2 พ.ค. 2021 เวลา 03:58 • ความคิดเห็น
การเรียนรู้เรื่องโลกภายนอกไม่มีที่สิ้นสุด
เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นตลอดเวลา
อย่าพึ่งปักใจเชื่ออะไรง่าย ๆ
แค่เพียงได้ยินได้ฟังมา
แม้กระทั่งประสบการณ์ตรงเอง
บางครั้งก็มีความผิดพลาดได้เช่นกัน
หมั่นเตือนตัวเองกันเนือง ๆ
Photo by Jess Vide from Pexels
ความมั่นใจแบบผิด ๆ มักจะมาในหลากหลายรูปแบบ
ทำให้ต้องพานพบกับความเข้าใจผิด
หน้าแตกยับเยินกันบ่อยครั้ง
1
เป็นเรื่องที่แปลกแต่จริง
ออกแนวอัศจรรย์ใจ
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้
ล้วนต้องอยู่ในสภาพสมดุลย์
มากไป น้อยไป ก็ก่อให้เกิดโทษ
ส่งผลให้เกิดความไม่สบายใจ
จะรู้ได้ยังไงว่าตรงไหน
คือจุดที่พอดี
อุปมาคล้ายกับการจับนกที่เซนซิทีฟสูง (ไวต่อสิ่งเร้า)
จับแน่นไป ก็รัดเกินไป หายใจไม่ออก
จับหลวมเกินไป นกก็บินหนีไป
วิธีที่จะรู้จุดสมดุลย์
คือ ต้องจับบ่อย ๆ
สำคัญ คือ ต้องเกิดการเรียนรู้ในทุก ๆ ข้อผิดพลาด
ไม่มีใครชอบอยู่กับคนที่มั่นใจเกินเหตุ
ไม่ยอมฟังใคร
ไม่มีใครอยากสอน
ไม่เป็นที่รักใคร่เอ็นดู
คนอีโก้จัด มักอยู่ยาก
ในฝั่งขั้วตรงข้ามก็เช่นกัน
กลัวไปหมด
ถูกบั่นทอนกันไปถ้วนหน้า
ประเด็น คือ บางครั้งคนอีโก้จัดคนนั้น
ก็ดันเข้าใจอะไรผิด ๆ ซะนี่
จึงเป็นเรื่องยากเหลือเกิน
ในการเปลี่ยนแปลงความคิดใคร
คน ๆ นั้นต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองเท่านั้น
ทุกคนไม่มีใครรู้สึกว่าตัวเองผิดหรอก
ต่อให้มีคนมาบอก มาตักเตือน
ก็มักจะมีเหตุผลที่แอบเถียงอยู่ในใจ
ไปเอาความเข้าใจนั้นมาจากไหนไม่รู้
รู้อีกทีก็ฝังรากลึกลงไปแล้ว
คน ๆ นั้น จะรู้ตัวว่าเข้าใจผิด
ต่อเมื่อได้รับประสบการณ์ใหม่
หากเราลองมองย้อนกลับไป
จะพบว่า มีหลายคราที่รู้สึกว่า
ทำไมตอนนั้น ถึงได้คิดเห็นอย่างนั้นนะ
ช่างเด็กน้อย ไร้เดียงสาซะเหลือเกิน
การเปิดใจสำหรับการเรียนรู้ในทุก ๆ สิ่ง
จึงเป็นสกิลที่สำคัญมาก
คนโลกแคบมาจากใจที่คับแคบ
การเปิดใจเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่รู้
จะทำให้เกิดการเรียนรู้ในแบบที่ไม่เคยคาดคิด
เป็นการเปิดประตู
สู่ความเข้าใจใหม่ ๆ
คน ๆ นั้นก็จะมีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น
เข้าใจโลกมากยิ่งขึ้น
ทุกข์ก็น้อยลงไปด้วย
ความมั่นใจ ต้องอยู่ในระดับที่ไม่กดดันตัวเอง
และไม่กดคนอื่น
ไม่น้อยเนื้อต่ำใจ และไม่กดคนอื่นให้ต่ำลง
ตัดเรื่องใครถูกใครผิด
ใครดีกว่าใครออกไปก่อน
มองแค่เรื่องทุกข์ กับ ไม่ทุกข์
การอยู่ตรงกลางในจุดสมดุลย์ จะสบายใจสุด
การอยู่จุดสูงสุด และต่ำสุด
จะทำให้เกิดการสวิงไปมา
กลัวการตกจากที่สูง และ ความทะยานอยาก
ล้วนนำมาซึ่งความทุกข์ใจ
ในยุคข้อมูลข่าวสาร
Big data กำลังรุ่งเรือง
ทำให้เกิดสิ่งหนึ่งขึ้นในยุคนี้
นั่นคือ ปัญญาล้ำหน้า
เป็นที่มาของการ "รู้หมด อดไม่ได้"
รู้ไปหมด แต่ทำไม่เคยได้
ด้วยความที่ข้อมูลไหลเข้าสู่ทุกคนกันมหาศาล
หลากหลายวงการกำลังประสบปัญหา
คือ คนนอกวงการรู้ดีกว่าคนใน
เถียงคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญฉอด ๆ
แค่เพียงเพราะ
เคยอ่านมาจากข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต
ไม่เคยมีประสบการณ์ตรง
แต่ทำเป็น 'รู้ดี'
การปฏิบัติธรรม
ต้องอาศัยประสบการณ์ตรงเท่านั้น
รู้แจ้งเห็นจริงจากภายในด้วยตัวเอง
1
คนที่มีประสบการณ์ตรง
ยังผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า
กว่าจะเดินตรงทาง
คนที่ได้แต่อ่าน แต่ฟัง เพียงอย่างเดียว
อย่าได้คิดเลย ว่าจะเข้าถึงได้
ต้องปฏิบัติ จึงจะเกิดผลแห่งการปฏิบัติ
เวลาเกิดการกระทบจริง ๆ
นั่นแหละ คือ ของจริง
ต้องเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
มีคนยืนด่า ชม นินทา เสพข่าวสาร ฯลฯ
ใจยังกระเพื่อมหวั่นไหวอยู่รึป่าว
1
ต้องย้อนมาอ่านใจตัวเอง
ตามความเป็นจริง
1
อย่าหลอกตัวเอง
ความรู้ที่ได้รับมาจากแหล่งไหนก็ตาม
เป็นเพียงความรู้ของบุคคลอื่น
ตราบใดที่ยังไม่ประจักษ์แจ้งในใจ
ก็ยังไม่นับว่า เป็นผู้ชำนาญในการเรียนรู้ตัวเอง
ยังไม่ใช่ผู้รู้แจ้งเห็นจริง
ในศาสตร์และศิลป์แห่งการพ้นทุกข์ ...
📍การฝึกจิตให้ยอมรับความจริงของธรรมชาติ
และเปิดใจเรียนรู้ตลอดเวลา
จะเป็นปัจจัยหนุนนำ
ให้เกิดความสมดุลย์ในทุก ๆ ด้านของชีวิต
2

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา