21 เม.ย. 2021 เวลา 17:18 • ประวัติศาสตร์
#เรื่องเก่าเล่าก่อนนอน,
#สี่มะเส็ง,(ตอนที่ 1)
1
สวัสดีครับ เพื่อนๆ
โพสต์อันเนื่องมาจากการสะกิดของกู๊ดนะครับ 😇❤️🎶🎵💙
2
เนื่องด้วยวันที่ 21 เมษายน พุทธศักราช 2325 เป็นวันยกเสาหลักเมือง ครั้งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์
1
และในวันที่ 21 เมษายนนี้ ก็เป็นวันคล้ายวันเกิดน้องชายจอมป่วน ของกระผม ด้วย เช่นกัน (เจ้าพระยาดาต้านั่นเองขอรับ)🎂🥂🎂🔥🌟❤️🎵🎶🎹
2
ดังนั้นในวันนี้ ผมขอจึงอนุญาตเล่าถึง เหตุการณ์ในพิธียกเสาร์หลักเมือง และพิธีแก้อวมงคลนิมิตนั้นในโพสต์วันนี้นะครับ ❤️😇
สุขสันต์วันพุธ นะครับ ทุกคน😇❤️
#เหตุการณ์คราเมื่อพิธียกเสาหลักเมืองครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่๑,
เสาหลักเมือง
ในวันพิธียกเสาหลักเมืองครั้งแรก เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๑ เมษายน ๒๓๒๕
ในสมัยรัชกาลที่ ๑ นั้น มีเรื่องแปลกเล่ากันไว้ว่า ..
เมื่อใกล้จะถึงเวลาพระฤกษ์ พระโหราจารย์กล่าวโฉลกบูชาฤกษ์แล้ว พระมหาราชครูอ่านพระราชโองการตั้งพระมหานคร
ขุนโหรจึงเริ่มประกอบพิธีกล่าวอุทิศเทพสังหรณ์ อัญเชิญก้อนดินซึ่งพลีมาแต่ทิศทั้ง ๔ แห่งพระนคร กระทำให้เป็นก้อนกลมดุจลูกนิมิตลงสู่ก้นหลุมเป็นลำดับกันไป
เริ่มแต่ดินทิศบูรพา ถือเป็น ปฐวีธาตุสารวัฒนะ..
ดินทิศทักษิณ ถือเป็น อาโปธาตุมหาวัฒนะ..
1
ดินทิศปัจฉิม ถือเป็นอัคคีธาตุ..
และดินจากทิศอุดร ถือเป็นวาโยธาตุอลังการ..
(ซึ่งผมก็ได้เชื่อมโยงความเชื่อในเรื่อง ดิน๔ ทิศ .. คนสี่ธาตุ ที่ปรากฏในพิธียกเสาหลักเมืองนี้.. ให้เป็นตัวละครในนิยายจันทร์เจ้าขาของผมเช่นกันครับ.. ซึ่งผมค่อยๆเฉลยเรื่อยมา ในจันทร์เจ้าขา ตอนพิเศษ ถึงผู้ที่มีธาตุเรือนต่างๆกัน ที่จะมาช่วยกันแก้ไข สถานการณ์ของสยาม ตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๒๖ เช่น คุณหนูดี (มะตีริ)เป็นธาตุลม, คุณหนูฆฤณ (กะริน) เป็นธาตุไฟ, คุณพีระ เป็นธาตุน้ำ และผู้กองหนุ่ม เป็นธาตุดิน เป็นต้น ครับ)❤️
มาเข้าเรื่องเสาหลักเมืองกันต่อนะครับ..
เสาหลักเมืองนั้นเป็นไม้ชัยพฤกษ์ ภายในเสาจะบรรจุแผ่นดวงพระชันษาพระนคร..และนำยันต์โสฬสฯ มาปิดที่ต้นเสา กับปลายเสา ด้านละแผ่น..
