4 พ.ค. 2021 เวลา 08:58 • ปรัชญา
บุญ คือ การชำระ โลภะ โทสะ โมหะ
วิธีการ คือ
ทาน ศีล ภาวนา
1
Photo by Jelleke Vanooteghem on Unsplash
ทีนี้ คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจในเรื่องของบุญ
เป็นไปในทางของการทำทานเป็นส่วนมาก
จริง ๆ แล้ว บุญที่ให้ผลมากกว่าการทำทาน
คือ ศีล และ ภาวนา
ทำไมคนเราถึงอยากมีบุญ
เพราะต้องการความสะดวกสบาย
สุขกาย สบายใจ
ที่สำคัญ คือ ความสุขใจ
และโดยทั่วไปมักจะตีความคำว่า "บุญ"
ไปในทางของการเพิ่มพูน
เห็นบุญในลักษณะเป็นก้อน ๆ
เป็นเรื่องของกำไร ขาดทุน
ออกดอกออกผล
Photo by Jelleke Vanooteghem on Unsplash
เป็นที่มาของคำว่า 'บุญหล่นทับ'
'แข่งเรือแข่งพาย แข่งกันได้
แข่งบุญ แข่งวาสนาแข่งกันไม่ได้'
2
จึงมีการสะสมเมาบุญกันอย่างแพร่หลาย
เพิ่มความโลภกันไป ไม่มีที่สิ้นสุด
หากปรารถนาเข้าถึงแก่นของความสุขใจจริง ๆ
ต้องอาศัย ศีล และภาวนาประกอบ
2
นั่นจึงจะเข้าถึงต้นตอของความทุกข์ใจทั้งหลาย
ดับที่เหตุแห่งทุกข์
ทาน เพียงอย่างเดียว
ยังไม่เพียงพอต่อความพ้นทุกข์ทางใจ
ยังไม่ใช่ขั้นสูงสุดของความสุข
การอบรมบ่มเพาะ ศีล สมาธิ ปัญญา
จุดมุ่งหมาย คือ เพื่อให้เห็นความจริง
ยอมรับความจริงของธรรมชาติ
แล้วเกิดการปล่อย การวาง สละออก สลัดทิ้ง
เป็นหนึ่งเดียวกันกับธรรมชาติ
คืนสู่ธรรมชาติเดิมแท้
วางความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง
ไม่ใช่เพื่อการสั่งสมอย่างไร้ทิศทาง
ความเป็นโสดาบัน ประเสริฐกว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
1
ภิกษุ ท. ! แม้พระเจ้าจักรพรรดิ
ได้ครองความเป็นใหญ่ยิ่งแห่งทวีปทั้งสี่
เบื้องหน้าจากการตายเพราะร่างกายแตกดับ
อาจได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เป็นสหายอยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์
ถูกแวดล้อมอยู่ด้วยหมู่นางอัปสรในสวนนันทวัน
ท้าวเธอเป็นผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณทั้งห้า
อันเป็นของทิพย์อย่างนี้ก็ตาม,
แต่กระนั้น ท้าวเธอก็ยัง รอดพ้นไปไม่ได้
จากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน
จากวิสัยแห่งเปรต และจากอบาย ทุคติ วินิบาต.
2
ภิกษุ ท. ! ส่วนอริยสาวกในธรรมวินัยนี้
แม้เป็นผู้ยังอัตภาพให้พอเป็นไปด้วยคำข้าวที่ได้มาจากบิณฑบาตด้วยปลีแข้งของตนเอง
พันกายด้วยการนุ่งห่มผ้าปอน ๆ ไม่มีชาย,
หากแต่ว่าเป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว
ด้วยธรรม๔ ประการ
เธอก็ยังสามารถ รอดพ้นเสียได้
จากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน
จากวิสัยแห่งเปรต และจากอบาย ทุคติ วินิบาต.
ภิกษุ ท. ! ธรรม ๔ ประการนั้นเป็นไฉน ?
สี่ประการคือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว
ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหว
ในองค์พระพุทธเจ้า...
ในองค์พระธรรม ...
ในองค์พระสงฆ์...
เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลาย
ชนิดเป็นที่พอใจเหล่าอริยเจ้า ฯลฯ ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! ระหว่างการได้ทวีปทั้งสี่
กับการได้ธรรม ๔ ประการนี้นั้น
การได้ทวีปทั้งสี่มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่สิบหก
ของการได้ธรรม ๔ ประการนี้ เลย.
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๘-๔๒๙/๑๔๑๑-๑๔๑๓.
ผลแห่งความเป็นโสดาบัน
ภิกษุ ท. ! อานิสงส์แห่งการทำให้แจ้ง
ซึ่งโสดาปัตติผล ๖ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่,
หกอย่าง เหล่าไหนเล่า ? หกอย่าง คือ :-
เป็นบุคคลผู้ เที่ยงแท้ต่อสัทธรรม (สทฺธมฺมนิยโต) ;
เป็นบุคคลผู้ มีธรรมอันไม่รู้เสื่อม (อปริหานธมฺโม) ;
ทุกข์ดับไปทุกขั้นตอนแห่งการกระทำที่กระทำแล้ว;
เป็นบุคคลผู้ ประกอบด้วยอสาธารณญาณ (ที่ไม่ทั่วไปแก่พวกอื่น) ;
เป็นบุคคลผู้ เห็นธรรมที่เป็นเหตุ ; และ
เห็นธรรมทั้งหลาย ที่เกิดมาแต่เหตุ.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อานิสงส์ ๖ ประการแห่งการทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล.
- ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๐/๓๖๘.
พระโสดาบันเป็นใครกัน?
สารีบุตร ! ที่มักกล่าวกันว่า โสดาบัน โสดาบันนี้ เป็นอย่างไรเล่า สารีบุตร?
สารีบุตร ! ถูกแล้ว ถูกแล้ว ผู้ที่ประกอบพร้อมแล้ว
ด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่
ถึงเราเองก็เรียกผู้เช่นนั้น ว่าเป็น พระโสดาบัน
ผู้มีชื่ออย่างนี้ๆ มีโคตรอย่างนี้ๆ
- มหาวาร.สํ. ๑๙/๔๓๕/๑๔๓๒/๑๔๓๓
อ้างอิง :
ความเป็นโสดาบัน ประเสริฐกว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
พระโสดาบันเป็นใครกัน
ไม่มีใครเป็น พระโสดาบัน
มีเพียงผู้มีชื่ออย่างนี้ ๆ
มีโคตรอย่างนี้ ๆ
หากผู้ใดมีลักษณะที่ประกอบพร้อมแล้ว
ด้วยอริยมรรคมีองค์แปด
จะถูกเรียกว่า "พระโสดาบัน"
เที่ยงแท้ต่อความพ้นทุกข์อย่างถาวร ...

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา