึกอย่างไรบ้าง ? รู้สึกตื่นเต้น หรือประหม่าเมื่อถูกจับจ้องด้วยสายตาของคนรอบข้างบ้างมั้ยครับ ?
ถ้าคำตอบของคุณคือใช่ ผมขอถามต่อว่าเคยสงสัยอีกมั้ยว่าความตื่นเต้น/ประหม่าแบบนี้มันเป็นนิสัยที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดเลยหรือว่าเป็นเพราะคุณอาจจะเติบโตมาในธรรมชาติบางแบบที่ทำให้คุณเป็นแบบนี้หรือเปล่า ?
ต้องบอกก่อนว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ได้ให้คำตอบที่ชัดเจนในเรื่องนี้ แต่ได้มีการยกตัวอย่างการวิจัยที่น่าสนใจมากๆมาหลายงานครับ ซึ่งเป็นบทที่ผมอ่านแล้วต้องร้องอื้อหือออกมาหลายรอบ จึงขอยกมาเป็นตัวอย่างให้อ่านกันด้วยครับ
[การทดลองที่น่าสนใจ] : High-Reaction Kids and Introversion - ความไวต่อปฏิกิริยาสูง และความอินโทรเวิร์ท โดย Jerome Kagan
การทดลองของ Jerome Kagan นั้นเริ่มต้นตั้งแต่ปี 1989 เป็นการทดลองระยะยาวที่กินเวลาหลายปีมากๆครับ เพราะเค้าใช้การเก็บข้อมูลของเด็กในหลายๆช่วงอายุ เพื่อนำผลที่ได้มาใช้ในการทำนายว่าเด็กคนนี้จะโตไปเป็น Introvert หรือ Extrovert ในอนาคต โดยจะมีลักษณะการเก็บข้อมูลคร่าวๆดังนี้
เด็กอายุ 4 เดือน - เจาะลูกโป่งให้แตกต่อหน้า
เด็กอายุ 2 ปี - ให้คนแต่งตัวเป็นตัวตลกเข้ามาเล่นด้วย
เด็กอายุ 7 ปี - ถามว่าถ้าให้ไปเล่นกับเด็กที่ไม่รู้จักจะกล้าไปหรือไม่
เด็กอายุ 11 ปี - ให้คนแปลกหน้ามาสัมภาษณ์เรื่องในชีวิตประจำวัน
ข้อมูลดังกล่าวของแต่ละคนจะถูกเก็บไว้ในระยะยาวเพื่อนำมาประกอบกับข้อมูลในอนาคตเพื่อหาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมต่างๆว่ามีผลต่อความเป็น Introvert มากน้อยเพียงใด
ผลที่น่าสนใจที่สุดก็คือเด็กที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม High-Reaction / ไวต่อปฏิกิริยาสูง (ยกตัวอย่างเช่นกลุ่มอายุ 4 เดือนเมื่อถูกเจาะลูกโป่งให้แตกแล้วจะตกใจและร้องไห้ หรือ ในกลุ่มอายุ 2 ปีก็จะกลัวตัวตลก) กลุ่มนี้เมื่อโตขึ้นมาแล้วจะมีแนวโน้มเป็น Introverts ที่สูงมาก
ในขณะที่กลุ่มตรงกันข้ามอย่าง Low-Reaction ที่ไม่ค่อยตกใจกลัวอะไรง่ายๆ สามารถคุยกับคนแปลกหน้าได้ มักจะโตมาเป็นคนที่มีความมั่นใจ ซึ่งเป็นลักษณะของ Extroverts นั่นเอง
🧠 ซึ่งเมื่อศึกษาลงลึกเข้าไปอีกก็พบว่าลักษณะดังกล่าวนั้นไปสอดคล้องกับการทำงานของสมองส่วน Amygdala ที่มีหน้าที่สำคัญในระบบประสาทแบบนึงที่เรียกกันว่า “Fight or Flight Response” ซึ่งเป็นระบบของสมองที่ต้องตัดสินใจภายใต้ความกดดันบางอย่าง - Fight คือเลือกที่จะสู้ - Flight คือเลือกที่จะหนี
ยกตัวอย่างเช่นเวลาเราเจอคนมาต่อว่าเราจนเราโมโห สถานการณืนี้จะบีบให้เราตัดสินใจว่า เราจะเถียงกลับไป (🤬 Fight) หรือจะอยู่เงียบๆแล้วปล่อยให้เรื่องมันจบลงไปเอง (✈️ Flight)