2
จากนั้นก็นำแผ่นศิลาลงยันต์สำหรับรองรับหลักวางลงบนก้อนดินทั้ง ๔ ภายในก้นหลุมก็ตกแต่งไว้เรียบร้อย กรุด้วยผ้าขาวบริสุทธิ์ ดาดด้วยใบไม้อันเป็นมงคล ๙ ประการ โปรยด้วยแก้วนพรัตน์เรียงรายโดยรอบขอบปริมณฑลภายในก้นหลุม..
ที่บริเวณรอบหลุม จะมีศาลเทวดาจตุโลกบาลทั้ง 4 ซึ่งประกอบด้วยท่านท้าวเวสสุวรรณ (พระบิดาของคุณหนูกะริน) ท้าวธตรฐ ท้าววิรูปักษ์ และท้าววิรุฬหก (ที่ปรากฏแล้วในนิยายจันทร์เจ้าขา เล่ม ๑ นะครับ)
1
และให้ศาลพระอินทร์ หรือ นัตตะจามิน (นัตหลวงองค์สำคัญ) อยู่ตรงกลางนะครับ
นัตตะจามิน
จนเมื่อถึงพระฤกษ์ โหราจารย์ก็ย่ำฆ้องบอกกำหนด ชีพ่อพราหมณ์เป่ามหาสังข์ แกว่งบัณเฑาะว์ เจ้าพนักงานประโคมดุริยางค์แตรสังข์และพิณพาทย์ เจ้าหน้าที่ประจำยิงปืนใหญ่เป็นมหาพิไชยฤกษ์ เริ่มพระราชพิธีอัญเชิญเสาหลักเมืองลงสู่ก้นหลุมโดยวางไว้บนแผ่นศิลายันต์..
แต่ทันใดนั้นเองก็ปรากฏการณ์อันเป็นมหัศจรรย์ขึ้นอย่างไม่คาดคิด เมื่อมีงูเล็ก ๔ ตัว ปรากฏลงไปอยู่ในหลุมตั้งแต่เมื่อใดไม่มีใครเห็น
จะมาเห็นก็ต่อเมื่อเสาหลักเมืองได้เวลาเคลื่อนลงสู่หลุมแล้ว จะยั้งไว้ก็มิได้ เพราะขั้นตอนพิธีทุกอย่างต้องเป็นไปตามพระฤกษ์ จึงต้องเลยตามเลย ปล่อยเสาลงก้นหลุมแล้วกลบดินทับงูทั้ง ๔ ตัวไว้ในหลุมหลักเมืองนั้นด้วย..
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ได้ยังพระปริวิตกให้แก่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเป็นอันมาก จึงทรงเรียกประชุมเหล่าเสวกามาตย์ ราชบัณฑิต ปุโรหิต โหราจารย์และพระราชาคณะ ตลอดจนผู้รู้ทั้งหลาย มาร่วมวิพากษ์วิจารณ์ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งที่ประชุมก็ถวายความเห็นสอดคล้องกันว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนับเป็นอวมงคลนิมิต..
#สี่มะเส็ง
ใน “จดหมายเหตุความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) ตั้งแต่จุลศักราช ๑๑๒๙ ถึงจุลศักราช ๑๑๘๒ เป็นเวลา ๕๓ ปี” มีบันทึกถึงเหตุการณ์ยกเสาหลักเมืองในสมัยรัชกาลที่ 1 ไว้อย่างน่าสนใจว่า..
“ณ วันอาทิตย์ เดือน ๗ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีระกา (ราว ๗ ปี ๗ เดือน นับจากวันที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ ) เอกศก เพลาบ่าย ๓โมง ๖ บาท
อสนีบาตพาดสายตกติดหน้าบันมุขเด็จเบื้องทิศอุดร ไหม้ตลอดทรงบนปราสาท
ปลายหักฟาดลงพระปรัสซ้ายเป็นสองซ้ำ ลงซุ้มพระทวารแต่เฉพาะไหม้
พระโองการตรัสว่า เราได้ยกพระไตรปิฎก เทวดาให้โอกาสแก่เรา ต่อเสียเมือง(อันตรายจากศึกพม่า)จึงจะเสียปราสาท
ด้วยชะตาเมืองคอดกิ่วใน ๗ ปี ๗ เดือน เสร็จสิ้นพระเคราะห์เมือง จะถาวรลำดับกษัตริย์ถึง ๑๕๐ ปี..”
