20 เม.ย. 2021 เวลา 14:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
นักวิชาการ มอง 'กัลฟ์' ฮุบ 'อินทัช' จุดเปลี่ยนโทรคม
“นักวิชาการด้านโทรคม” มองเกม “กัลฟ์-อินทัช” หากสำเร็จจริงเกิดจุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมหลายมิติ ฮุบอินฟราฯ โทรคมมือถือ-บรอดแบนด์-ดาวเทียมเบ็ดเสร็จ ยันแม้เปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นข้ามเซ็กเตอร์ แต่อนาคตทุกอย่างใช้ 5จีเชื่อมธุรกิจ ชี้เป็นอภิมหาดีล
บทความโดย ปานฉัตร สินสุข
นักวิชาการ มอง 'กัลฟ์' ฮุบ 'อินทัช' จุดเปลี่ยนโทรคม
“นักวิชาการด้านโทรคม” มองเกม “กัลฟ์-อินทัช” หากสำเร็จจริงเกิดจุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมหลายมิติ ฮุบอินฟราฯ โทรคมมือถือ-บรอดแบนด์-ดาวเทียมเบ็ดเสร็จ ยันแม้เปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นข้ามเซ็กเตอร์ แต่อนาคตทุกอย่างใช้ 5จีเชื่อมธุรกิจ ชี้เป็นอภิมหาดีลบทพิสูจน์แม้โทรคมฯ เงินน้อยลงทุนมากแต่ยังมีเสน่ห์ ขณะที่ "แหล่งข่าวด้านโทรคม" ชี้หากดีลสำเร็จ สะเทือน "ทรู ดีแทค" ดิ้นปรับยุทธศาสตร์ใหม่
นายสืบศักดิ์ สืบภักดี กรรมการบริหารและเลขาธิการสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (สทค.) กล่าวว่า หากมีการเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นในธุรกิจโทรคมนาคมจริง จะถือเป็นเรื่องใหญ่ทั้งในแง่ของผู้ประกอบการ อุตสาหกรรม และผู้บริโภค เพราะในมุมของราคาหุ้นนั้น หุ้นเอไอเอสและอินทัชถือว่าอยู่ในกลุ่มพรีเมียม
1
หากกัลฟ์เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในอินทัชได้สำเร็จ และจะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในเอไอเอส และไทยคมไปโดยปริยาย เท่ากับว่า กัลฟ์จะมีโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรัคเจอร์) ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลครบถ้วน เพราะเอไอเอสก็จะได้ทั้งธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) อินทัชก็จะได้ธุรกิจที่เกี่ยวกับการลงทุนนวัตกรรมในสตาร์ทอัพ ส่วนไทยคมนั้นก็เท่ากับว่าจะได้ธุรกิจดาวเทียม
2
โทรคมยังมีมนต์ขลัง
1
ที่ผ่านมา มีหลายคนพูดว่าธุรกิจโทรคมนาคมไม่น่าลงทุนและหมดมนต์ขลังแล้ว เนื่องจากใช้เงินลงทุนมหาศาลทั้งการสร้างสถานีฐาน โครงสร้างเครือข่าย ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) ซึ่งรวมๆ จากการประกอบธุรกิจจนมาถึงวันนี้น่าจะมากกว่า 6-7 แสนล้านบาท แต่กลับกันรายได้จากธุรกิจโทรคมนาคม โดยเฉพาะการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ค่าบริการอินเทอร์เน็ตรายเดือนกลับไม่ได้มีเม็ดเงินที่สูงเมื่อเทียบกับอดีตที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการเองต้องเบนเข็มธุรกิจไปทำเป็นบริการโซลูชั่นเสริมให้ลูกค้าภาคธุรกิจเพิ่มเติม ดังนั้น หากดีลนี้สำเร็จจริงก็เท่ากับในอนาคตอาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจอีกหลายมิติ
2
“เป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าสนใจมาก เพราะที่ผ่านมาเราไม่เคยเห็นการเทคโอเวอร์ หรือการเปลี่ยนมือข้ามอุตสาหกรรมอย่างนี้ เพราะโทรคมนาคมกับพลังงานไม่ได้ใกล้เคียงกัน แต่ผมก็มองว่า นักลงทุนคงเห็นภาพที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะอย่างที่หลายคนพูดคือทุกอุตสาหกรรมจะมีตัวเชื่อมถึงกันนั่นก็คือ 5จี”
