10 พ.ค. 2021 เวลา 14:00 • สุขภาพ
ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
1
ก่อนที่เราจะเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ควรศึกษาวิธีการเตรียมตัวทั้งสองระยะคือ ก่อนและหลังฉีด ซึ่งเราได้สรุปมาให้สำหรับข้อควรรู้และปฏิบัติก่อนฉีดวัคซีนดังต่อไปนี้
4
ระยะก่อนฉีดวัคซีน
ผู้ที่ยังไม่ควรฉีดวัคซีน ได้แก่
- อายุน้อยกว่า 18 ปี เนื่องจากวัคซีน Sinovac และ AstraZeneca ยังไม่มีข้อมูลในผู้มีอายุน้อยกว่า 18 ปี
- กำลังตั้งครรภ์ กรมอนามัยแนะนำให้ฉีดหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์เป็นต้นไป และแนะนำให้ฉีดวัคซีน Sinovac ก่อน เนื่องจากผลิตจากเชื้อที่ตายแล้ว
- เจ็บป่วยเฉียบพลัน เช่น ไข้ ถ่ายเหลว หรือเพิ่งออกจากการรักษาตัวในโรงพยาบาลไม่เกิน 2 สัปดาห์ หรือโรคเรื้อรังอาการไม่คงที่ ควรเลื่อนนัด
- ฉีดวัคซีนห่างจากวัคซีนอื่น เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2-4 สัปดาห์ แต่วัคซีนที่มีความจำเป็น เช่น เมื่อถูกสุนัขกัดให้ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าได้เลย
ผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคปอดเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรังระยะ 5 โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน (น้ำหนัก >100 กิโลกรัม หรือ BMI >35) ควรเข้ารับการฉีดวัคซีน
- หากรับประทานยาประจำ ไม่ควรหยุดยา ยกเว้นแพทย์ให้หยุดยาชั่วคราว และแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนฉีดวัคซีน
1
- ผู้ที่รับประทานยาต้านเกล็ดเลือด เช่น แอสไพริน หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่มใหม่ (NOACs) สามารถฉีดวัคซีนได้ แต่ต้องกดตำแหน่งที่ฉีดวัคซีนนานอย่างน้อย 2 นาที ส่วนผู้ที่รับประทานยาวาร์ฟาริน ควรต้องมีระดับ INR <3
3
- ผู้ป่วยโรคมะเร็ง สามารถฉีดวัคซีนได้ แต่ผู้ที่กำลังจะได้รับการผ่าตัดหรือกำลังได้รับยาเคมีบำบัดควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาเพื่อพิจารณาระยะเวลาที่เหมาะสม ส่วนผู้ป่วยรักษาโดยการปลูกถ่ายเซลล์เม็ดเลือด ให้เว้นระยะการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 3 เดือน
- ผู้ป่วยโรคติดเชื้อ HIV สามารถฉีดวัคซีนได้
ผู้มีประวัติแพ้ยาหรือแพ้วัคซีน แจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนฉีดวัคซีน
- ผู้มีอาการแพ้รุนแรงจากการฉีดวัคซีนครั้งก่อน หรือแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน เป็นข้อห้ามในการฉีดวัคซีน
- ผู้ที่มีประวัติแพ้อาหารสามารถฉีดวัคซีนได้
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการดื่มชาหรือกาแฟก่อนวันที่มาฉีด
ดื่มน้ำให้เพียงพอ
ตรวจสอบสถานที่ เวลานัด และอย่าลืมบัตรประจำตัวประชาชน
ภาพประกอบ: ฉัตรชัย เฉยชิต
พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า
เรื่อง: นพ.ชนาธิป ไชยเหล็ก
อ้างอิง: กรมควบคุมโรค กรมการแพทย์
โฆษณา