11 พ.ค. 2021 เวลา 01:00 • สุขภาพ
ผู้นำฝรั่งเศสเรียกร้องสหรัฐยกเลิกกฎห้ามส่งออกวัคซีน
กักตุนเกิน 3 เท่าของความต้องการ ทำชาติยากจนขาดแคลน
ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศสเรียกร้องให้สหรัฐฯ ยกเลิกข้อจำกัดการส่งออกวัคซีนและส่วนผสมผลิตวัคซีน
คำพูดของเขากล่าวขึ้นท่ามกลางความคิดที่แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายของประเทศต่างๆ ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มการผลิตวัคซีนทั่วโลก
1
ปัจจุบันมีจำนวนวัคซีนทั่วโลกประมาณ 1,250 ล้านล้านโดส แต่มีจำนวนน้อยกว่า 1% ที่จัดสั่งให้กับ 29 ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกตามรายงานของสำนักข่าว AFP
ในทางตรงกันข้ามประเทศร่ำรวยกำลังเร่งรณรงค์การฉีดวัคซีน โดยสหราชอาณาจักรฉีดไปแล้วถึง 67% ของจำนวนประชากรได้รับวัคซีนครั้งแรก ขณะที่สหรัฐอเมริกาฉีดไปแล้ว 56% ของผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับการวัคซีน 1 ครั้ง
1
ขณะที่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาสหภาพยุโรปตกลงที่จะซื้อวัคซีน Pfizer / BioNTech เพิ่มอีก 900 ล้านโดสพร้อมกับยี่ห้ออื่นๆ อีก 900 ล้าน
🔵 ข้อถกเถียงยกเลิกสิทธิบัตรวัคซีน
ในเวทีการเจราจาขององค์การการค้าโลก หรือ WTO แอฟริกาใต้และอินเดียเคยข้อให้มีการยอมยกเลิกสิทธิบัตรวัคซีนที่หมายถึงสูตรวัคซีนที่เป็นความลับจะได้รับการเผยแพร่และประเทศอื่นๆ สามารถเริ่มผลิตวัคซีนรวมทั้งยาเม็ดรับประทานเพื่อป้องกันและรักษาโรค ซึ่งอาจช่วยลดต้นทุนของการนำเข้าวัคซีนได้ ขณะนี้อินเดียกำลังตกอยู่สภาวะวิกฤตจากการแพร่ระบาดรุนแรงในระลอกสองเพียงลำพัง ที่คราชีวิตผู้คนไปแล้วไม่ต่ำว่ามีผู้เสียชีวิตต่อวันมากกว่า 4,000 คน รวมเสียชีวิตสะสมแล้วกว่า 2.5 แสนคน ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าถ้าอินเดียยังไม่สามารถยับยั้งการระบาดได้ อาจจะมีผู้เสียชีวิตสะสมทะลุ 1 ล้านคนภายในเดือนสิงหาคมนี้
1
แผนดังกล่าวยังได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก (WHO) และสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสซึ่งกล่าวเมื่อวันเสาร์ว่า โลกติดเชื้อ "ไวรัสแห่งปัจเจกนิยม" โดยมี "กฎหมายของ ... ทรัพย์สินทางปัญญา" อยู่เหนือกฎหมายแห่งความรักและสุขภาพของมนุษยชาติ "
1
นายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดียหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรปในการประชุมหารือขอขอเสียงสนับสนุนในการยกเลิกสิทธิบัตรวัคซีน เพื่อให้สามารถผลิตวัคซีนได้มากขึ้นโดยไม่ต้องรอวัตถุดิบจากต่างประเทศ
อย่างไรก็ตามสิ่งที่นายโมดีต้องการนั้นประสบความล้มเหลวในการได้รับการสนับสนุน โดยที่ผู้นำประเทศในสหภาพยุโรปยังคงคลางแคลงใจที่จะให้ยกเลิกสิทธิบัตรดังกล่าว ขณะที่นายมาครงโต้แย้งว่า การเพิ่มการส่งออกและการผลิตเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการแก้วิกฤต
"กุญแจสำคัญในการผลิตวัคซีนให้เร็วขึ้นสำหรับประเทศยากจนหรือประเทศระดับกลางทั้งหมดคือ การเพิ่มปริมาณการผลิตมากขึ้น"
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขาเรียกร้องให้สหรัฐฯ "ยุติการห้ามส่งออกไม่เพียงแต่วัคซีนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงส่วนผสมของวัคซีนด้วย
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมานายมาครงได้ชี้ให้เห็นว่า จนถึงขณะนี้ "วัคซีน 100% ที่ผลิตในสหรัฐอเมริกามีไว้สำหรับตลาดอเมริกา"
สหรัฐฯ ซึ่งให้คำมั่นว่าจะบริจาค 60 ล้านโดสของ AstraZeneca ที่กักตุนเอาไว้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าได้กำหนดมาตรการห้ามส่งออกวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิตวัคซีน
นายมาครงตั้งข้อสังเกตว่า สหราชอาณาจักรได้กำหนดข้อจำกัดในการส่งออกวัคซีนเช่นกัน นายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสันแห่งอังกฤษเคยปฏิเสธว่าไม่มีคำสั่งห้าม แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะบ่งชี้ว่าวัคซีนไม่ได้ถูกส่งออกจากสหราชอาณาจักรเลย
เยอรมนีและประธานคณะกรรมาธิการยุโรป นางอัวร์ซูลา ฟ็อน แดร์ ไลเอิน ได้แสดงความเห็นคัดค้านการยกเลิกสิทธิบัตรนี้ โดยกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า การยกเลิกสิทธิบัตรซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาจะไม่เป็นผลดีในการผลิตวัคซีนทั้งในระยะสั้นและระยะกลาง อีกทั้งเรื่องของสิทธิบัตรวัคซีนไม่ใช่สิ่งที่เป็นอุปสรรคที่ขัดขวางการผลิต
1
หลายฝ่ายมองเห็นปัญหาของการยกเลิกสิทธิบัตรวัคซีนจะนำมาซึ่งปัญหาอื่นๆ มากมายในภายภาคหน้า ขณะที่นักวิจารณ์กล่าวว่า จะกระทบกับผลกำไรกำไรตอบแทนทางการเงินของบริษัทผู้ผลิตยา
1
ตัวอย่างเช่น BioNTech บริษัทเยอรมันซึ่งเป็นพันธมิตรกับ Pfizer ของสหรัฐกล่าวว่า โดยปกติแล้วการตรวจสอบสถานที่ผลิตเพื่อผลิตวัคซีนอาจใช้เวลาถึง 1 ปี เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถผลิตวัคซีนได้มีคุณภาพมากเพียงพอ ตามมาตรฐานที่ระบุในสิทธิบัตร
1
แต่หากยกเลิกไปผลที่ตามมาคือวัคซีนจะผลิตที่ไหนก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพและความถูกต้อง ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อผู้คนในวงกว้างที่ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าวัคซีนนั่นปลอดภัยมาเพียงพอที่จะฉีดเข้าสู่ร่างกายหรือไม่
ก่อนหน้านี้รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดนถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ากักตุนวัคซีนมากเกินไปขณะที่ยังมีอีกหลายประเทศขาดแคลนวัคซีน ท่ามกลางแรงกดดันให้สหรัฐแบ่งปันวัคซีนให้แก่อินเดียและประเทศอื่นๆ ที่กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโรคระบาด
อีกทั้งมีการส่งสัญญาณเห็นด้วยกับการให้ยกเลิกสิทธิบัตรวัคซีน ซึ่งผลที่ตามมาคือ หุ้นของบริษัทผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ ทั้ง Moderna และ Novavax ร่วงลงหลายเปอร์เซ็นต์ในการซื้อขายปกติ ขณะที่หุ้นของ Pfizer ร่วงลงเล็กน้อย
ทั้งนี้ WTO เผชิญเสียงเรียกร้องมานานหลายเดือนให้เพิกถอนการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาว่าด้วยวัคซีนป้องกันไวรัสที่กำลังระบาดอยู่ในเวลานี้เป็นการชั่วคราว แต่ข้อเรียกร้องนี้ถูกต่อต้านอย่างดุเดือดจากบริษัทเภสัชภัณฑ์ยักษ์ใหญ่หลายแห่งและประเทศที่ตั้งของบริษัทเหล่านี้ ที่ยืนกรานว่าสิทธิบัตรไม่ใช่อุปสรรคใหญ่ต่อการเพิ่มกำลังการผลิต และเตือนด้วยว่าการดำเนินการดังว่าอาจขัดขวางการพัฒนานวัตกรรมได้
1
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
1
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
โฆษณา