เมื่อมีการศึกษาในระดับ fMRI ที่แสกนปฏิกิริยาการทำงานของสมองส่วนต่างๆก็จะพบว่าเมื่อต้องเจอกับสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย เด็กในกลุ่มที่เป็น High-Reaction นั้นจะมีการทำงานของ Amygdala สูงกว่ากลุ่ม Low-Reaction ส่งผลให้มีความตื่นกลัวมากกว่านั่นเอง
*** แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่เป็น High-Reaction จะต้องเป็น Introverts เสมอไปนะครับ แค่มีโอกาสสูงเท่านั้นเอง
[การทดลองอื่นๆที่น่าสนใจ]
1. การทดลองที่น่าสนใจอีกอันนึงคือการวิจัยเกี่ยวกับ Sensitivity and Introversion - ความไวต่อความรู้สึกและความอินโทรเวิร์ท โดย Elaine Aron ครับ
ผลการวิจัยของงานนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับงานแรกของ Jerome Kagan ด้านบนครับ แตกต่างกันที่นิยามของความไว งานแรกนั้นใช้คำว่า High-Reaction คือความไวของปฏิกิริยาและสิ่งเร้าภายนอกซึ่งเน้นไปทาง Physical แต่ในงานที่สองนั้นใช้คำว่า Sensitivity ซึ่งเน้นไปที่ความละเอียดอ่อนของความรู้สึก ซึ่งเป็นในส่วนของ Mental
ซึ่งแม้จะใช้คำนิยามที่ต่างกันแต่ผลที่ออกมาก็คล้ายกันมากๆ นั่นคือกลุ่มที่มีความ Sensitive ที่สูงนั้นก็มีแนวโน้มที่จะเป็น Introvert สูงกว่ากลุ่มที่มีความ Sensitive ต่ำ
2. นอกเหนือจากผลการวิจัยด้านบนยังมีการวิจัยนึงที่พบว่าความเป็น Introvert และ Extrovert นั้นสามารถส่งผ่านจากพ่อแม่สู่ลูกได้ โดยมีโอกาสอยู่ประมาณ 50% (ตรงนี้ถือว่าโอกาสไม่ได้สูงมากนะครับ ตามหลักสถิติแล้วเราจะนับระดับความนัยสำคัญที่สูงกว่านั้น 90-99% แต่เลข 50% ก็ถือว่านำมาอ้างอิงได้เล็กน้อย)
นอกจากการดูแลและบ่มเพาะจะมีผลต่อบุคลิกของเด็กแล้ว เมื่อเรารู้ว่าเด็กแต่ละคนมีบุคลิกเป็นแบบไหน เราก็สามารถเลือกวิธีการเลี้ยงดูที่เหมาะสมและสามารถพัฒนาเด็กแต่ละคนให้ดีได้อีกด้วยครับ
มีประโยคนึงเปรียบเทียบเด็กที่ High-Reaction หรือ High Sensitivity นั้นเหมือนกับ Orchid หรือต้นกล้วยไม้ที่ต้องได้รับดูแลอย่างดีจึงจะเติบโตมาได้อย่าสวยงาม นั่นเพราะเด็กที่เป็น Introverts นอกจากจะมีความเป็นส่วนตัวสูงแล้วก็ยังต้องการความเข้าใจจากพ่อแม่ที่สูงด้วยเช่นกัน
ดังนั้นการเลี้ยงดูเด็กที่เป็น Introverts นั้นพ่อแม่จะต้องทำความเข้าใจลูกและระมัดระวังการใช้คำพูดให้ดีเพราะเด็กกลุ่มนี้จะ Sensitive มาก
6
เป็นหนังสืออีกเล่มนึงเลยครับ ว่าจะไปอ่านเหมือนกัน
และคนเดียวกันนี้เองก็ได้เปรียบเทียบว่าเด็ก Extroverts นั้นเหมือนกับต้น Dandelion ที่สามารถปลิวไปตามลม ไปตกที่ไหนก็เติบโตได้ เพราะเป็นเด็กที่มีความมั่นใจและไม่ค่อยหวาดกลัวอะไร
แต่ Extroverts เองก็มีข้อเสียเล็กน้อย เพราะเป็นเด็กที่มีความมั่นใจกล้าเผชิญหน้ากับผู้อื่น ถ้าโตมาในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีอาจจะแสดงออกถึงความรุนแรงได้ เช่นการทะเลาะวิวาท แต่ถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ความมั่นใจความกล้าเหล่านั้นจะนำมาเป็นจุดแข็งได้ดี ยกตัวอย่างเช่น การเล่นกีฬานั่นเอง
🌈 Beyond Temperament - สิ่งที่อยู่นอกเหนือนิสัยเดิมๆ
ในพาร์ทแรกของบทความนี้เราได้พอเห็นกันแล้วว่าลักษณะบุคลิกของความเป็น Introvert / Extrovert นั้นมีที่มาจากธรรมชาติของแต่ละคน ซึ่งแสดงออกมาตั้งแต่อุปนิสัยในวัยเด็กและส่งผลมาถึงบุคลิกตอนโต
แต่นั่นก็ยังไม่ได้อธิบายถึงเรื่องของการเปลี่ยนแปลงบุคลิกในอนาคต เราจะเห็นคนที่เป็น Introvert สามารถไปงานปาร์ตี้และสนุกสุดเหวี่ยงได้ และเราก็ยังเห็น Extrovert สามารถทำงานเงียบๆคนเดียวได้ด้วยเช่นกัน
เหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวสามารถอธิบายได้ด้วยระบบการทำงานของสมองด้วยเช่นกัน ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ครับ
[#ส่วนแรก] นั้นจะเกี่ยวข้องกับเนื้อหาจากด้านบนที่เราได้รู้แล้วว่า การรู้สึกตื่นเต้น/ประหม่าของ Introverts นั้นมีส่วนมาจากการทำงานของสมองส่วนที่เรียกว่า Amygdala ที่ทำให้เกิดการตอบสนองแบบ Fight of Flight ที่รุนแรง
แล้วในเมื่อมันเป็นปฏิกิริยาจากสารในสมองแบบนี้ หมายความว่า Introverts จะไม่สามารถฝืนธรรมชาติตรงนี้แล้วต้องตื่นเต้น/ประหม่ากับทุกเหตุการณ์ใหม่ๆในชีวิตเลยรึเปล่า ??
คำตอบคือไม่ใช่ครับ ธรรมชาติเหล่านี้สามารถฝืนได้ โดยใช้สมองอีกส่วนนึง นั่นคือสมองส่วน Prefrontal Cortex ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการฝืนธรรมชาติอยู่
ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่ Introverts ต้องไปงานสังสรรค์ที่เจอกับผู้คนจำนวนมาก (ซึ่งผิดจากธรรมชาติของ Introverts) แต่เมื่อมีความจำเป็นต้องเข้าสังคม ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลเรื่องงานหรือเรื่องใดๆก็ตาม Prefrontal Cortex จะสั่งการเพื่อไปกดการทำงานของ Amygdala ทำให้ความเขินอาย/ตื่นเต้น/ประหม่า นั้นหายไปชั่วคราวได้
และเมื่อผ่านพ้นเหตุการณ์ดังกล่าวไป Prefrontal Cortex ก็จะหยุดทำงาน และทำให้เรากลับมาเป็น Introvert ตามปกติที่ไม่ต้องฝืนธรรมชาติใดๆครับ
ซึ่งนี่เป็นหนึ่งในคำอธิบายว่าทำไม Introvert หลายๆคนเมื่อถึงเวลาที่ค้องสังคมกับคนอื่นก็สามารถทำได้ดี นั่นเป็นเพราะเค้ารู้ว่าเวลาไหนควรจะดึงบุคลิกแบบไหนออกมาใช้ เมื่อทำงานอยู่ต่อหน้าคนเยอะๆก็สามารถฝืนเป็น Extrovert ได้ และก็จะกลับไปเป็น Introvert เมื่อกลับบ้านและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป้นมิตรนั่นเอง