3
จับตาบริการใหม่ 5 จีตัวเชื่อม
2
เขา กล่าวว่า หากการทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์สำเร็จ จะถือเป็นดีลประวัติศาสตร์ด้วยมูลค่าที่มหาศาล และในอนาคตบริการใหม่ๆน่าจะออกมามากขึ้น จากที่เราเห็นเคยว่า เป็นบริการที่อยู่ในต่างประเทศ เช่น การใช้ระบบโซล่าร์ รูฟท๊อป มาบริหารจัดการทรัพยากรพลังงานในบ้าน เพื่อเป็นสมาร์ท เฮ้าส์ หรือ สมาร์ท โฮม เพราะโดยปัจจุบันต้องอาศัยการรับส่งสัญญาณผ่านเครือข่าย 5จีอยู่แล้ว หรืออย่างเช่น รถยนต์ไฟฟ้าหรือพลังงานสะอาดโดยมีตัวบังคับผ่านสมาร์ทโฟน ซึ่งหากดีลนี้สำเร็จจะถือเป็นการขยายภาพและต่อยอดบริการคอนเวอร์เจนท์ของธุรกิจอย่างแท้จริง
1
ทั้งนี้ ปัจจุบัน เอไอเอสถือครองคลื่นความถี่ทั้ง 4จี และ 5จี มากที่สุด ครอบคลุมมากที่สุดในไทย จำนวน 1420 เมกะเฮิรตซ์ ​สำหรับภาพรวมผลประกอบการ ปี 2563 เอไอเอส มีรายได้รวม 172,890 ล้านบาทครองส่วนแบ่งการตลาด อันดับ 1 ทั้งด้านรายได้ และจำนวนผู้ใช้บริการ ปัจจุบันมีจำนวนลูกค้าโทรศัพท์มือถือมากที่สุดในตลาดอยู่ที่ 41.4 ล้านเลขหมาย และปีนี้จัดสรรงบลงทุนในปี 2564 จำนวน 25,000 - 30,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล
8
ด้านอินทัช ระบุว่า บริษัทวางแผนการดำเนินงานในช่วง 5 ปี (ปี 2564-2568) ขยายขอบเขตการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี 5จี มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ EdTech, Robotic, Health Tech, E-Commerce, Big Data, Smart Building, InsurTech เป็นต้น และยังได้เพิ่มการลงทุนผ่านกองทุนเวนเจอร์แคปปิตอล (Venture Capital Fund) เพื่อขยายโอกาสการลงทุนที่ครอบคลุมในหลายภูมิภาค โดยจะลงทุนในกองทุนจำนวน 3 กองทุน ที่อยู่ในภูมิภาค ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน, เกาหลี และอิสราเอล และในปีนี้ยังคงงบลงทุนในโครงการอินเว้นท์ (InVent) ไว้ระดับเดิมที่ 200-250 ล้านบาท และตลอดระยะเวลา 9 ปีที่ผ่านมา อินทัชลงทุนในสตาร์ทอัพทั้งหมด 26 ราย มีมูลค่าพอร์ตการลงทุนกว่า 1,300 ล้านบาท
5
ขณะที่ แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคม ระบุว่า ดีลนี้น่าจับตาเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าสำเร็จจะเปลี่ยนอุตสาหกรรมโทรคม และอุตสาหกรรมด้านพลังงานไปอย่างสิ้นเชิง คงได้เห็นการเชื่อมธุรกิจ (Synergy) ระหว่างโลกโทรคม และโลกพลังงานผ่านเครือข่ายสื่อสารอัจฉริยะ โดยเฉพาะ 5จี เกิดเป็นบริการใหม่ ซึ่งผู้บริโภคจะได้ประโยชน์ ขณะที่ ยังเป็นการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ มีผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ ซึ่งกัลฟ์ และอินทัช คือ ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมของไทยทั้งคู่
1
ขณะที่ อีก 2 บริษัทอย่าง ทรู และดีแทค อาจต้องคิดยุทธศาสตร์ใหม่ทั้งในแง่ของการแข่งขัน เพราะเชื่อว่าถ้าดีลสำเร็จได้จริง การแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
1
โฆษณา