25 เม.ย. 2021 เวลา 06:30 • ธุรกิจ
กลยุทธ์การตั้งราคาของร้านอาหารมีอะไรบ้าง ?
1
กลยุทธ์การตั้งราคาของร้านอาหารมีอะไรบ้าง ?
การตั้งราคาถือเป็นศาสตร์ที่เจ้าของร้านส่วนใหญ่มักคิดว่าไม่สำคัญ
จะตั้งราคาไหนก็ได้ตามใจตัวเอง แต่ความเป็นจริงแล้ว
การตั้งราคาบางครั้งสามารถกำหนดผลลัพธ์ทางธุรกิจได้เลย
ซึ่งทฤษฎีการตั้งราคานั้นหลักๆ มีอยู่ 3
แบบที่เป็นที่นิยมสำหรับธุรกิจร้านอาหาร คือ
1. ตั้งราคาจากต้นทุน
1. ตั้งราคาจากต้นทุน (Cost-Based Pricing)
2
วิธีนี้เป็นวิธีการตั้งราคาโดยดูจากต้นทุนเป็นหลัก
ซึ่งเราจะต้องรู้ก่อนว่าอาหารของเราจานนั้น
มีต้นทุนค่าวัตถุดิบอยู่ที่เท่าไหร่ พอเรารู้ว่าต้นทุนจานนั้นของเรา
อยู่ที่กี่บาท มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ
ค่าพนักงานอยู่ที่เท่าไหร่ เราถึงจะมากำหนดว่า
เราต้องการกำไรอยู่ที่เท่าไหร่ของต้นทุน
ซึ่งปกติร้านอาหารจะตั้งราคาขายอยู่ที่ประมาณ 3 เท่า
ของต้นทุนอาหารหรือประมาณ 30 - 35 % ถ้าต้นทุน
ของก๋วยเตี๋ยวหนึ่งชามอยู่ที่ 20 บาท ราคาขายก็อาจอยู่
ประมาณ 60 - 80 บาท ขึ้นอยู่กับกลุ่มลูกค้าและทำเลของร้าน
แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกเมนูจำเป็นต้องตั้งราคาขายประมาณ 3 เท่า
ของต้นทุนเสมอไป บางครั้งเราอาจมีเมนู Signature ของร้าน
ที่ทุกคนมาแล้วต้องสั่ง ซึ่งต้นทุนอาจสูงกว่าโดยเฉลี่ย
แต่ก็แลกกับจำนวนการสั่งที่มากขึ้น และทำให้ลูกค้าเห็นว่า
ร้านของเรามีราคาไม่แพง ซึ่งเรียกว่า
กลยุทธ์ราคาล่อใจ (Loss Leader Pricing)
การตั้งราคาแบบ Cost-Based Pricing จะต้องคำนึกด้วยว่า
ปกติแล้วราคาต้นทุนวัตถุดิบจะปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ย 5 - 10 %
ในทุกๆ ปี ฉะนั้นราคาที่เราต้องควรมีการเผื่อสำหรับราคาต้นทุน
ที่จะขึ้นไว้ด้วย เพราะลูกค้าคงรู้สึกไม่ดีแน่ ถ้าร้านของเราเพิ่งเปิด
ตอนต้นปีแล้วมีการปรับราคาในปีถัดไป
2. ตั้งราคาจากสภาพการแข่งขัน
2. ตั้งราคาจากสภาพการแข่งขัน (Compettive-Based Pricing)
.
