2 พ.ค. 2021 เวลา 05:43 • ประวัติศาสตร์
เที่ยวบินมหัศจรรย์ในวันที่ไร้ทางเลือก
ปกติอากาศยานเกิดอุบัติเหตุจะถูกเคลื่อนย้ายออกจากสถานที่เกิดเหตุในเวลาที่ไม่นานนัก
แต่มีอุบัติเหตุครั้งหนึ่งครับที่อากาศยานเกิดเหตุยังคงจอดสงบนิ่งที่จุดเดิมให้เราได้หวนระลึกถึงเหตุการณ์ในวันนั้น
ใช่แล้วครับผมกำลังพูดถึงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเครื่องบิน Lockheed C-121 Constellation ย้อนกลับไปในปี
1970 "เที่ยวบินที่ไร้ทางเลือก ไม่มีสนามบินสำรอง"
-วันที่ 8 ตุลาคม 1970
Pegasus Lockheed C-121 เริ่มต้นเดินทางออกจากนิวซีแลนด์มุ่งหน้าตรงสู่สถานีวิทยาศาสตร์ McMurdo ที่ทวีปแอนตาร์กติกาขั้วโลกใต้
ด้วยชั่วโมงบิน 10 ชั่วโมงกว่า ในเที่ยวบินนั้นมีผู้โดยสาร
68 คนและลูกเรือ 12 คน
ส่วนทีมนักบินประกอบด้วยกัปตัน นักบินผู้ช่วย
เจ้าหน้าที่ต้นหน,เจ้าหน้าที่ติดต่อวิทยุและช่างประจำอากาศยาน
การเดินทางดูเหมือนจะเป็นปกติจนถึงประมาณ 1 ชั่วโมงสุดท้ายก่อนที่เครื่องบินลงจอดที่สนามบินที่เป็นพื้นผิวน้ำแข็งบนทวีปแอนตาร์กติกา
ปรากฏว่าพายุหิมะพัดกระหน่ำอย่างหนักทำให้ทัศนวิสัยการมองเห็นลดลงจนแทบจะเป็นศูนย์ คือเบื้องหน้ามองไม่เห็นอะไรเลยนอกจากพายุหิมะที่มาพร้อมกับกระแสลมกระโชกอย่างรุนแรง
ในอดีตเครื่องบินและสนามบินไม่มีอุปกรณ์นำร่องที่ทันสมัยเช่นวันนี้ การลงจอดของเครื่องบินจำเป็นต้องอาศัยการมองเห็นของนักบินเป็นสำคัญ
นั่นหมายความว่ามันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่นักบินจะนําเครื่องบินลงในทัศนะวิสัยที่แย่ขนาดนี้
-เที่ยวบินที่ไร้ทางเลือก
ปกติเที่ยวบินจะมีสนามบินสำรองระหว่างทางและสนามบินสำรองที่ปลายทาง แต่เนื่องจากทวีปแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่อยู่โดดเดี่ยวห่างไกลจากแผ่นดิน จึงไม่สามารถจะนำน้ำมันมาเผื่อบินกลับไปยังสนามบินสำรองที่อยู่ใกล้ที่สุดได้
-การลงจอดสุดมหัศจรรย์
หมายความว่ากัปตันไม่มีทางเลือกครับ เขาจะต้องทำการลงจอดที่สุดมหัศจรรย์นั่นคือการลงจอดแบบที่มองไม่เห็นสนามบินที่อยู่ตรงหน้า!!
อาศัยอุปกรณ์นำร่องที่แทบจะเรียกได้ว่าช่วยอะไรมากไม่ได้นั่นคือเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในยุคนั้น และประสบการณ์ความชำนาญรวมทั้งความมั่นใจที่จะพาให้ทุกชีวิตบนเครื่องรอด
หลังจากที่กัปตันใช้ความพยายามในการลงจอดถึง 5 ครั้งเครื่องบินก็ลงจอดกระแทกพื้นรันเวย์อย่างรุนแรง(Crash landing)เครื่องเวียร์ไปทางด้านขวาเกือบ 210 องศา ฐานล้อเสียหายเครื่องบินตกไปทางด้านขวาของรันเวย์อย่างรุนแรง น่าอัศจรรย์ที่คนบนเครื่องไม่มีใครเสียชีวิตหรือบาดเจ็บหนักเลยแม้แต่คนเดียว พวกเขาต้องรอการช่วยเหลือกู้ชีพจากหน่วยงานช่วยเหลือหลายชั่วโมง ทุกชีวิตต้องรอคอยอยู่ในเครื่องบิน ที่เหลือเชื่อสภาพของมันยังคงอยู่เกือบครบถ้วน การรอคอยภายในเครื่องนับเป็นทางรอดที่ดีที่สุดเพราะอากาศภายนอก มันหนาวอย่างสุดแสนสาหัส
Photo: Sandwich & Kate Brady via Flickr
-Pegasus Field
ลานจอดเครื่องบินในวันนั้นภายหลังถูกเปลี่ยนชื่อเป็น
Pegasus Field เพื่อเป็นอนุสรณ์ และถูกปิดตัวลงในปี 2014 เนื่องจากการละลายของน้ำแข็ง
Photo: Sandwich & Kate Brady via Flickr
ไม่ว่าจะเป็นฝีมือที่ยอดเยี่ยมของกัปตันหรือบางคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องของโชคแต่นั่นทำให้ประวัติศาสตร์ครั้งนี้ ไร้การสูญเสียและทิ้งอนุสรณ์ซากเครื่องบินเพื่อเป็นการบอกเล่าประวัติศาสตร์สุดมหัศจรรย์ครั้งนี้
Photo: Sandwich & Kate Brady via Flickr
นักวิทยาศาสตร์ผู้มาเยือนแอนตาร์กติกาที่จะเดินทางไปยังสถานีวิจัย พวกเขาจะกวาดหิมะที่ปกคลุมซากเครื่องบินทำให้เห็นปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญให้พวกเขาได้ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกนึกถึงเหตุการณ์อุบัติเหตุมหัศจรรย์ครั้งนั้น
กัปตันหมี
Cr : Chris Loh / SimpleFlying
Photo: Sandwich & Kate Brady via Flickr
โฆษณา