8 พ.ค. 2021 เวลา 11:50 • คริปโทเคอร์เรนซี
สรุป DeFi ระบบการเงินไร้ตัวกลาง คู่แข่งหน้าใหม่ ของธนาคาร
19
ที่ผ่านมา นอกจากกระแสคริปโทเคอร์เรนซีที่ร้อนแรงแล้ว
ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นที่พูดถึงไม่แพ้กันเลยคือ “DeFi”
หรือระบบการเงินที่ไม่ต้องพึ่งตัวกลางในการทำธุรกรรมการเงิน
15
DeFi หรือ Decentralized Finance เป็นระบบการเงินแบบใหม่ที่ใครหลายคนคาดว่าจะเข้ามาแทนสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ สถาบันปล่อยสินเชื่อต่าง ๆ รวมถึงสหกรณ์ออมทรัพย์
7
แล้ว DeFi คืออะไร ?
ลงทุนแมนจะสรุปง่าย ๆ ให้ฟัง
6
ปกติแล้ว คนส่วนใหญ่พึ่งพาสถาบันการเงินในการทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นการฝากออมทรัพย์ การค้ำประกัน หรือการกู้ยืม
1
โดยสถาบันเหล่านี้ ถือเป็นบุคคลที่ 3 ที่มีอำนาจในการควบคุมบัญชีทั้งหมดของเรา
และทำหน้าที่เป็นตัวกลางเวลาที่เราทำธุรกรรม
3
ข้อดีก็คือ มีความน่าเชื่อถือและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคุณธนาคารกลาง
2
ทั้งหมดนี้ เราเรียกว่า Centralized Finance หรือ CeFi หมายถึง ระบบการเงินแบบรวมศูนย์
2
อย่างไรก็ตาม คำว่า “ตัวกลาง” ก็ได้เริ่มถูกละลายหายไปในหลายอุตสาหกรรมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จนมาถึงการทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งเราเรียกมันว่า Decentralized Finance หรือ DeFi นั่นเอง
6
DeFi ได้เข้ามาตัดสถาบันการเงินหรือตัวกลางในขั้นตอนการทำธุรกรรมทั้งหมดออกไป
6
โดยแทนที่ด้วยการทำงานของ Code หรือรหัสคำสั่งโปรแกรมที่เรียกว่า Smart Contract
ซึ่งจะระบุว่าเราเท่านั้นที่สามารถทำธุรกรรมของตนเองได้
6
ทั้งนี้ DeFi ก็ได้ถูกพัฒนาขึ้นบนเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งส่วนใหญ่อยู่บนเครือข่าย Ethereum ที่มีหน้าที่ประกาศธุรกรรมที่เราทำให้ทุกคนในระบบรับรู้ไปด้วยกัน แปลว่าแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีใครสามารถเข้ามาแก้ไขข้อมูลของเราได้
11
นอกจากนี้ อีกข้อได้เปรียบของ DeFi ก็คือจะช่วยลดความผิดพลาดจากมนุษย์ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำธุรกรรม รวมถึงตัดค่าธรรมเนียมของบุคคลที่ 3 ทิ้งไป ทำให้เราทำธุรกรรมได้ถูกลง
10
ปัจจุบัน DeFi มีให้บริการอะไรบ้าง ?
6
MakerDAO บริการแรกบนระบบ DeFi
ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถออกเหรียญดิจิทัลที่ผูกกับค่าสกุลเงินทั่วไป
เช่น ดอลลาร์สหรัฐ หรือที่รู้จักกันในชื่อ Stablecoin
5
หลังจาก MakerDAO ประสบความสำเร็จ
ก็นำไปสู่การพัฒนาแพลตฟอร์มอื่น ๆ ตามมา
1
ยกตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มสำหรับฝากและกู้ยืมเงิน ที่ชื่อว่า Compound
ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับธนาคารตรงที่รับฝากเงินและนำไปปล่อยให้ผู้อื่นกู้ยืม
แต่ต่างกันตรงที่ เงินในแพลตฟอร์มนี้จะเป็นคริปโทเคอร์เรนซีเท่านั้น
10
Cr. Compound
โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากหรือกู้ยืมจะขึ้นอยู่กับความต้องการและปริมาณเงิน
ที่มีอยู่ในระบบช่วงนั้น ๆ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับ Stablecoin
ณ ขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 5% ต่อปี
และมีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมอยู่ที่ 7% ต่อปี
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินฝาก และดอกเบี้ยเงินกู้น้อยกว่าระบบธนาคาร
8
เทียบกับธนาคารที่มีอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมสูง
แต่กลับให้ดอกเบี้ยตอบแทนเพียงน้อยนิดสำหรับผู้ที่ฝากเงิน
4
ประเด็นหลักของเรื่องนี้ ก็คือหลักทรัพย์ค้ำประกันที่ต่างกัน
2
เพราะ DeFi จะใช้คริปโทเคอร์เรนซี เป็นตัวค้ำประกัน
แต่ธนาคารจะใช้ทรัพย์สินต่าง ๆ ในโลกจริงเป็นตัวค้ำประกัน เช่น ที่ดิน อาคาร โรงงาน
2
ดังนั้นการยึดหลักทรัพย์ค้ำประกันบน DeFi ก็จะทำได้โดยอัตโนมัติ และเร็วกว่าธนาคาร
3
กว่าธนาคารจะใช้เวลาในการยึดที่ดิน อาคาร มาขายทอดตลาด ก็ต้องใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี แต่สำหรับ DeFi สามารถบังคับขายได้ในวินาที
8
ดังนั้นการมีความเสี่ยงเรื่องหนี้เสียของธนาคาร ที่จะขายหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ไม่เท่าเงินต้นที่ให้กู้ยืม จึงทำให้ต้องมีส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินฝาก และดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูง
1
อย่างไรก็ตาม ก็มีหลายคนให้ข้อสังเกตว่า การให้กู้ยืมใน DeFi ยังมีจุดอ่อนที่ต้องใช้ตัวค้ำประกันที่เป็นคริปโทเคอร์เรนซีอยู่เท่านั้น ไม่สามารถนำทรัพย์สินในชีวิตจริงไปวางค้ำประกันได้เหมือนธนาคาร
5
แต่ก็ใช่ว่าทรัพย์สินเหล่านั้นจะมาอยู่ในโลกของ DeFi ไม่ได้ เพราะตอนนี้มีการวางแผนกันว่าทรัพย์สินในชีวิตจริงสามารถสร้างโทเคนขึ้นมาเพื่ออ้างอิง แล้วในอนาคตก็อาจนำโทเคนนั้นไปวางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันก็เป็นได้
8
เมื่อระบบการเงินสำหรับฝากและกู้เริ่มเกิดขึ้นมา
ต่อมาจึงเกิดแพลตฟอร์มสำหรับแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซี
ตัวอย่างก็คือ Uniswap ซึ่งรองรับสกุลเงินคริปโทเคอร์เรนซีถึง 2,000 กว่าสกุลเงิน
7
Medium
ก็เปรียบเทียบได้กับ ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างประเทศ หรือ Superrich ในบ้านเราที่ให้บริการแลกเงิน
3
แต่มีความแตกต่างอย่างหนึ่ง ที่นอกจากจะแลกเปลี่ยนสกุลเงินคริปโทเคอร์เรนซีแล้ว
เรายังสามารถโอนคริปโทเคอร์เรนซีให้กับทาง Uniswap เพื่อเข้าไปเพิ่มสภาพคล่องบนแพลตฟอร์มได้ โดยที่เราก็จะได้ผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียมด้วย ซึ่งอยู่ที่ 0.3% ต่อปริมาณเงินที่แลกเปลี่ยน ซึ่งจะถูกแบ่งตามสัดส่วนจำนวนเงินที่เราลง
7
นอกจากนี้ยังมีบริการอื่น ๆ ที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด เช่น
Flexa ที่ให้บริการรับชำระเงินด้วยคริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียม
ที่เปรียบเหมือนกับ Visa และ Mastercard
10
Synthetix ให้บริการสร้างสินทรัพย์ดิจิทัลที่เลียนแบบสินทรัพย์ทางการเงินต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นหุ้น น้ำมัน ทองคำ ซึ่งทำให้ราคาสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้จะไปในทิศทางเดียวกัน
ซึ่งบริการนี้มีค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่า และยังช่วยลดระยะเวลาในการทำธุรกรรมอีกด้วย
12
Nexus Mutual ประกันที่ให้บริการคุ้มครองเงินของนักลงทุน สำหรับจำนวนเงินที่ฝากในแพลตฟอร์ม Compound และ Uniswap
 
จากทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า ระบบ DeFi ในปัจจุบันกำลังครอบคลุมทุกบริการด้านการเงิน
ตั้งแต่การใช้จ่าย ออมเงิน กู้ยืม ประกัน จนไปถึงการลงทุน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
8
ด้วยผลประโยชน์ที่มากมายเหล่านี้
ทำให้ปัจจุบันมีผู้ฝากเงินในระบบ DeFi
บนเครือข่าย Ethereum ถึง 1.8 ล้านล้านบาท
ซึ่งหากเทียบย้อนหลังปีที่แล้ว จะมีการเติบโตที่ประมาณ 70 เท่า
8
แม้ว่า DeFi จะดูเหมือนว่ามีข้อดีมากมาย และก็น่าจะมีโอกาสมาปฏิวัติวงการการเงินได้
แต่ต้องไม่ลืมว่าระบบ DeFi เพิ่งจะเกิดขึ้นได้ไม่นาน ซึ่งระหว่างนี้มันยังมีช่องว่างอีกมาก
และกฎหมายในหลายประเทศ ก็ยังไม่ได้คุ้มครองเหล่าผู้ลงทุน
10
อย่างในกรณีที่เพิ่งเกิดขึ้นในปีที่ผ่านมาบนแพลตฟอร์ม DeFi
ที่ชื่อว่า bZx ที่ให้บริการกู้ยืมสินเชื่อ
3
โดยมีผู้ที่เห็นช่องว่างของระบบ ที่แม้จะไม่สามารถแฮกระบบได้
แต่ก็เข้ามาปั่นป่วนตลาด จนสามารถกอบโกยเงินไปเกือบ 11 ล้านบาท
8
ถึงแม้ว่าทางแพลตฟอร์มได้ชดเชยให้แก่ลูกค้าที่เสียหายอย่างเต็มจำนวน
แต่นั่นก็แสดงให้เห็นว่าระบบ DeFi ในขณะนี้ยังมีช่องว่างอยู่
3
อีกตัวอย่างที่เพิ่งผ่านมาไม่นานก็คือ เหรียญ SafeMoon จากแพลตฟอร์ม DeFi รายหนึ่ง
1
ที่แค่ให้เราเข้าไปถือเหรียญไว้ โดยจะได้เงินส่วนแบ่งจากผู้เล่นหน้าใหม่ที่เข้ามา
ซึ่งกรณีดังกล่าวก็กำลังถูกตั้งคำถามว่าตัวผู้ก่อตั้งเอา DeFi มาเป็นเปลือก
เพื่อทำธุรกิจแชร์ลูกโซ่หรือไม่
5
Cr. Crypto News
นอกจากนี้ก็ยังมีนักวิชาการบางคนตั้งข้อสงสัยว่า
การกู้ยืมเงินจากในระบบส่วนใหญ่นั้นนำไปใช้ทำอะไร
17
หากการกู้ยืมนำไปเพิ่มผลผลิตในเศรษฐกิจจริง ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี
เพราะจะสร้างรายได้ในอนาคตที่สูงขึ้นและสามารถนำมาชำระหนี้ที่ก่อได้
3
แต่ถ้าหากนำไปซื้อคริปโทเคอร์เรนซีเพื่อเก็งกำไรต่อไปเรื่อย ๆ
ก็อาจจะเหมือนวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่หนี้เพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่ได้สร้าง Productivity แก่เศรษฐกิจ
ทำให้ราคาสินทรัพย์ที่ถูกผลักดันสูงจนเกินไป กลับมาสู่ความเป็นจริงในที่สุด
14
ถึงตรงนี้ เราก็สามารถสรุปได้ว่า DeFi ก็น่าจะกลายมาเป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในแวดวงสถาบันการเงินทั่วโลก ที่น่าติดตาม
4
แต่หากเรากำลังสนใจการลงทุนประเภทนี้
เราก็ต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและครบถ้วน
รวมถึงประเมินความเสี่ยงของเราเอาไว้ ก่อนตัดสินใจลงทุน
เพราะสิ่งที่ยังใหม่และมาพร้อมผลตอบแทนที่สวยหรู
ถึงแม้ว่าหลายอย่างอาจมีอยู่จริง
แต่มันก็จะแฝงไปด้วย การหลอกลวง อยู่บ่อยครั้ง..
8
โฆษณา