7 พ.ค. 2021 เวลา 01:51 • สุขภาพ
เมื่อคนไข้ ขอให้เราเป็นพยานทำพินัยกรรม ในรพ.
1
มีผู้เสียชีวิต 27 ราย ผู้ป่วยหายกลับบ้าน 2377 ราย
แต่ติดเชื้อใหม่ 2044 ราย
1
หลายโรงบาล ICU เต็ม จนล้น จนต้องเปิดเพิ่มไม่รู้เท่าไหร่
3
จนถึงจุดที่แพทย์สุดจะยื้อ จำต้องปล่อยให้คนไข้จากไป คนไข้โรคนี้เวลาจากไป จากไปอย่างโดดเดี่ยว เชื่อว่าทุกคนตอนมารพ. มาด้วยความคิดที่ว่า 10-14 วัน ก็กลับแล้ว แต่บางครั้ง ไม่ใช่...
7
บ้างก็อยู่นานกว่านั้น
บ้างก็ไม่ได้กลับ....
ส่วนมากของผู้ป่วย ช่วงเสียชีวิตจะอยู่อย่างโดดเดี่ยว จากไปท่ามกลางเครื่องพยุงชีพมากมาย ไม่ได้สั่งเสีย ไม่ได้ลา
เลยอยากแชร์ คุณป้าคนล่าสุด อายุ 80 ปีแล้ว แน่นอน โรคย่อมลงปอด
เมื่อวานได้คุยกับคุณป้า คุณป้าบอกว่า เหนื่อยอยู่ แต่วันนี้ทนายจะมา มาเอาเอกสารให้เซนต์
หมอช่วยเซนต์หน่อยได้มั้ย ว่าฉันยังสติสัมปชัญญะ
..... ใช่ค่ะ คุณป้ากำลังจะเซนต์พินัยกรรม
3
แบ่งทรัพย์สินต่างๆ ให้เรียบร้อย
เพื่อจะได้เบาใจไปได้ระดับหนึ่ง
เลยได้พูดคุยกันต่อ คุณป้าบอกว่า ถ้าไม่ไหวก็ไม่เป็นไร ตายก็ได้ แก่แล้ว... แต่กลัวลูกหลานจะวุ่นวายมรดก...
4
เลยถามป้าต่อว่า กลัวมั้ย
ป้าตอบ ไม่กลัวหรอก ตายหน่ะ
1
กลัวทรมาน
8
มันจะทรมานมั้ยหมอ... เลยเล่าให้ฟังถึง โอกาสที่การรักษาจะได้ผล และการรักษาที่อาจจะไม่ได้ผล แล้วแพทย์ต้องรักษายังไงต่อ
คุณป้าก็เป็นคนเลือกเอง ว่า อยากได้อะไร ไม่อยากได้อะไร
อยากใส่ท่อมั้ย อยากเจาะคอมั้ย ถ้าสู้กันไปแล้วดี จะต้องสู้แค่ไหน ถึงจุดไหนที่เราจะพอ แล้วให้คุณป้าพัก
2
บทสนทนา เป็นไปแบบธรรมดา ไม่ดราม่า ไม่เครียด เป็นการคุยถึงธรรมชาติของโรค และธรรมชาติของชีวิต
9
ที่เหลือ คือการที่ต้องสื่อสารกับครอบครัว ว่าสิ่งที่คนไข้ต้องการคืออะไร และอะไรที่คนไข้ไม่ต้องการ
เลยอยากบอกทุกคนที่มีญาติผู้ใหญ่ที่ป่วย เวลาท่านขอทำพินัยกรรม เวลาที่ท่านสั่งเสีย อย่าไปตัดบทท่าน
อย่าไปบอกว่าท่านคิดมาก
อย่าไปบอกว่าการเตรียมตัว แปลว่าท่านไม่สู้
11
จริงๆ ท่านแค่ขอได้จัดการสิ่งคั่งค้างใจ ในวันที่ยังสามารถทำได้
5
คนไข้ที่ป่วยหลายคน จิตใจแข็งกว่าญาติๆมาก
6
โฆษณา