*** แต่แน่นอนครับว่าการฝืนธรรมชาตินานๆก็จะทำให้เหนื่อยล้า จึงไม่แปลกที่เราจะเห็น Introvert หลายๆคนรู้สึกหมดแรงและเหนื่อยมากเวลาต้องเจอกับคนจำนวนมากๆในงานสังสรรค์ หรือการประชุมต่างๆ
***** ในมุมกลับกันนั้น Extrovert ก็สามารถฝืนธรรมชาติมานั่งอ่านหนังสือเงียบๆในห้องสมุดได้ด้วยเช่นกัน
[#ส่วนที่สอง] ระบบการตื่นตัว (Arousal) ของมนุษย์ที่แตกต่างกันในสองบุคลิก
นั่นคือระบบที่เรียกว่า Ascending Reticular Activating System : ARAS (ไม่สามารถแปลไทยแบบตรงตัวได้นะครับ 555555 แต่เอาเป็นว่ามันคือระบบที่ตอบสนองต่อความตื่นตัว : Arousal จากสภาพแวดล้อมละกัน)
ระบบที่ว่านี้เป็นระบบ Autonomous (หรือ System 1 ถ้าใครเคยอ่าน Thinking Fast and Slow มาแล้ว) ซึ่งมันค่อระบบที่เราไม่สามารถควบคุมได้ครับ โดยระบบนี้จะคอยรับรู้สถานการณ์โดยรอบของเรา และทำให้เกิดการตื่นตัวของสมองและร่างกายขึ้น
ลองคิดภาพตามว่ามันเหมือนประตูกั้นน้ำ ที่คอยเปิดรับน้ำเข้ามา เพียงแต่ว่าน้ำที่เราพูดถึงคือสิ่งเร้าที่จะทำให้ระบบประสาทของเราตื่นตัวมากขึ้น ประตูใครเปิดกว้างก็จะตื่นตัวมาก ประตูใครเปิดน้อยก็ตื่นตัวน้อย
ยกตัวอย่างแบบนี้หลายคนคงร้องอ๋อกันแล้ว ใช่ครับ Introverts และ Extroverts จะมีความกว้างของประตู ARAS นี้ไม่เท่ากัน
Introverts จะมีความกว้างของประตู ARAS ที่มากกว่า ส่งผลให้เมื่อเจอสิ่งเร้า หรือสิ่งแปลกปลอมที่ไม่คุ้นเคย ก็จะตื่นมาก และตื่นตัวได้ง่าย จะเรียกว่าขี้ตกใจก็ได้ ซึ่งถ้าน้ำมันไหลมามาก เกิดการตื่นตัวมาก เราเรียกลักษณะนี้ว่า Over-Arousal ซึ่งจะส่งผลให้ Introvert ตื่นเต้น/ประหม่า แล้วอยากกลับเข้าสู่ Comfort Zone โดยเร็ว
ซึ่งก็เหมือนเวลาไปงานปาร์ตี้แล้วอยากกลับบ้านเร็วๆนั่นแหละครับ
คริปโตไนท์กันไปเลยทีเดียว 🤣
ส่วนของ Extroverts คือคนที่ประตู ARAS นั้นเปิดไม่เยอะ ส่งผลให้เมื่อเจอกับสิ่งเร้าโดยรอบในปริมาณที่เท่าๆกัน ก็จะไม่รู้สึกตื่นตัวใดๆ ยังรู้สึกว่า ธรรมด๊าาาาา อะไรประมาณนี้
ในทางกลับกัน ถ้า Extroverts ถูกจับมานั่งคนเดียวนาน ไม่ได้เจอกับการกระตุ้นของระบบ ARAS นี้เลยก็จะมีลักษณะที่เรียกว่า Under-Arousal หรือเบื่อเพราะไม่มีการตื่นตัวเลย ทำให้อยากจะออกไปทำกิจกรรม ไปเจอผู้คนเพื่อเพิ่มความตื่นตัวให้กับตัวเองได้เช่นกัน
ซึ่งนั่นคือเหตุผลที่ Extroverts ไม่สามารถอยู่เฉยๆได้นานและต้องการออกไปทำอะไรซักอย่างเพื่อไม่ให้เบื่อนั่นเอง
และเมื่อเราเอาคำอธิบายของระบบ ARAS นี้ไปรวมกับการทำงานของ Amygdala และ Prefrontal Cortex ด้านบนนั้นก็จะเห็นภาพที่ชัดเจนว่าทำไมคนเราถึงสามารถฝืนธรรมชาติความเป็น Introvert / Extrovert กันได้ และแต่ละคนก็จะมีความสามารถในการฝืนได้ไม่เท่ากันอีกด้วย