ในตลาดที่มีกานแข่งขันสูง การเปรียบเทียบราคาขายกับคู่แข่ง
ในตลาดจะทำให้เรารู้ว่าอาหารประเภทเดียวกันกับร้านเรา
ลูกค้าพร้อมที่จะจ่ายอยู่ที่ช่วงราคาเท่าไหร่ ถ้าเราต้องการดึงดูดลูกค้า
เข้ามาในช่วงเปิดร้าน เราอาจมีการขายราคาขาย
ให้ต่ำกว่าคู่แข่งสัก 10 % หรืออาจตั้งราคาให้สูงกว่าคู่แข่ง
สัก 5 - 10 % ก็ได้ ถ้าเรามีทำเลที่ดีกว่า ใช้วัตถุดิบที่ดีกว่า
หรือมีบริการที่ดีกว่า
เช่น ถ้าคู่แข่งขายบุฟเฟต่ปิ้งย่างหัวละ 300 บาท
เราในฐานะผู้เล่นหน้าใหม่ในตลาดอยากตั้งราคา
ให้ดึงดูดลูกค้ามาลอง แต่เราเองก็ยังไม่เคยทำร้านอาหารมาก่อน
กลัวว่าตั้งราคาไปแล้วจะควบคุมต้นทุนไม่ได้ในท้ายสุด
แทนที่จะตั้งราคาให้ต่ำกว่า 290 บาท เราอาจตั้งราคาขายอยู่ที่ 320 บาท
แต่ช่วงเปิดร้าน 2 เดือนแรกลดราคาเหลือ 270 บาท
นี่ก็เป็นอีกวิธีนึงที่ใช้ดึงดูดลูกค้าเข้าร้าน โดยที่ยังป้องกันความเสี่ยง
จากการที่ไม่สามารถควบคุมต้นทุนได้อย่างที่ต้องการ
1
กลยุทธ์การตั้งราคาโดยเปรียบเทียบคู่แข่งนั้น
เหมาะสำหรับร้านที่มีเมนูไม่หลากหลายหรืออาจมีราคาเดียว
แบบร้านอาหารบุฟเฟต์หรือร้านกาแฟ เพราะลูกค้าร้านประเภทนี้
ลูกค้ามักจะเปรียบเทียบราคาและสินค้าก่อนตัดสินใจเสมอ
กับดักของกลยุทธ์การตั้งราคาที่เจ้าของร้านมักเจอคือ
การลดราคาหรือทำโปรโมชั่นของคู่แข่ง ทำให้เราต้องลดราคา
เพื่อรักษาฐานลูกค้าโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนวัตถุดิบที่จะสูงมากขึ้น
ส่งผลให้กำไรเริ่มร่อยหรอลงเรื่อยๆ
ฉะนั้นต่อให้ร้านเราจะตั้งราคาด้วยวิธีนี้ แต่ก็อย่าลืมคิดแบบวิธี
ตั้งราคาจากต้นทุน (Cost-Based Pricing) ควบคู่กันไปด้วย
เพื่อไม่ให้ต้นทุนสูงเกินที่เราจะควบคุมได้
3. ตั้งราคาจากการให้คุณค่าแก่ลูกค้า
3. ตั้งราคาจากการให้คุณค่าแก่ลูกค้า (Value-Based Pricing)
วิธีนี้เป็นการตั้งราคาโดยดูจากคุณค่าที่ลูกค้ายอมจ่าย
เพื่อแลกกับคุณภาพและการบริการ ซึ่งส่วนใหญ่ร้านที่ตั้งราคา
ด้วยวิธีนี้มักจะมีราคาขายสูงกว่าสองวิธีก่อนหน้านี้
แต่ก็ใช่ว่าทุกร้านจะสามารถใช้วิธีนี้ได้
วิธีนี้อาจไม่เหมาะกับทุกปรเภทร้านอาหารโดยเฉพาะประเภท
Fast Food หรือ Food Casual ที่กลุ่มลูกค้าเป็นกลุ่มรายได้
ระดับล่างถึงกลาง คนกลุ่มนี้ต่อให้สนใจเรื่องคุณภาพ
และรสชาติเป็นหลัก แต่ราคาก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญ
ในการตัดสินใจเลือกร้าน
ฉะนั้นการตั้งราคาแบบ Value-Based Pricing นั้น
จึงเหมาะกับร้านอาหารที่จับกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้สูง
ซึ่งโดยมากมักเป็นร้าน Fine Dining ร้านประเภทนี้มักมีเมนูพิเศษ
หรือบริการที่หาไม่ได้จากที่ไหน ทำให้ลูกค้าไม่ได้ยอมจ่ายเงิน
เพื่อลิ้มรสอาหารเพียงอย่างเดียว แต่มาใช้บริการเพื่อสัมผัส
ประสบการณ์พิเศษ ซึ่งประสบการณ์พิเศษนี้เอง
ทำให้ร้านอาหารสามารถชาร์จราคาที่มากกว่าปกติได้
ติดตามTorpenguin - ผู้ชายขายบริการในช่องทางอื่นๆได้ที่
ติดต่องาน E-mail : torpenguin.channel@gmail.com
โฆษณา