2 พ.ค. 2021 เวลา 06:09 • หนังสือ
เศรษฐศาสตร์ที่ซ่อนอยู่ในวรรณกรรมเยาวชนอย่าง
แฮรี่ พอตเตอร์ !! มาทำความเข้าใจเรื่อง
"เงินเฟ้อ!"
Harry Potter เป็นวรรรณกรรมเรื่องโปรดของใครหลาย ๆ คน รวมถึงผมด้วย แต่ไม่ได้ให้ความบันเทิงได้อย่างเดียวนะครับ หนังเรื่องนี้ยังสามารถสอนเราเรื่อง เศรษฐศาสตร์ได้อีกด้วย !!
วันนี้ผมหยิบมาจากหนังสือ
เศรษฐศาสตร์เปลี่ยนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
ของ ปาร์ก พยองนยูล นักเศรษฐศาสตร์ชาวเกาหลี
(เรื่องนี้มีเป็นคลิปสำหรับคนที่อยากเข้าใจมากขึ้นและขีเกียจอ่าน กดไลค์และซัพสะไคร้ให้ด้วยนะครับ ฮรืออ | https://youtu.be/L6JotNanvJE )
ย้อนเวลากลับไปในช่วง แฮรี่พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์ ในช่วงแรกเรารู้กันดีว่า You-Know-Who (คนที่คุณก็รู้ว่าใคร) ใกล้จะตายเต็มที และต้องการเอา ศิลาอาถรรพ์ เพื่อทำให้ตัวเองมีชีวิตเป็นอมตะ
แต่ระหว่างทางที่จะไปเอาศิลานั้นไม่ง่ายเลย ต้องผ่านทั้ง ปุกปุย ที่เป็นหมา3หัวสุดโหด และด่าน ต่าง ๆ นา ๆ ซึ่งแฮรี่ รอน และเฮอร์ไมโอนี่ตั้งใจที่จะไม่ให้ โวลเดอร์มอร์ได้ศิลาอาถรรพ์ไป
แต่เฮอร์ไมโอนี่ก็พูดขึ้น ว่า
“จริง ๆ แล้วแฮรี่ นั้นไม่อยากให้โวลเดอร์มอร์ เพราะกลัวตัวเองจะถังแตก”
แฮรี่จึงสงสัยกลับว่า “ทำไมถึงเธอพูดแบบนั้นหละเฮอร์ไมโอนี่”
เฮอร์ไมโอนี่จึงตอบกลับว่า
“ศิลาอาถรรพ์นอกจากจะมีความสามารถทำให้คนเป็นอมตะแล้ว
ยังสามารถเปลี่ยนทุกอย่างให้กลายเป็นทองคำได้ยังไงหละ”
และบอกต่อไปว่า
“ก็ ที่นายสามารถซื้อขนมบนรถไฟได้ก็เพราะ สมบัติที่เป็นทองคำ ที่พอและแม่ของนายทิ้งไว้ให้ ถ้าโวลเดอร์มอร์ เปลี่ยนทุกอย่างเป็นทองคำ ทั้งหมดจริง ๆ ละก็ ค่าของทองคำจะลดลงไงหละ”
“หรือไม่ก็ถ้ามันมีเยอะมากจริง ๆ มันอาจจะไม่มีค่าไปเลยก็ได้”
แต่รอนฟังดูแล้วเหมือนยังไม่เข้าใจ จึงตอบกลับไปว่า
“ร้ายกาจ! ก็ดีแล้วไม่ใช่หรอฉันได้มีทองคำด้วยไง”
เฮอร์ไมโอนี่จึงตอบด้วยน้ำเสียงปนรำคาญหน่อย ๆ
“ที่ทองคำมีค่าในทุกวันนี้ เพราะว่าไม่ใช่ทุกคนจะ มีมันได้ไงรอน และทองคำเป็นแร่ธาตุที่ไม่ได้หา เจอได้ง่าย ๆ ด้วย และทุก ๆ คนเชื่อว่ามันหรูหรา และมีค่า และมีคนต้องการมัน มันเลยมีค่านั้นเอง”
“นายลองคิดดูว่าถ้ามันหาง่าย ทุก ๆ คนมีมัน จะยังมีคนอยากได้มันเท่าปัจจุบันไหมหละ ?”
น้ำเสียงสงสัยของแฮรี่จึงแทรกเข้ามาก่อนที่ รอนและเฮอร์ไมโอนี่จะทะเลาะกัน
“แบบนี้เรียกว่าเงินเฟ้อได้ไหมนะ?”
“จะว่าแบบนั้นก็ได้แฮรี่ แต่จริง ๆ ปัจจัยที่ทำให้เกิด เงินเฟ้อมีหลัก ด้วยกัน 3 อย่าง
เงินเฟ้อพูดง่าย ๆ ก็คือ ต้องจ่ายเงินมากขึ้น เพื่อ ของชิ้นเดิม อาจจะเพราะของมันแพงขึ้น หรือว่าค่าของเงินลดลง”
เฮอร์ไมโอนี่ตอบพร้อมกับอธิบาย ปัจจัยทั้ง 3 ต่อว่า
1 เงินเฟ้อจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
คือของแพงขึ้น เพราะว่า ผู้ที่ผลิตมีต้นทุนสูงขึ้น เช่นผลิต นมสด วัตถุดิบการเลี้ยงวัวแพงขึ้น ทำให้กว่าจะได้นมวัวมาต้องจ่ายแพงขึ้นนั้นเอง นมวัวจึงมีราคาสูงขึ้น
2 เงินเฟ้อจากมีคนต้องการสินค้ามากขึ้น หรือผลิตสินค้าได้น้อยลง
เช่นมีโรคระบาดเกิดขึ้น คนต้องการ หน้ากากอนามัย เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิน ทั้ง ๆ ผลิตได้เท่าเดิมทำให้ราคา หน้ากากแพงขึ้นนั้นเอง หรือมีคนกักตุนหน้ากาก
3 ตลาดผูกขาดเป็นคนกำหนดราคาสินค้าให้สูงขึ้น
สินค้าที่ยังไงเราต้องใช้ จากผู้ผลิตแค่1-2 เจ้าใน ตลาด กำหนดราคาขึ้น เราก็ต้องจ่ายมากขึ้น เช่นหากรัฐบาลเพิ่มค่าไฟฟ้า เราก็ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น
หรือให้กล่าวโดยสรุปก็คือ “เงินมีมาก สินค้ามีน้อย” นั้นเอง !
เนื้อหาของเรื่องมาจากหนังสือ เศรษฐศาสตร์เปลี่ยนเรื่องยาก ให้เป็นเรื่องง่าย
และนำมาเรียบเรียงใหม่เล่าให้สั้นและกระชับเข้าใจง่ายมากขึ้น
(หากอยากรู้ละเอียดกว่านี้แนะนำให้ดูในคลิป กดไลค์และซัพสะไคร้ให้ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจในการแบ่งปันความรู้กันต่อไป | https://youtu.be/L6JotNanvJE )
====
อยากได้ในสิ่งที่ไม่เคยได้ ต้องทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ
follow us |
กดติดตามเพจ I Have A Big Dreams และกด see first
รัก รัก เรามาเป็นของขวัญให้กันและกันนะ
บทความอื่น ๆ ที่คุณน่าจะชอบ | https://www.bigdreamblog.com/category/artical-บทความ-คำคม/
ไม่ต้องเร่งมูฟออน | https://www.bigdreamblog.com/product/e-book-มูฟออน-ปล่อย/
โฆษณา