เข้าใจแล้วใช่มั้ยครับว่าทำไมตอนผมอ่านพาร์ทนี้ผมถึงร้องอื้อหือออกมาหลายรอบมาก เพราะเป็นครั้งแรกเลยที่ได้เข้าใจในระบบและความสัมพันธ์ของนิสัยตัวเองเป็นครั้งแรกจริงๆ แล้วยังนำไปต่อยอกเพื่อทำความเข้าใจคนอื่นๆที่มีลักษณะบุคลิกตรงกันข้ามกับเราได้อีกด้วย
หวังว่าทุกคนที่เข้ามาอ่านจะรู้สึกแบบเดียวกันนะครับ อาจจะมีหลายส่วนที่ผมไม่สามารถสรุปมาใส่ในนี้ได้ทั้งหมดจริงๆ ใครอ่านสรุปตัวเล็กๆผมไหวก็ไปอ่านใน Comment ได้ หรือถ้ายังไม่สะใจผมแนะนำให้ซื้อมาอ่านเลยครับ !!! 🤣🤣
ใครคล่องภาษาอังกฤษก็ไปจัดมาได้เลย ส่วนใครถนัดภาษาไทยรออีกไม่นานครับ สำนักพิมพ์ OMG Books กำลังเร่งทำเล่มนี้อยู่ หรือถ้าใจร้อนไปหามือสองที่เคยตีพิมพ์เมื่อหลายปีที่แล้วมาอ่านกันก่อนได้แต่บอกเลยว่าหายากนิดนึงนะครับ 🥲🥲
ทุกคนคงสงสัยตั้งแต่หัวข้อแล้วว่าทำไมต้องเป็น 2.1 เพราะว่ามันจะต้องมี 2.2 นั่นเองครับ 🤣🤣
โดย 2.2 นั้นยังอยู่ในหัวข้อของเรื่องที่ว่าด้วยความ Introvert นั้นเป็นมาแต่เกิด หรือเปลี่ยนได้เช่นเดิม แต่ตัวบทจะเน้นไปในทางปฏิบัติ มีการยกตัวอย่างกรณี Introvert ในสายอาชีพทางการเมืองของ Eleanor Roosevelt (ภรรยาของ Franklin D. Roosevelt) รวมไปถึงสายการลงทุนของนักลงทุนชื่อดังอย่าง Warren Buffett ด้วยนั่นเองครับ
ซึ่งถ้านำมาเขียนรวมกันแล้วมันจะยาวมากๆ ผมเลยขอแยกออกมาเป็น 2.2 ซึ่งน่าจะตามมาเร็วๆนี้ครับ ไม่เกินสิ้นเดือนนี้แน่นอน รับประกันเพราะหนีไปชาร์จพลังตอนสงกรานต์มาแล้ว 😂😂
ยังไงฝากติดตามกันต่อไปด้วยนะครับ นี่เป็นครั้งแรกเลยที่ทางเพจเขียนแบบเจาะลึกแบ่งพาร์ทเยอะมากๆ แล้วเดี๋ยวจะรวบรวมเป็นโพสต์ใหญ่ให้อีกทีนึงตอนจบแล้วให้มาอ่านกันยาวๆอีกทีนะครับผม
*** พอทำหลายพาร์ทชะมีปัญหาเรื่องทำรูปด้วยนะเนี่ย หมดมุขละ 🤣🤣
ถ้าใครชอบเนื้อหาเน้นๆตามสไตล์เพจ “เล่า” ของผมก็สามารถกด Like เพจเพื่อติดตามเนื้อหาใหม่ๆของทางเพจได้นะครับ จะมีมาเล่าให้ในหลายๆเรื่องเลย ตามเพจเล่าไม่มีเบื่อแน่นอน เพราะแอดมินขี้โม้ หามาเล่าได้ทุกเรื่องครับ 😂😂
อยากให้เล่าเรื่องไหน รีเควสได้ ถ้าไม่นอกเหนือความสามารถก็จะไปหามาให้ครับ 😎😎
ติดตามเรื่อง “เล่า” ผ่านช่องทางต่างๆได้ดังนี้
Clubhouse : @withptns , เล่า’s Bookclub
Blockdit “เล่า” : https://www.blockdit.com/unfold
Instagram “เล่า” @withptns : https://instagram.com/withptns
Twitter “เล่า” @withptns : https://twitter.com/withptns
ติดต่อโฆษณา ฝากลิ้งค์สั่งหนังสือ หรือ ติดต่อร่วมงานกับเพจ “เล่า” ได้ที่อีเมล์ ptns81@gmail.com ครับ
#เล่า #เล่าหนังสือ #เล่าความรู้ #unfold #ส่งเสริมการอ่าน #ส่งเสริมการเรียนรู้ #Quiet #SusanCain #PowerofIntrovert #Introvert
โฆษณา