6 พ.ค. 2021 เวลา 06:01 • การเมือง
ตุลาการกับความยุติธรรม ตอนที่ 1: เมื่อ ณรงค์ วงศ์วรรณ ไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
หลังจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ได้มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 นาย ณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม พรรคที่มีเสียง ส.ส. มากที่สุด 79 คน หรือ 19.3% ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด จึงมีสิทธิ์จัดตั้งรัฐบาล และเสนอตัวเองเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่มีปัญหา เพราะ ระหว่างแถลงข่าวจัดตั้งรัฐบาล เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2535 นักข่าวจากสิงคโปร์ได้สอบถามเรื่องที่นายณรงค์ มีชื่ออยู่ในบัญชีดำ ผู้มีส่วนพัวพันการค้ายาเสพติดของสหรัฐอเมริกา แม้นายณรงค์จะปฏิเสธ แต่ก็กลายเป็นกระแสข่าวไปทั่วโลก ซึ่งนางมาร์กาเร็ต ทัตไวเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ได้ยืนยันการปฏิเสธวีซ่า ถึงแม้จะไม่ระบุสาเหตุตรงๆ เพียงแถลงว่า
วีซ่าของเขาถูกปฏิเสธเมื่อ ก.ค. 1991 ตามมาตรา 212(2)(C) ของ พ.ร.บ. ที่ว่าไม่สามารถออกวีซ่าให้คนต่างด้าวที่สถานกงสุลหรือสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทราบหรือสงสัยว่าขนของผิดกฏหมายไม่ว่าจะมาในรูปแบบใดก็ตาม หรือสงสัยว่าให้การช่วยเหลือ หนุนหลัง หรือสมรู้ร่วมคิด ในการขนของผิดกฏหมาย
ถึงแม้ในวันนั้น ศาลจะไม่ได้ตัดสิน แต่ศีลธรรมของประชาชนในยุคนั้น ก็ทำให้ประชาชนออกมาสร้างแรงกดดันอย่างหนัก จนทำให้ ณรงค์ วงศ์วรรณ ถอนตัวจากการเป็นนายกรัฐมนตรีในเวลานั้น
แต่น่าเสียดาย พรรคร่วมรัฐบาลที่เหลือ จึงเปลี่ยนเป้ามาเสนอชื่อ พลเอกสุจินดา คราประยูร มาเป็นนายกรัฐมนตรี และนาย ณรงค์ เองก็ได้เข้ามาเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกสุจินดา คราประยูร
แต่แล้วรัฐบาลชุดนี้ก็กลายเป็นชนวนความขัดแย้งที่นำเป็นสู้ความไม่สงบทางการเมืองครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของไทย หรือ "พฤษภาทมิฬ" นั่นเอง
เป็นไปได้ไหมนะว่า ประชาชนชาวไทยเราเอา จะสามารถทำอย่างนั้นได้อีกครั้งในยามที่ประเทศไทยตกที่นั่งลำบาก และต้องการ "คนดี" "มีความสามารถ" เข้ามาบริหารบ้านเมืองเป็นอย่างมาก
โฆษณา