26 เม.ย. 2021 เวลา 07:32 • สุขภาพ
‘ญี่ปุ่น’ ชาติที่ฉีดวัคซีนล่าช้าที่สุดในกลุ่มประเทศชั้นนำ
เข็มฉีดยาขาดแคลน ประชาชนไม่เชื่อมั่น ทำผู้ติดเชื้อไม่ลด
2
ปัญหาการกระจายวัคซีนให้กับประชาชนที่เกิดความล่าช้า น่าจะเป็นปัญหาที่หลายประเทศกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ทั้งจากการจำกัดการส่งออกวัคซีนหรือวัตถุดิบในการผลิตไปยังประเทศที่สั่งจอง เพราะต้องฉีดให้กับคนในประเทศหรือภูมิภาคของผู้ผลิตก่อน รวมถึงการที่บางประเทศยอมทุ่มเงินสั่งจองวัคซีนในราคาแพงกว่าประเทศอื่นๆ เพื่อลัดคิวได้วัคซีน หรือปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายแล้วแต่ว่าชาติใดจะเจอสถานการณ์แบบไหน
1
หากเป็นประเทศที่อาจจะไม่ได้ร่ำรวย หรือเป็นประเทศกำลังพัฒนา ปัญหานี้อาจไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจสักเท่าไหร่ที่จะมีอุปสรรค์ แต่ถ้ามันเกิดขึ้นกับประเทศที่พัฒนาแล้วที่ถือว่ามีเงิน ร่ำรวย และมีพลังอำนาจทางเศรษฐกิจระดับหัวแถวของโลกอย่าง "ญี่ปุ่น" ก็เผชิญกับปัญหาการกระจายวัคซีนให้ครอบคลุมกับประชาชน ทั้งในแง่ของการนำเข้าที่ล่าช้า อุปกรณ์สำหรับการฉีดที่ขาดแคลน รวมทั้งความรู้สึกของประชาชนไม่ยอมรับวัคซีน
2
🔵 เริ่มฉีดล่าช้าที่สุดในประเทศกลุ่ม G7
ก่อนอื่นต้องรู้จักก่อนว่ากลุ่ม G7 คืออะไร G7 หรือ Group of Seven เป็นกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมที่มีเศรษฐกิจก้าวหน้าขนาดใหญ่ที่สุดของโลก โดยมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มนี้รวมกันแล้วคิดเป็นกว่า 50% ของเศรษฐกิจทั้งโลก ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นชาติเพียงหนึ่งเดียวในเอเชียที่อยู่ในกลุ่ม G7
ญี่ปุ่นนับว่าเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจ ณ ปัจจุบันใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐฯ และจีน และเคยครองอันดับ 2 ของโลกก่อนยุคที่ประเทศจีนจะมีอัตราการพัฒนาเศรษฐกิจที่เติบโตและเฟื่องฟูอย่างในปัจจุบัน
ในความเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกแล้ว ญี่ปุ่นน่าจะเป็นประเทศอันดับต้นๆ ที่การได้รับการจัดสรรและกระจายการฉีดวัคซีนให้กับประชากรได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว ตามสไตล์และมาตรฐานความเป๊ะแบบญี่ปุ่นที่รับมือกับภัยพิบัติต่างๆ ได้เป็นอย่างดีจนทั่วโลกยกย่องชื่นชมมาตลอด
1
แต่ในความเป็นจริงแล้ววิกฤตครังนี้ญี่ปุ่นคือ ประเทศที่ได้รับวัคซีนช้าที่สุดเป็นอันดับสุดท้ายและเริ่มฉีดให้กับผู้คนช้าที่สุดอีกด้วยในกลุ่มประเทศ G7 เพราะเพิ่งเริ่มฉีดวัคซีนเข็มแรกไปเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ก่อนหน้าประเทศไทยฉีดวัคซีนเข็มแรกเพียง 10 วัน