พระโองการนี้คือคำพยากรณ์ของรัชกาลที่ ๑ ที่ทรงไขปริศนางูเล็ก ๔ ตัวในวันพระราชพิธีฝังเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ และการแก้อวมงคลนิมิตโดยเทวดา..จากเหตุการณ์พระอสนีบาตพาดสาย
#ถอดรหัสโหรต่อสี่มะเส็ง
คำพยากรณ์ “ชะตาเมืองคอดกิ่ว 7 ปี 7 เดือน”
ตามหลักโหราศาสตร์แล้ว “งูเล็ก” อันเป็นอวมงคลนิมิตร์ที่ปรากฏในพิธี ในตำราทักษาพยากรณ์
งูหรือ “นาคนาม” หมายถึง ดาวเสาร์ ซึ่งในโหราศาสตร์ไทยแทนด้วยเลข ๗
ขณะที่ลัคนาดวงเมืองไทยสถิตราศี เมษ โดยมีพุธ-ศุกร์-เสาร์เป็นดาวให้โทษ(หลักโหราศาสตร์ภารตะ)
แต่โหรผู้วางฤกษ์ได้วางดาวพุธ-ศุกร์ในราศีมีน / ภพวินาศ เพื่อกลบไว้ไม่ให้มีฤทธิ์
(อันที่จริง ยังมีฤทธิ์เดชอยู่ แต่แสดงออกในทางลับ - ด้วยการปกปิดซ่อนเร้น อันเป็นความหมายของภพวินาศ)
จึงเหลือแต่เสาร์ที่ต้องเพ่งเล็งระมัดระวัง
เสาร์อยู่ราศีธนู / ภพที่ 9 กุมสนิทกับพฤหัส - ซึ่งเป็นดาวให้คุณสูงสุดกับลัคน์เมษ
ทั้งยังอยู่ในข่าย “วิกลคติพักร์ (หยุดนิ่งเพื่อถอยหลัง)” อีกด้วย เสาร์จึงเป็นดาวให้โทษใหญ่
ด้วยเหตุนี้เอง อวมงคลนิมิตร์ “งูเล็ก” จึงยืนยันถึงโทษภัยร้ายแรงของ เสาร์ ในดวงเมือง
เสาร์จรราศีละ 2 ปีครึ่ง เสาร์เดิมพักร์ที่ 10 องศา เสาร์ใช้เวลา 7 ปีครึ่ง จึงจรถึงราศีมีน / ภพวินาศ ซึ่งยากที่จะแสดงฤทธิ์ และพ้นระยะบ่อนเบียนลัคน์จันทร์แล้ว ผ่านช่วงเวลา 7 ปี 7 เดือน ที่ชะตาเมืองคอดกิ่ว ก็เป็นไปด้วยเหตุผลนี้เอง
สวัสดี และขอจบเพียงเท่านี้
ขอบคุณครับ
ในตอนหน้า จะขอเล่าต่อถึงการแก้ยกเสาหลักเมืองครั้งที่๒ ในสมัยรัชกาลที่๔.. การแก้ชื่อกรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่๔ เช่นกัน จนถึงสี่มะเส็งในสมัยรัชกาลที่ ๗ และตึกสี่มะเส็ง สถานเสาวภานะครับ ❤️😇🙏
1
ภาพและข้อมูลอ้างอิง: อาถรรพ์งู ๔ ตัว ในหลุมหลักเมือง(โรม บุนนาค), “จดหมายเหตุความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) ตั้งแต่จุลศักราช ๑๑๒๙ ถึงจุลศักราช ๑๑๘๒ เป็นเวลา ๕๓ ปี”
โฆษณา