4 พ.ค. 2021 เวลา 04:34 • ปรัชญา
สติ มักจะเกิดเคียงคู่กับ สัมปชัญญะ
3
เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องพัฒนาทั้งคู่
จนกลายเป็นสติอัตโนมัติ
ไม่ต้องเพียร พยายามให้เกิดอีก
ความผาสุขจะเกิดขึ้นเป็นลำดับ ๆ
Photo by Eric Muhr on Unsplash
"จงเป็นผู้มีสติคู่กันไปกับสัมปชัญญะ"
1
ภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติอยู่ อย่างมีสัมปชัญญะ :
นี้เป็นอนุสาสนีของเราแก่พวกเธอทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้มีสติ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้
เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก;
เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำออกเสียได้ซึ่ง อภิชฌาและโทมนัสในโลก;
เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก;
เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก.
ภิกษุทั้งหลาย ! อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ
เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้
เป็นผู้รู้ตัวรอบคอบ
ในการก้าวไปข้างหน้า
การถอยกลับไปข้างหลัง
การแลดู การเหลียวดู,
การคู้ การเหยียด,
การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร,
การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม,
การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ,
การไป การหยุด
การนั่ง การนอน
การหลับ การตื่น
การพูด การนิ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย ! อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติอยู่ อย่างมีสัมปชัญญะ :
นี้เป็น อนุสาสนีของเราแก่พวกเธอทั้งหลาย.
-พุทธวจน ปฐมธรรม หน้า ๒๓๙.
(ภาษาไทย) มหา. ที. ๑๐/๘๒/๙๐.
สติ คือ สติปัฎฐาน ๔
เป็นผู้เห็นกายในกาย
เวทนาในเวทนา
จิตในจิต
ธรรมในธรรม
ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
ถอดถอนความยินดี ยินร้าย ออกจากกายนี้ใจนี้
สัมปชัญญะ คือ เป็นผู้รู้ตัวรอบคอบ ในทุก ๆ อิริยาบถ
1
มีสติ ก็มีสัมปชัญญะ
มีสัมปชัญญะ ก็มีสติ
สติ สัมปชัญญะ จึงเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน
เหลื่อมกันนิด ๆ แทบแยกไม่ออก เสมอ
1
สติ และ สัมปชัญญะ
เป็นไปเพื่อถอดถอนความยึดมั่นถือมั่น
ความผาสุข เกิดจากการหมดความยึดถือในสิ่งทั้งปวง
ไม่ได้เป็นไปเพื่อการสะสมเอาอะไร เป็นอะไร ...

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา