10 พ.ค. 2021 เวลา 04:10 • ท่องเที่ยว
วัดสวยในประวัติศาสตร์อยุธยา (2)
วัดุสิตาราม
ประวัติการสร้างวัดดุสิดาราม สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๑๐๐ และรับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๐ ... หนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า ตอนที่กล่าวถึงพระอารามหลวงในกรุงศรีอยุธยา ระบุชื่อวัดแห่งหนึ่งว่า วัดดุสิตมหาพระนเรศวรทรงสร้าง สันนิษฐานว่า หมายถึง “วัดดุสิดาราม” ในพิธีพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒสัตยา(ไม่ปรากฏพ.ศ.) พระนารถอยู่วัดดุสิตาราม เป็นพระราชาคณะรูปหนึ่ง จากทั้งหมด ๑๗ รูป ๑๗ วัด ในกรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา
“เจ้าแม่วัดดุสิต” ขัตติยะนารี พระบรมราชบรรพบุรุษของพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี สตรีผู้สูงศักดิ์แห่งราชสำนักสยาม รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และเป็นแม่นมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตอนหลังได้เป็นท้าวสมศักดิ์มหาธาตรี หม่อมเจ้าหญิงบัว (ไม่ปรากฏหลักฐานอย่างแน่ชัดว่าเจ้าแม่วัดดุสิตสืบเชื้อสายมาจากผู้ใด ) นั้นแต่เดิมอาศัยอยู่ใกล้วัดดุสิต ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองดุสิตตรงส่วนที่ต่อกับคลองปากข้าวสาร ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์มหาราชพระราชทานสร้างวังมีตำหนักตึกที่ริมวัดดุสิดารามถวายพระองค์เจ้าพระนมนางจึงได้เรียกกันมาว่า เจ้าแม่วัดดุสิต
เจ้าแม่วัดดุสิตมีบุตร 3 คน บุตรชายคนโตชื่อ เหล็ก ภายหลังก็คือเจ้าพระยาโกษาเหล็ก บุตรคนที่สองเป็นหญิงชื่อ แช่ม ต่อมาเป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์ บุตรคนที่สามเป็นชายชื่อ ปาน ต่อมาก็คือออกพระวิสูตรสุนทร หรือเจ้าพระยาโกษาปาน
โบราณสถานสำคัญ
เจดีย์ประธาน … วัดนี้มีเจดีย์สูงใหญ่เป็นโบราณสถานสำคัญของวัด มีลักษณะเช่นเดียวกับเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล แต่มีขนาดเล็กกว่า
เจดีย์ทรงระฆัง ศิลปะสมัยอยุธยาตอนกลาง การบูรณะซ่อมแซมในสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณ มีบันไดทางขึ้นลง โดยรอบมีเจดีย์บริวารที่มุมมุมทั้งสี่
ส่วนล่างของเจดีย์เป็นฐานรูปแปดเหลี่ยมลดหลั่นขึ้นไปรองรับมาลัยเถา ด้านบนเป็นองค์ระฆัง ทรงเรียว ถดขึ้นไปเป็นบัลลังก์ย่อมุมไม้สิบสอง รองรับเสาหานที่ล้อมรอบก้านฉัตร ถัดขึ้นไปเป็นปล้องไฉนและปลียอด ด้านหน้าเจดีย์ประดิษฐานด้วยพระพุทธรูปหินทราย
พระอุโบสถ … อุโบสถในสมัยอยุธยาตอนปลาย ฐานอุโบสถแอ่นเป็นท้องสำเภา ด้านหน้ามีพาไลและหลังคามีประตูทางเข้าด้านหน้าสองข้าง ด้านข้างเจาะหน้าต่างข้างละบาน มีเสาประดับผนังประดับกลีบบัว หลังคามุงกระเบื้องดินเผา ประดับช่อฟ้าใบระกาทำด้วยไม้ หน้าบันเป็นไม้แกะสลักลายกระหนก ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นสมัยอยุธยา รอบพระอุโบสถเป็นที่ตั้งของใบเสมาหินทรายสีขาว สมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่บนฐานบัวปูนปั้น
พระวิหาร(ศาลา) … ประดิษฐานสิ่งสำคัญคือ รอยพระพุทธบาทหินทรายสีขาว สมัยอยุธยาตอนปลาย(ไม่ปรากฏพ.ศ.ที่สร้าง)และใบเสมาหินทรายแดง
รอยพระพุทธบาท … สร้างด้วยหินทรายสีขาว ขนาดยาวประมาณหนึ่งเมตร กว้างประมาณครึ่งเมตร ตรงกลางรอยพระพุทธบาทเป็นรูปธรรมจักร นอกธรรมจักรทำเป็นตารางสี่เหลี่ยม ภายในสลักภาพมงคล เป็นลักษณะการสร้างรอยพระพุทธบาทในสมัยอยุธยาตอนปลาย รูปแบบคล้ายๆ กับรอยพระพุทธบาทที่สมเด็จพรเจ้าอยู่หัวบรมโกศส่งไปถวายกษัตริย์ลังกา รอยพระพุทธบาทได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดดุสิดารามมาแต่เดิม ชาวบ้านพบอยู่ในแอ่งน้ำในบริเวณใกล้วัด จึงนำมาไว้ที่วัดนี้เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๘ หรือ ๒๕๐๙
สันนิษฐานว่ารอยพระพุทธบาทที่กล่าวถึงในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์ว่า ประดิษฐานอยู่ที่วัดสมณโกฎฐารามนั้น อาจจะคือรอยพระพุทธบาทซึ่งประดิษฐานที่วัดดุสิดารามในปัจจุบัน
เสมาหินทราย … อยู่ทางด้านหน้าศาลา ใบเสมาตั้งอยู่บนฐานสูง จากรูปแบบและลวดลายมีผู้สันนิษฐานว่า เป็นใบเสมาสมัยอโยธยา ซึ่งยังไม่เป็นข้อสรุป
Ref : Wikipedia
เจดีย์วัดอโยธยา
วัดอโยธยา หรือ วัดเดิม ... ตามตำนานพงศาวดารเหนือเชื่อกันว่า บริเวณวัดนี้เคยเป็นพระราชวังสมัยอโยธยามาก่อน ต่อมาเมื่อกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองได้ถวายพื้นที่พระราชวังให้สร้างเป็นวัด จึงได้ชื่อว่า “วัดเดิม”อันเป็นศูนย์กลางของเมืองอโยธยาริมแม่น้ำป่าสัก ก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา ณ หนองโสน
ในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่๕) ทรงระบุว่า วัดเดิม คือวัดโบราณที่มีมาแต่สมัยอโยธยา เป็นวัดคามวาสี ที่ตั้งอยู่กลางพระนครอโยธยา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงได้มีการเรียกขานนามใหม่ว่า “วัดอโยธยา” เพื่อให้สอดคล้องกับความเชื่อนั่นเอง
เจดีย์เก่าแก่กว่าเจดีย์ทั่วไปบนเกาะอยุธยา ... ตัวเจดีย์มีลักษณะเป็นทรงลังกาแปดเหลี่ยมตั้งอยู่บนฐานสูงสี่เหลี่ยมย่อมุมรูประฆังเรียวปากแคบไม่ผายกว้าง
องค์ระฆังกลมทำเป็นรูปปูนปั้นกลีบบัวลดหลั่นกันแปลกตากว่าเจดีย์องค์อื่นๆ และมีร่องรอยบันไดขึ้นด้านหน้าและด้านหลัง นับได้ว่าเป็นศิลปะแบบเก่าที่แท้จริงและเป็นแบบแผนเจดีย์ที่มีมาตามสายศิลปะอู่ทองในสมัยอยุธยาตอนต้น ระหว่างปีพุทธศวรรษที่ ๑๗-๑๘
บางความเชื่อกล่าวว่าทั้งเจดีย์ประธานและเจดีย์บริวารน่าจะมีอายุอยู่ในสมัยอยุธยาตอนกลาง ราวปีพุทธศตวรรษ ๒๑-๒๒ และได้รับการบูรณะอีกครั้งในสมัยพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
*******************
เที่ยวทั่วไทย ไปกับ พี่สุ
ท่องเที่ยวทั่วโลก กับพี่สุ
ซีรีย์เที่ยวเจาะลึก ประเทศนอร์เวย์
Iceland ดินแดนแห่งน้ำแข็งและเปลวไฟ
Lifestyle & อาหารการกิน แบบพี่สุ
สถานีความสุข by Supawan
โฆษณา