นับตั้งแต่วันแรกที่มีการเริ่มฉีดวัคซีนมาจนถึงวันนี้ (26 เมษายน) ญี่ปุ่นมีการฉีดวัคซีนในหมู่ประชากรไปแล้วเพียงแค่ 1% เท่านั้น และไม่ติดหนึ่งใน 10 ประเทศที่ฉีดวัคซีนได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะเป็น 1 ใน 3 ชาติที่คำสั่งจองวัคซีนเป็นจำนวนมากที่สุดถึง 564 ล้านโดส และสั่งเพิ่มอีก 50 ล้านโดส ซึ่งถือว่าสั่งจองวัคซีนมากที่สุดในเอเชีย
1
ข้อมูลของรัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่า ชาวญี่ปุ่นฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างน้อย 1 โดสจากทั้งหมด 2 โดสให้กับบุคลากรทางการแพทย์ไปแล้วกว่า 1.2 ล้านคนและผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปอีกราว 19,000 คน จากประชากรทั้งประเทศที่ 126 ล้านคน
🔵 ประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนได้เร็วครอบคลุมประชากรที่สุดมีดังนี้
🔹️ อิสราเอล 61% จากจำนวนประชากร 9.8 ล้านคน
🔹️ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 51% จากจำนวนประชากร 9.7 ล้านคน
🔹️ สหราชอาณาจักร 51 % จากจำนวนประชากร 66.7 ล้านคน
🔹️ สหรัฐอเมริกา 49% จากจำนวนประชากร 328 ล้านคน
🔹️ ชิลี 41% จากจำนวนประชากร 20 ล้านคน
🔹️ บาห์เรน 38% จากจำนวนประชากร 1.7 ล้านคน
🔹️ อุรุกวัย 32% จากจำนวนประชากร 3.5 ล้านคน
3
🔵 เข็มฉีดยาขาดแคลน ทำแผนกระจายวัคซีนสะดุด
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า ประเทศญี่ปุ่นที่มีบริษัทผลิตอุปกรณ์และเครื่องมือการแพทย์ที่ทันสมัย จะขาดแคลนอุปกรณ์พื้นฐานอย่างเข็มฉีดยา ที่สำคัญที่สุดต่อการฉีดวัคซีน และต้องใช้ 1 คน 1 ครั้ง 1 เข็ม เท่านั้น
1
เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นายทาโร โคโนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการปฏิรูปการปกครองและการปฏิรูปกฎระเบียบ ผู้ทำหน้าที่กำกับดูแลโครงการฉีดวัคซีนยอมรับว่า ความล่าช้าที่เกิดขึ้นมาจากอุปกรณ์การแพทย์พื้นฐานอย่างเข็มฉีดยาที่มีจำนวนไม่เพียง เพราะก่อนที่วัคซีนจะถูกนำมาฉีดให้กับประชาชนจะต้องผ่านการทดสอบทางคลินิกกับวัคซีนทุกตัวที่ญี่ปุ่นสั่งเข้ามา ซึ่งต้องใช้เข็มฉีดยาเป็นจำนวนมากในการทดสอบ และไม่สามารถใช้ซ้ำได้ต่อให้จะเป็นวัคซีนและเข็มที่ใช้จากขวดเดียวกันก็ตาม
1
โดยวัคซีนหนึ่งโดสจะต้องใช้เข็มฉีดยา 7 – 12 เข็มในการทดสอบ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเป็นวัคซีนจากบริษัทไหน อีกทั้งการทดสอบทางคลินิกต้องทดสอบหลายครั้งเพื่อความแน่ใจในประสิทธิภาพ ทำให้เข็มฉีดยาชนิดพิเศษเพื่อการทดสอบวัคซีนถูกใช้ไปเป็นจำนวนมากกว่าที่ผลิตได้ในปัจจุบัน ส่งผลต่อการขาดแคลนเข็มฉีดยาที่จะต้องใช้งานจริงกับประชาชน
1
อย่างไรก็ตามปัญหาการขาดแคลนเข็มฉีดยาน่าจะลดลงในช่วง 1 – 2 เดือนหลังจากนี้เมื่อผลการทดสอบทางคลินิกออกมาแล้วว่าวัคซีนมีความปลอดภัยมากเพียงพอ
1
🔵 ข่าวผลข้างเคียงทำประชาชนไม่มั่นใจในความปลอดภัย
อีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่ญี่ปุ่นแก้ไม่ตกคือ การสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการฉีดวัคซีนที่สั่งเข้ามา ถ้าหากติดตามข่าวจะพบว่า วัคซีนทุกบริษัทพบปัญหาผลข้างเคียงที่มีทั้งเบาและหนัก ตั้งแต่แพ้ขึ้นผื่นคัน ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อยหอบ ไปจนถึงลิ่มเลือดอุดตัน ช็อค หนักสุดคือเสียชีวิต
1
ญี่ปุ่นค่อนข้างให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยสูงมาก สิ่งต่างๆ ที่จะนำเข้าสู่ร่างกายโดยเฉพาะยาหรือวัคซีนจะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบทางคลินิกอย่างเข้มข้นในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งตรงกันข้ามกับหลายๆ ประเทศที่ได้รับวัคซีนปุ๊บก็เร่งฉีดปั๊บ
1
ที่ผ่านมาข่าวของผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนค่อนข้างกระทบต่อความเชื่อมั่นของชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก ทำให้ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่ฉีดวัคซีน ซึ่งส่งผลต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ที่ไม่สามารถลดอัตราการติดเชื้อลงได้แม้ว่าจะมีวัคซีนจำนวนมากเพียงพอให้ฉีดก็ตาม
ด้วยความที่ญี่ปุ่นถือว่าตัวเองเป็นหนึ่งในชาติที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในระดับสูงของโลกไม่น้อยหน้าใคร จึงมีความพยายามที่จะพัฒนาวัคซีนสัญชาติตัวเองขึ้นมา โดยมีบริษัทต่างๆ นับ 10 แห่ง แข่งกันผลิตวัคซีน แต่เมื่อนำผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศไปทำการทดสอบทางคลินิกในมนุษย์ผลปรากฎว่า มีเพียง 2 บริษัทเท่านั้นที่มีแนวโน้มจะผ่านเกณฑ์การทดสอบแบบฉิวเฉียด ส่วนที่เหลือยังเป็นเพียงแค่การทดลองในระดับเซลล์หรือทดสอบในสัตว์อยู่เลย
2
นายโอมิ ชิเกรุ ประธานคณะอนุกรรมการของรัฐบาล ได้กล่าวยอมรับว่า อุตสาหกรรมวัคซีนในญี่ปุ่นล้าหลังกว่าบริษัทในยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง ความแตกต่างของความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมวัคซีนระดับโลกเป็นหัวใจสำคัญของปัญหา แต่ญี่ปุ่นยังไม่สามารถพัฒนาไปถึงจุดนั้นได้
นอกจากผลิตเองยังไม่ได้แล้ว การที่จะให้คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยอมรับวัคซีนก็เป็นเรื่องที่ยากในสถานการณ์เช่นนี้ ท่ามกลางคำสั่งประกาศภาวะฉุกเฉินเป็นครั้งที่ 3 ของประเทศใน 2 มหานครสำคัญหลัก และอีก 2 จังหวัดคือ กรุงโตเกียว นครโอซากา จังหวัดเกียวโต ที่ตั้งของเมืองเกียวโตเมืองท่องเที่ยวชื่อดัง และจังหวัดเฮียวงะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของนครโกเบ ไปจนถึงวันที่ 11 พฤษภาคม หลังผู้ติดเชื้อกลับมามีจำนวนเพิ่มขึ้น
1
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
2
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
1
โฆษณา